สถาบัน Texas Cardiac Arrhythmia Institute ประสบความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

          เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ไรอัน ไวส์แมน กำลังอยู่ ณ จุดสูงสุดของชีวิต

          "ตอนนั้นผมรู้สึกเหมือนอยู่บนจุดสูงสุดของโลก ชีวิตผมเข้าที่เข้าทาง ผมดูแลทั้งสุขภาพกายและใจของตนเองอย่างดี ขณะที่ความสัมพันธ์ก็แข็งแกร่ง"

          แต่แล้ว ในการตรวจสุขภาพตามปกติระหว่างทำงานให้กับกองทัพสหรัฐในแคลิฟอร์เนีย แพทย์กลับพบว่าเขามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบที่เรียกว่าภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation หรือ A Fib) 


          "A Fib เป็นภาวะที่หัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ ส่งผลให้ทำงานผิดปกติ กล่าวคือไม่มีการบีบตัว" นายแพทย์อันเดรอา นาตาเล M.D., F.H.R.S., F.A.C.C., F.E.S.C. ผู้อำนวยการบริหาร Texas Cardiac Arrhythmia Institute (TCAI) at St. David's Medical Center กล่าว

          คุณไวส์แมนกล่าวว่า "ทันใดนั้น ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ผมออกกำลังกายไม่ได้ และอาจมีชีวิตไม่ยืนยาวเท่าที่หวัง ความจริงนี้ทำให้ผมและภรรยาสะเทือนใจมาก"

          ภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี คุณไวส์แมนเข้ารับการรักษาด้วยการช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้า 10 ครั้ง การจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง 4 ครั้ง และการผ่าตัด 1 ครั้ง แต่ทั้งหมดล้มเหลว

          "หลังจากที่ผมเข้ารับการจี้หัวใจครั้งที่ 3 แพทย์ผู้ดูแลผมในเดนเวอร์เริ่มหาทางเลือกในการรักษาทั่วประเทศ และสุดท้ายก็แจ้งกับผมว่า "เราทำดีที่สุดแล้วและไม่อยากเสี่ยงอีก เราจะส่งคุณไปให้แพทย์ที่เก่งที่สุดในประเทศ" และพวกเขาก็ส่งผมมาให้นายแพทย์นาตาเล" คุณไวส์แมนกล่าว

          นายแพทย์นาตาเล กล่าวว่า "โดยทั่วไปผู้ป่วยภาวะ A Fib จะมีอายุ 50 ปลายๆ หรือ 60 ต้นๆ แต่ไรอันเป็นกรณีพิเศษอย่างชัดเจน โดยโรคนี้สามารถส่งต่อทางพันธุกรรมได้เช่นกัน เมื่อหัวใจห้องบนไม่บีบตัว ความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและภาวะหัวใจวายก็เพิ่มสูงขึ้น"

          A Fib เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้บ่อยที่สุด และกำลังส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันหลายล้านคน ภาวะ A Fib จะทำให้เลือดคั่งและแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดในรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย และถ้าหากลิ่มเลือดหลุดออกมาก็อาจไหลไปยังสมองและทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้"

          ราว 20% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมดเกิดขึ้นในผู้ป่วย A Fib นอกจากนี้ โรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วย A Fib มักมีอันตรายถึงชีวิตและเสี่ยงต่อการพิการมากกว่า วิธีการรักษาโดยทั่วไปเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วย A Fib คือการใช้ยาละลายลิ่มเลือด (Warfarin) ซึ่งแม้ว่าจะได้ผล แต่ผู้ป่วยบางรายก็ไม่อาจทนต่อยาได้ในระยะยาว และยังเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการเลือดออกด้วย

          ด้วยเหตุนี้ คณะแพทย์จึงได้ตัดสินใจที่จะปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า WATCHMAN Left Atrial Appendage Closure (LAAC) Device

          การฝังอุปกรณ์ WATCHMAN แบบถาวรจะช่วยปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้ายเพื่อไม่ให้ลิ่มเลือดที่เป็นอันตรายหลุดเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยอาจสามารถหยุดใช้ยาละลายลิ่มเลือดได้

          นายแพทย์นาตาเลอธิบายการทำงานของ WATCHMAN ว่า "ให้นึกถึงร่มที่ถูกกางออกจนปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย"

          คุณไวส์แมนกล่าวว่า "ผมมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองลดลงและไม่ต้องใช้ยาละลายลิ่มเลือดอีกต่อไป ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก ผมสามารถกลับไปวิ่งได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องล้ม และไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาโดนหน้าอก ผมเคยเล่นมุกกับเพื่อนว่า "กินยาละลายลิ่มเลือดอยู่ ห้ามโดนหน้าอก ตายได้เลยนะ" มันอาจฟังดูตลก แต่ผมก็มีสิทธิตายจริงๆ ถ้าผมตกบันไดก็อาจไม่ฟื้นขึ้นมาอีกเลย"

          นายแพทย์นาตาเลกล่าวว่า "คนไข้ทุกรายต่างต้องการหายจากโรค แต่ในกรณีของไรอันเรื่องนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะเขามีลูกเล็กๆที่ต้องดูแลและยังต้องหาเลี้ยงครอบครัว ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง"

          ปัจจุบัน ไรอัน ไวส์แมน วัย 32 ปี สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

          "ตอนนี้ผมรู้สึกดีมาก แต่ก่อนตอนที่มีภาวะ A Fib หัวใจทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้ผมรู้สึกแย่ แต่ตอนนี้ผมรู้สึกสบายดี ซึ่งถือว่ายอดเยี่ยมมาก"

          อุปกรณ์ WATCHMAN ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐในเดือนมีนาคม 2558 ทั้งนี้ สถาบัน TCAI ทำการทดลองทางคลินิกเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของอุปกรณ์นี้ในสหรัฐมานานเกือบทศวรรษแล้ว และถือเป็นสถาบันแห่งแรกในเท็กซัสที่ทำการฝังอุปกรณ์ WATCHMAN ให้กับผู้ป่วยภาวะ A Fib แบบ non-valvular ในปี 2558

          สื่อมวลชนติดต่อ:
          Erin Ochoa
          Elizabeth Christian Public Relations
          512-472-9599


ข่าวภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ+Atrial Fibrillationวันนี้

"Cryoablation จี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น 3 มิติ รักษา "หัวใจเต้นผิดจังหวะ"

Cryoablation เป็นเทคนิคการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ทันสมัยและปลอดภัย โดยเฉพาะภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว (Atrial Fibrillation หรือ AF) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการใช้พลังงานความเย็นระหว่าง -40 ถึง -60 องศาเซลเซียส ทำลายเนื้อเยื่อหัวใจที่ทำให้เกิดการส่งสัญญาณไฟฟ้าผิดปกติ แพทย์จะใช้สายสวนพิเศษในการนำความเย็นไปทำลายเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ทำให้เกิดการเต้นผิดจังหวะ ช่วยให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นจังหวะปกติ ข้อดีของการจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น ผลการรักษาดี Cryoablation

เมื่อหัวใจสั่นพลิ้ว ชีวิตไม่ชิลล์แน่นอน ถ... เมื่อหัวใจสั่นพลิ้ว ชีวิตไม่ชิลล์แน่นอน — เมื่อหัวใจสั่นพลิ้ว ชีวิตไม่ชิลล์แน่นอน ถ้าคุณมีอาการหัวใจสั่นพลิ้ว คุณจะไม่สนุกเหมือนได้เต้นพลิ้วไปตาม...

สถาบัน Texas Cardiac Arrhythmia Institute ประสบความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ไรอัน ไวส์แมน กำลังอยู่ ณ จุดสูงสุดของชีวิต "ตอนนั้นผมรู้สึกเหมือนอยู่บนจุดสูงสุดของโลก ชีวิตผมเข้าที่เข้าทาง ผมดูแลทั้งสุขภาพกายและใจของตนเองอย่างดี ขณะที่ความสัมพันธ์ก็แข็งแกร่ง" แต่...

การประชุม ISTH 2015 เตรียมนำเสนอข้อมูลผลการศึกษาระยะเวลาหนึ่งปี ว่าด้วยการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (AF)

การกล่าวนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัย GARFIELD-AF Registry ที่จะจัดขึ้นสองรอบนั้น จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น...

ภาพข่าว: เปิดโครงการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด AF เฉลิมพระเกียรติฯ

นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในงานแถลงข่าว “โครงการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด Atrial Fibrillation เฉลิมพระเกียรติ...

การวิเคราะห์ข้อมูล Edoxaban Phase II เพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภาวะเลือดออกกับปริมาณการให้ยาในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ

การวิเคราะห์ทางเภสัชจลนศาสตร์ของการศึกษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Fibrillation อาจอธิบายความสัมพันธ์ของภาวะเลือดออกกับหลักเกณฑ์การให้ยาที่...

สถาบันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเท็กซัสแห่งศูนย์การแพทย์เซนต์เดวิด จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเชิงซ้อน

เมื่อวันที่ 2-3 มิถุนายน 2565 สถาบันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเท็กซัสแห่งศูนย์การแพทย์เซนต์เดวิด (Texas Cardiac Arrhythmia Institute (TCAI) at St. David's Medical Center) ...