กระทรวงอุตสาหกรรม จัดพิธีมอบรางวัลและใบประกาศเกียรติคุณสถานประกอบการที่เข้าร่วม "โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค OPOAI 4.0 ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยภาพรวมการประเมินโครงการฯ ในระดับผลลัพธ์ (Outcome) ภาครัฐ ได้ใช้งบประมาณในการส่งเสริมผู้ประกอบการ 36.8 ล้านบาท วัดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวเงินได้กว่า 174 ล้านบาท ในจำนวนสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ 120 แห่ง และใน 10 ปีที่ผ่านมา มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ 1,625 ราย วงเงินงบประมาณที่ได้รับ 431.40 ล้านบาท โดยสามารถวัดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวเงินได้กว่า 5,088 ล้านบาท ถัวเฉลี่ยรายละ 3.13 ล้านบาท ซึ่งหากผู้ประกอบการแต่ละรายนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดก็จะสร้างความมั่นคง และยั่งยืนให้กับสถานประกอบการสืบต่อไป
ดร.สมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า โครงการ OPOAI 4.0 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นโครงการที่เกิดจากความพยายามของภาครัฐที่ได้น้อมนำปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 มาปรับใช้ในการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตรของประเทศ ช่วยสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นและสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลเพื่อก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) เพื่อให้สถานประกอบการสามารถแข่งขันได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
โดยโครงการ OPOAI 4.0 ได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสถานประกอบการ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มรายได้ โดยเราพัฒนาทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และให้มีการพัฒนาให้ครบวงจร ทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การเงิน การบริการจัดการ รวมถึงกลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ เราไม่ได้หวังแค่ช่วยเหลือ SMEs เท่านั้น ยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย
โครงการ OPOAI 4.0 ได้จัดทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าไปให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านแผนงานพัฒนาที่ครอบคลุมตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) ใน 7 ด้าน ประกอบด้วย 1. การบริการจัดการโลจิสติกส์ 2. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 3. การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน 4. การลดต้นทุนพลังงาน 5. การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์/ระบบมาตรฐานสากล 6. กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด และ 7. แผนการบริหารจัดการด้านการเงิน โดยทางโครงการได้มีการสอดแทรกเรื่องของจัดการสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปในทุกแผนงาน
กระทรวงอุตสาหกรรม ยังคงมุ่งมั่น พัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการ SMEs อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ให้ก้าวเข้าสู่ Industry 4.0 เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ได้มาตรฐานสากล สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ยกระดับเข้าสู่การแข่งขันในตลาดโลก ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้แข็งแกร่ง ส่งผลให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่าง มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
โครงการ OPOAI 4.0 ประจำปี 2561 มีผู้ประกอบการเข้าร่วม จำนวน 120 ราย ซึ่งสามารถประเมินผลได้ดังนี้
1) มูลค่าผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงิน (market value) จากการประเมินของโครงการ OPOAI 4.0 ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2561 สามารถวัดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวเงินได้กว่า 174 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการที่โรงงานที่เข้าร่วมโครงการ 120 แห่ง หากโรงงานเหล่านี้สามารถขยายองค์ความรู้ให้แก่สถานประกอบการอื่น ๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งถือเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของรัฐในการส่งเสริม และพัฒนาสถานประกอบการรายอื่น ๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ
2) มูลค่าผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงิน (non-market value) ได้แก่ ทัศนคติของผู้ประกอบการ SMEs อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรที่มีต่อหน่วยงานภาครัฐเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี มีการให้ความร่วมมือมากขึ้น เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อกระทรวงอุตสาหกรรมในสายตาของผู้ประกอบการ เกษตรกร และประชาชนทั่วไป เพราะแผนงานต่าง ๆ ภายใต้โครงการฯ สามารถแก้ปัญหาของสถานประกอบการได้อย่างตรงประเด็น และเกิดเครือข่ายกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร (cluster) ในพื้นที่
สำหรับมูลค่าเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวเงินได้กว่า 174 ล้านบาทนั้น สามารถแยกจัดอันดับตามแผนงานต่าง ๆ ได้ดังนี้
อันดับที่ 1 : แผนงานที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีผู้เข้าร่วมโครงการ 30 ราย
ให้ผลประโยชน์สูงสุดคิดเป็นมูลค่า 51,003,679 บาท เฉลี่ยรายละ 1,700,123 บาท
อันดับที่ 2 : แผนงานที่ 3 การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 14 ราย
ให้ผลประโยชน์คิดเป็นมูลค่า 46,311,939 บาท เฉลี่ยรายละ 3,307,996 บาท
อันดับที่ 3 : แผนงานที่ 4 การลดต้นทุนพลังงาน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 16 ราย
ให้ผลประโยชน์คิดเป็นมูลค่า 33,554,113 บาท เฉลี่ยรายละ 2,097,132 บาท
อันดับที่ 4 : แผนงานที่ 1 การบริหารจัดการโลจิสติกส์ มีผู้เข้าร่วมโครงการ 17 ราย
ให้ผลประโยชน์คิดเป็นมูลค่า 31,860,787 บาท เฉลี่ยรายละ 1,874,164 บาท
อันดับที่ 5 : แผนงานที่ 6 กลยุทธ์การขับเคลื่อนการตลาด มีผู้เข้าร่วมโครงการ 25 ราย
ให้ผลประโยชน์คิดเป็นมูลค่า 7,547,225 บาท เฉลี่ยรายละ 301,889 บาท
อันดับที่ 6 : แผนงานที่ 7 การบริหารจัดการด้านการเงิน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 4 ราย
ให้ผลประโยชน์คิดเป็นมูลค่า 4,000,000 บาท เฉลี่ยรายละ 1,000,000 บาท
อันดับที่ 7 : แผนงานที่ 5 การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์/ ระบบมาตรฐานสากล
มีผู้เข้าร่วมโครงการ 4 ราย ผลประโยชน์ที่ไม่สามารถประเมินได้ เนื่องจากตัวชี้วัดเป็นการ เตรียมความพร้อมสำหรับการยื่นขอระบบมาตรฐานต่าง ๆ
ในปี 2561 มีผู้ได้รับโล่รางวัล 3 ประเภท จำนวน 36 รางวัล ได้แก่
สถานประกอบการดีเด่น จำนวน 9 รางวัล ได้แก่
แผนงานที่ 1 บริษัท เพชรดำฟู้ดส์ จำกัด จังหวัดกาฬสินธุ์
แผนงานที่ 2 บริษัท โตมี จำกัด จังหวัดศรีสะเกษ
บริษัท อกริเฟร็ช จำกัด จังหวัดกาญจนบุรี
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ส.สินทวี จังหวัดศรีสะเกษ
แผนงานที่ 3 บริษัท อินเตอร์ อโกร เทค (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดกำแพงเพชร
แผนงานที่ 4 บริษัท อรุณไรซ์ เทรดดิ้ง จำกัด จังหวัดเพชรบูรณ์
แผนงานที่ 5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด น่านดูโอ คอฟฟี่ จังหวัดน่าน
แผนงานที่ 6 บริษัท ไทยอินเตอร์ ฟิชเชอรี่ เทรดดิ้ง จำกัด จังหวัดสงขลา
บริษัท แกรนด์ฟูดโปรเซสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดจันทบุรี
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดดีเด่น จำนวน 14 รางวัล ได้แก่
เพชรบูรณ์ สมุทรสงคราม จันทบุรี ตาก บุรีรัมย์ ชัยนาท เพชรบุรี ศรีสะเกษ กำแพงเพชร พัทลุง กาญจนบุรี น่าน สงขลา และกาฬสินธุ์
ที่ปรึกษาดีเด่น จำนวน 13 รางวัล ได้แก่
แผนงานที่ 1 นายวรวิทย์ ตางาม
แผนงานที่ 2 นายกริชสุบรรณ กมโลบล / ผศ.ดร.อภิชาติ อาจนาเสียว / ดร.พิสิษฐ์ แม้นวงศ์เดือน / นายสุวิชา สายโพธิ์ /ดร.ทินกร คำแสน / นายอรรถสิทธิ์ นิลวรานนท์ และนายอรรถพล รัตนะ
แผนงานที่ 3 นายพัฒนพงศ์ เพ็งจันทร์
แผนงานที่ 4 นายพัฒนพงศ์ เพ็งจันทร์
แผนงานที่ 5 นายยุทธพงษ์ ปัญญาดา และนายวุฒิพงศ์ คำวงค์
แผนงานที่ 6 นายนิธิพัฒน์ ลิ่มวานิชรัตน์
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit