มทร.ธัญบุรี ปรับภูมิทัศน์วัด ด้วยสารชีวภาพนาโนเคลือบหัวเชื้อจุลินทรีย์และสารสกัดชีวภาพ THAN Nano

          คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดโครงการการปลูกต้นไม้ด้วยสารชีวภาพนาโนเคลือบหัวเชื้อจุลินทรีย์และสารสกัดชีวภาพ THAN Nano ปลูกจิตสำนึกหน้าที่ชาวพุทธ เดือนแห่งความรัก โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์สุมานิการ์ จันทร์บรรเจิด ที่ปรึกษามหาวิทยาลัย ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมปลูกต้นไม้บริเวณรอบวัดปัญญานันทาราม และผศ.ดร.สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโนTHAN Nano เพื่อการเกษตรอินทรีย์ เพิ่มผลผลิตดก ลดต้นทุน และปรับสภาพดิน ณ วัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี
          ผศ.ดร.สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ เล่าว่า ทางวัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของชาวพุทธ และมีการจัดภูมิทัศน์รอบบริเวณวัดให้ร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมทางชีวภาพจากความหลากหลายทางชีวภาพจุลินทรีย์ ได้แก่ เชื้อราแบคทีเรีย แอกติโมมัยซิสปฏิปักษ์ เรียกว่า กล้าหัวเชื้อรา หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ด หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน ตามสิทธิบัตรสุกาญจน์ 2555 และ 2557 ภายใต้เครื่องหมายการค้า THAN ที่มีคุณสมบัติเด่นและแตกต่างจากจุลินทรีย์อื่นในท้องตลาด ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.) ตัวเร่งการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ให้กลายเป็นธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองมีค่ามากกว่าค่ามาตรฐานของกรมที่ดินที่กำหนดไว้ พืชสามารถดูดสารประกอบธาตุอาหารหลักรองและเสริมในรูปที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตหลังการเพาะปลูกได้ดีกว่าปกติที่เกษตรกรปลูกด้วยปุ๋ยเคมี 2-3 เท่า 2.) สามารถควบคุมเชื้อราก่อโรคและเพิ่มการสร้างภูมิคุ้มกันต่อพืช 3.) ปรับสภาพความเป็นกรดด่างดินให้เป็นกลาง 4.) กำจัดโลหะหนักที่ปนเปื้อนในดิน น้ำ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรไม่มีสารโลหะปนเปื้อน ปลอดภัยต่อผู้บริโภคได้มาตรฐานผลผลิตตาม GAP หรือ organic Thailand 5. ทำให้ดินร่วนซุย และเก็บความชื้นในดินนานและลดการสูญเสียธาตุอาหารในดิน
          ดังนั้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นำโดยแม่ข่ายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยฯ(RMUTT engagements) ดำเนินการบริการวิชาการสู่ชุมชน เพื่อพัฒนาวัดตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ผ่านโครงการ การปลูกต้นไม้ด้วยสารชีวภาพนาโนเคลือบหัวเชื้อจุลินทร์และสารสกัดชีวภาพ THAN Nano มีการบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน งานวิจัย อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายฯ ภาครัฐ เอกชน สถานประกอบการ ชุมชน ผ่านกิจกรรมการปลูกต้นไม้ด้วยสารชีวภาพนาโนเคลือบหัวเชื้อจุลินทร์และสารสกัดชีวภาพ THAN Nano ของอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาทั้ง 7 สาขาวิชา และการบรรยายและอบรมในหัวข้อ การใช้หัวเชื้อจุลินทรัย์นาโน Than เพื่อการเกษตรอินทรีย์ เพิ่มผลผลิตดก ลดต้นทุน และปรับสภาพดิน ให้กับพระภิกษุและสามเณร วัดปัญญานันทาราม
          นางสาวรุจิรา ดินไธสง นักศึกษาชั้นปีที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาเคมี เล่าว่า เป็นตัวแทนของสาขาวิชาเคมี ครั้งแรกที่เคยปลูกต้นไม้ในวัด ปกติจะเข้าไปถวายสังฆทาน ในวันนี้ได้ปลูกต้นไม้ ดินอาจจะแข็งแต่รู้สึกดี ที่ได้ทำตัวให้เป็นประโยชน์ เพราะว่าต้นไม้ที่ปลูกจะทำให้สิ่งแวดล้อมในวัดดีขึ้น มีอากาศที่บริสุทธิ์ ถ้ามีโอกาสอยากเข้าร่วมโครงการแบบนี้อีก ถือเป็นการทำหน้าที่ชาวพุทธที่ดี
          ทางด้าน นางสาวกรรณิการ์ เบ็ญจา และ นายพสธร ฉวีวรณ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาสถิติประยุกต์ เล่าว่า ในสาขาวิชามาทั้งหมด 8 คน ด้วยช่วงเช้าไม่มีเรียนและว่าง จึงเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ กิจกรรมภายในโครงการน่าสนใจ ปกติจะไม่ค่อยได้เข้าวัด ถือเป็นโอกาสดีที่ได้มาปลูกต้นไม้วันนี้ ขั้นตอนในการปลูกต้นไม้ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ขุดหลุมรองด้วยปุ๋ยของอาจารย์ การทำกิจกรรมในวันนี้ถือว่าได้ทำประโยชน์เพื่อสังคมอีกวิธีหนึ่ง เพราะว่าวัดเป็นสถานที่ของชาวพุทธในการยึดเหนี่ยวจิตใจ
มทร.ธัญบุรี ปรับภูมิทัศน์วัด ด้วยสารชีวภาพนาโนเคลือบหัวเชื้อจุลินทรีย์และสารสกัดชีวภาพ THAN Nano
 
มทร.ธัญบุรี ปรับภูมิทัศน์วัด ด้วยสารชีวภาพนาโนเคลือบหัวเชื้อจุลินทรีย์และสารสกัดชีวภาพ THAN Nano
มทร.ธัญบุรี ปรับภูมิทัศน์วัด ด้วยสารชีวภาพนาโนเคลือบหัวเชื้อจุลินทรีย์และสารสกัดชีวภาพ THAN Nano
มทร.ธัญบุรี ปรับภูมิทัศน์วัด ด้วยสารชีวภาพนาโนเคลือบหัวเชื้อจุลินทรีย์และสารสกัดชีวภาพ THAN Nano

ข่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวันนี้

มทร.ธัญบุรี สร้างสรรค์ "คลีนบิวตี้" นวัตกรรมชะลอวัย จากอะโวคาโด ใส่ใจสิ่งแวดล้อม จุดประกายผู้ประกอบการ

จากอะโวคาโดเหลือทิ้ง สู่ครีมบำรุงผิวหน้าสุดล้ำ ฝีมือนักวิจัย มทร.ธัญบุรี ผสานนาโนเทคโนโลยี พัฒนา "Anti-Aging Facial Cleansing Hydrogel และ Anti-Aging Nanoemulgel" ต้านริ้วรอยอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ตามแนวคิดคลีนบิวตี้ และพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อโลก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดตัวนวัตกรรมเครื่องสำอางใหม่ล่าสุด A-SHINE Clean Beauty: The Anti-Aging Avocado Secret Collection ผลงานของอาจารย์นักวิจัยคณะการ

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิ... มทร.ธัญบุรี เผยความพร้อมก้าวไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ยืนยันไม่ขึ้นค่าเทอมนักศึกษา — รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโ...

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลั... คณะศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ สุดยอดคว้าถ้วยรางวัลพระราชทาน กรมสมเด็จพระเทพฯ 2 ปีซ้อน — รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)กรุงเท...

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิ... มทร.ธัญบุรีไม่ห่วงเด็กเข้าใหม่ลดลง — รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า ...

สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT), หน่วย... 'Super AI Engineer Season 5' รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย — สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT), หน่วยบริหารและจ...

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิ... มทร.ธัญบุรีประชุมวิชาการพัฒนาบุคลากร — รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นประธานการประช...

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิ... มทร.ธัญบุรี เดินเกมส์รุกเปิดสาขาวิชาใหม่ — รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า ...

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิ... เปิดประตูราชมงคลธัญบุรี — รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม "...

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิ... มทร.ธัญบุรี พร้อมขับเคลื่อนนวัตกรรม งานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ — รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุร...