รอสอะตอมจัด "ค่ายเด็กนานาชาติ รอสอะตอม สคูล" ในไทย เน้นกิจกรรมไขรหัสทางการสื่อสารและวัฒนธรรม เพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน

          บริษัทพลังงานนิวเคลียร์รอสอะตอม ซึ่งเป็นบริษัทนิวเคลียร์ของประเทศรัสเซีย ได้จัดค่ายเด็กนานาชาติ "รอสอะตอม สคูล" ระหว่างวันที่ 2-ไคเนติคส์ คอร์ปอเรชั่น3 ธันวาคมที่ผ่านมาในจังหวัดภูเก็ต โดยมีเด็กนักเรียนจากจังหวัดนครนายก ไคเนติคส์ คอร์ปอเรชั่น3 คน ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้บริษัท ไคเนติคส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัทพลังงานนิวเคลียร์รอสอะตอม ได้ร่วมกันเปิดตัวโครงการก่อสร้างเครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคลตรอนและห้องปฏิบัติการวิจัยเคมีกัมมันตรังสีสำหรับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน) ที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นโครงการร่วมกันและเชิญเด็กๆ อายุระหว่าง 7 ถึง ไคเนติคส์ คอร์ปอเรชั่น7 ปีให้เข้าร่วมค่าย จากทั้งหมดรวม 7 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย ฮังการี อินเดีย อินโดนีเซีย มองโกเลีย เวียดนาม และสาธารณรัฐเช็ก โดยได้เดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรมค่ายเด็กนานาชาติที่ฝั่งทะเลอันดามัน กิจกรรมค่ายเด็กนักเรียนยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศเข้าร่วมซึ่งประกอบด้วยคณะคุณครูชาวรัสเซียและผู้นำกลุ่ม
          เป้าหมายของการจัดกิจกรรมค่ายเด็กนักเรียน "รอสอะตอม สคูล" ในประเทศไทยคือการส่งเสริมและพัฒนาการสื่อสารระหว่างเด็กนักเรียนที่มาจากหลายเชื้อชาติ โดยไม่มีการกำหนดภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการในค่าย อย่างไรก็ตามเด็กนักเรียนทุกคนจะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเอาชนะอุปสรรคด้านการสื่อสารและวัฒนธรรม มีการดำเนินกิจกรรมสานความสัมพันธ์หลายหลายรูปแบบ อาทิ การรวมทีมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศระหว่างการเล่นเกม พร้อมเปิดโอกาสให้เพิ่มความเข้าใจในวัฒนธรรมของกันและกันได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้นด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของผู้อื่น
          กำหนดการระหว่างการเข้าค่ายค่อนข้างแน่น เด็กนักเรียนสามารถเลือกทำกิจกรรมมากมาย เช่นการเวิร์กช็อปซ้อมเชียร์ "Cheerleading" ซึ่งทำให้เด็กนักเรียนที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานของการทำงานเป็นทีม ความสามารถในการจัดสรรเวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และการแสดงออกอย่างเป็นอิสระ ขณะที่เด็กนักเรียนที่ชื่นชอบการทดสอบเชาว์ปัญญาก็ได้เข้าร่วมเวิร์กช็อปการถาม-ตอบปัญหา "Math's Box" เพื่อพัฒนาการค้นคว้าความรู้ทางวัฒนธรรมที่หลากหลายด้วยการปฏิบัติภารกิจและการตอบคำถามเชิงซ้อน การถอดรหัสและวิทยาการเข้ารหัสลับก่อนนำเสนอให้เพื่อนร่วมค่ายรับชม เด็กนักเรียนยังสามารถเข้าร่วมเรียนคอร์สถ่ายภาพ การเต้นรำ สตูดิโอภาพยนตร์ ตลอดจนการเวิร์กช็อปเกี่ยวกับเกมพื้นบ้านที่มีความแตกต่างกันตามวัฒนธรรม 
          ผู้จัดค่ายเด็กนักเรียนครั้งนี้คิดค้นและกำหนดกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กนักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ทำงานร่วมกันเป็นทีม มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนต่างชาติ และบริหารจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างการเข้าค่ายครั้งนี้ยังมีการจัดตั้งสภาเพื่อให้มีการเลือกผู้นำกลุ่มมานำเสนอประโยชน์ของกลุ่มผู้แทนต่างๆ เด็กนักเรียนได้มีโอกาสตัดสินใจบริหารจัดการเวลาว่าง มุ่งพัฒนาค่ายให้ดียิ่งขึ้น และกำหนดแผนการในวันต่อไป นอกเหนือจากกิจกรรมสานสัมพันธ์และเวิร์กช็อปที่กำหนดไว้อยู่แล้ว เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมค่าย "รอสอะตอม สคูล" ยังมีเวลาสัมผัสความงดงามของทะเลอันดามันเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับทิวทัศน์และวัฒนธรรมของประเทศไทย
          "บรรยากาศภายในค่ายทำให้ฉันตื่นเต้น สนุกสนาน และมีความสุขมากในเวลาเดียวกัน ครูทุกคนภายในค่ายนี้ใจดี เป็นมิตร และน่ารัก นั่นคือเหตุผลที่ฉันรักพวกเขา ฉันชอบความพยายามของพวกเขาที่จะพูดภาษาอังกฤษกับทุกคน ฉันคิดว่ากิจกรรมในค่ายนี้แตกต่างไปจากค่ายอื่นๆ ที่ฉันเคยไปมา พวกเขาทำให้ฉันมั่นใจที่จะพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยเพื่อนที่มาจากหลากหลายประเทศก็มีส่วนช่วยให้ฉันพูดภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น และเข้าใจความหมายของคำว่ามิตรภาพไม่มีที่สิ้นสุด ฉันอยากจะขอบคุณทุกๆอย่าง และจะจดจำทุกคน รวมถึง "รอสอะตอม สคูล" ไว้ตลอดไป" พัชรี และคนาเว ผู้เข้าร่วมโครงการรอสอะตอม สคูลจากประเทศไทยกล่าว
          เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา บริษัทพลังงานนิวเคลียร์รอสอะตอม ซึ่งเป็นบริษัทนิวเคลียร์ของประเทศรัสเซียและบริษัท ไคเนติคส์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมดำเนินโครงการศูนย์ไซโคลตรอนและห้องปฏิบัติการสารเภสัชรังสีของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) โดยศูนย์ดังกล่าวตั้งอยู่ที่ศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ ที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะเริ่มต้นทำงานได้ภายใน 3.5 ปี







รอสอะตอมจัด "ค่ายเด็กนานาชาติ รอสอะตอม สคูล" ในไทย เน้นกิจกรรมไขรหัสทางการสื่อสารและวัฒนธรรม เพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน

ข่าวสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ+สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์วันนี้

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ "พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์"

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จัดโครงการ "พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์" เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 ณ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการ พระสงฆ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา โดยมี ศ.ดร.ขำคม พรประสิทธิ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.กนกพร บุญศิริชัย รองผู้อำนวยการสถาบันเทคโน

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการ... วช. หนุน สทน. และ ม.นเรศวร เปิดตัวส้มโอ ฉายรังสี ก่อนส่งออกไปสหรัฐอเมริกา — สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรร...

บมจ.เอ็นซีแอล อินเตอร์เนชั่นแนล โลจิสติกส... NCL คว้างานจัดส่งเภสัชภัณฑ์รังสีสำหรับ รพ.กรุงเทพและตจว. — บมจ.เอ็นซีแอล อินเตอร์เนชั่นแนล โลจิสติกส์ (NCL) ผู้ให้บริการจัดการระบบโลจิสติกส์ ครบวงจร (Logi...

5 หน่วยงานในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสต... วช. จับมือ สทน. และ 3 ราชภัฏ ยกระดับ "อาหารไทยภาคเหนือ" ด้วยการฉายรังสี — 5 หน่วยงานในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ สำนักงานการว...

5 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ห้องอัครเมธี ชั้น 6 อ... วศ. จับมือ สทน. ขยายขอบข่ายความมือด้านการวิจัยและพัฒนาตอบโจทย์ความต้องการขอประเทศ — 5 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ห้องอัครเมธี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม คณะผู้บริหา...

รศ.นพ. สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึ... สทน. เปิดอาคารและเครื่องฉายรังสีอิเล็กตรอนแห่งใหม่ — รศ.นพ. สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดร. ทวีศักดิ์ กออนั...