ทั้งนี้ การสร้างระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน "เด็นโซ่" ใช้หลักการ Lean Automation ในการกำจัดความสูญเปล่าของการผลิตทั้งหมด ในการพัฒนาและสร้างระบบการผลิตอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูงในกระบวนการผลิตต่าง ๆ ภายในโครงการนี้จะมีการจัดตั้ง อาคาร Showcase ภายในอาคารจะมีการจำลองระบบ การผลิตเพื่อเรียนรู้หลักการกำจัดความสูญเปล่า และการออกแบบระบบการผลิตแบบ Lean Automation อันเป็นเอกลักษณ์มาตั้งแต่อดีตของ"เด็นโซ่"เข้ากับแนวคิด Connected Industries ซึ่งได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ประกอบไปด้วย หุ่นยนต์เคลื่อนไหวได้จำนวน 7 ตัว เพื่อใช้สำหรับเรียนรู้การใช้งานหุ่นยนต์พื้นฐานและการออกแบบระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ
โดยหุ่นยนต์ทั้งหมดจะได้รับการติดตั้งที่ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) ตั้งอยู่อาคารปฏิบัติการ Shop A ซอยตรีมิตร กล้วยน้ำไท กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และถือเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ของทุกภาคส่วน สามารถเข้ามาสัมผัสระบบการผลิตแบบใหม่นี้ได้อย่างอิสระ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ที่จะใช้ อาคาร Showcase ในการฝึกอบรม โดยความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานด้านการศึกษาของไทย 6 แห่ง พร้อมด้วยผู้ประกอบการ System Integrator ของไทยอีก 7 แห่ง
อย่างไรก็ตาม เด็นโซ่คาดว่าจะพัฒนาผู้ประกอบการ Lean Automation System Integrator ที่มีศักยภาพของไทยผ่านโครงการนี้ จะก่อเกิดการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรม Automation ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนหลักของนโยบาย Thailand 4.0 ไปพร้อม ๆ กับการประสานแนวคิด Connected Industries ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย อันจะนำไปสู่การยกระดับระบบการผลิตแบบ Automation เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยในอนาคตต่อไป ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นโครงการในปีนี้แล้ว จะมีการประเมินผลปรับหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ "กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม" ยังมีการพิจารณาขยายผลโครงการนี้ไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต่อไปในอนาคต
ด้านนายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เพื่อช่วย SMEs ไทย ผ่านศูนย์ ITC ซึ่งศูนย์มีหน้าที่ช่วยเหลือพร้อมให้คำปรึกษาแนะนำทางธุรกิจ การวิจัยเชิงพาณิชย์ ออกแบบและผลิต รวมทั้งด้านการเงิน ตลอดจนการบ่มเพาะผู้ประกอบการให้สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่การดำเนินธุรกิจ และการพัฒนาสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ SMEs ไทยสามารถปรับตัวและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล นับตั้งแต่เริ่มให้บริการเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ระยะเวลา 5 เดือน ได้พัฒนาผลงานนวัตกรรมให้ SMEs ไปแล้วกว่า40 ชิ้นงาน คิดเป็นมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า จากมาตรการช่วยเหลือ SMEs เบื้องต้น กสอ. ได้เริ่มการให้บริการไปยังศูนย์ ITC ส่วนภูมิภาคทั้ง 11 แห่งแล้ว โดยใช้โมเดลจากศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) ที่กรุงเทพฯ เป็นต้นแบบศูนย์ ITCทั้ง 11 แห่ง มาปรับรูปแบบการให้บริการให้สอดคล้อง กับศักยภาพของอุตสาหกรรมในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ 1. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จ.เชียงใหม่ มุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป 2. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 จ.พิษณุโลก มุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และ 3. ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก จ.ลำปาง มุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเซรามิก ส่วนพื้นที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่เหลือจะเร่งเปิดให้บริการภายในต้นปี 2561 นอกจากนี้ กสอ. ยังได้เชิญชวนบริษัทชั้นนำระดับโลกที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูงแก่ผู้ประกอบการไทย รวมถึงความร่วมมือจากบริษัท เด็นโซ่ คอร์ปอเรชั่น ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาประจำที่ไทย เพื่อเชื่อมโยงแพลตฟอร์มและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการของไทยในอนาคต รวมถึงการเชื่อมโยงการทำธุรกิจระหว่างเอสเอ็มอีไทยและผู้ประกอบการญี่ปุ่นโดยตรง
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit