นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์อุทกภัย น้ำไหลหลาก และน้ำเอ่อล้นตลิ่งจากอิทธิพล ของพายุดีเปรสชัน และการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 10 – 22 ตุลาคม 2560 ทำให้เกิดน้ำไหลหลากและน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ในพื้นที่ 18 จังหวัด รวม 66 อำเภอ 393 ตำบล 2,352 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 105,961 ครัวเรือน 261,135 คน ผู้เสียชีวิต 7 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 17 จังหวัด แยกเป็น ลุ่มน้ำปิง 1 จังหวัด ได้แก่ ตาก น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สอด อำเภอสามเงา อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอวังเจ้า และอำเภอพบพระ รวม 28 ตำบล 121 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,639 ครัวเรือน 7,228 คน ผู้เสียชีวิต 2 ราย ลุ่มน้ำยม 1 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย น้ำท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคีรีมาศ อำเภอศรีสำโรง และอำเภอกงไกรลาศ รวม 4 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 92 ครัวเรือน 221 คน ลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน 1 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอสามง่าม อำเภอโพทะเล อำเภอวังทรายพูน อำเภอบึงนาราง อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอสากเหล็ก และอำเภอวชิรบารมี รวม 43 ตำบล 254 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,357 ครัวเรือน 28,392 คน ผู้เสียชีวิต 2 ราย ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 5 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอตาคลี อำเภอโกรกพระ อำเภอชุมแสง และอำเภอท่าตะโก รวม 48 ตำบล 474 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 19,787 ครัวเรือน 41,122 คน อุทัยธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุทัยธานี และอำเภอทัพทัน รวม 7 ตำบล 35 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,788 ครัวเรือน 2,923 คน ชัยนาท น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำนอกเขตคันกั้นน้ำใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมโนรมย์ อำเภอสรรพยา อำเภอเมืองชัยนาท และอำเภอวัดสิงห์ รวม 17 ตำบล 76 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,047 ครัวเรือน 7,605 คน สิงห์บุรี น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำนอกเขตคันกั้นน้ำใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภอพรหมบุรี และอำเภอท่าช้าง รวม 15 ตำบล 61 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,219 ครัวเรือน 14,032 คน อ่างทอง น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำนอกเขตคันกั้นน้ำใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าโมก อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอไชโย รวม 30 ตำบล 92 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,595 ครัวเรือน 6,747 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย6,017 ไร่ พระนครศรีอยุธยา น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำนอกเขตคันกั้นน้ำใน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร และอำเภอบางปะหัน รวม 99 ตำบล 589 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 37,463 ครัวเรือน 97,403 คน ผู้เสียชีวิต 2 ราย ลุ่มน้ำป่าสัก 2 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ น้ำเอ่อล้นตลิ่ง เข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหล่มเก่า และอำเภอหล่มสัก รวม 13 ตำบล 62 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,657 ครัวเรือน 14,708 คน ลพบุรี น้ำเอ่อ ล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่อำเภอบ้านหมี่ รวม 9 ตำบล 60 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,643 ครัวเรือน 22,231 คน ลุ่มน้ำชี 5 จังหวัด ได้แก่ หนองบัวลำภู ผลกระทบจากน้ำเขื่อนอุบลรัตน์หนุนและไหลเข้าท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอโนนสัง และอำเภอเมืองหนองบัวลำภู รวม 3 อำเภอ 23 ตำบล 162 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,164 ครัวเรือน 10,826 ครัวเรือน ขอนแก่น น้ำท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภออุบลรัตน์ อำเภอน้ำพอง และอำเภอเมืองขอนแก่น รวม 20 ตำบล 157 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,610 ครัวเรือน 5,687 คน มหาสารคาม น้ำท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม รวม 19 ตำบล 122 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 516 ครัวเรือน 1,341 คน กาฬสินธุ์ น้ำท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอฆ้องชัย และอำเภอกมลาไสย รวม 4 ตำบล 14 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11 ครัวเรือน 29 คน และร้อยเอ็ด น้ำท่วมพื้นที่อำเภอจังหาร รวม 3 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 159 ครัวเรือน 548 คน ลุ่มน้ำมูล 1 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี น้ำท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ รวม 18 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 64 ครัวเรือน 906 คน ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัด หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง โดยแจกจ่ายถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น แก่ผู้ประสบภัย รวมถึงระดมเครื่องจักรกล ด้านสาธารณภัยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอุทกภัย รวมถึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติม เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังสู่ลำน้ำสายหลัก พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป