ความร่วมมือในวงการโทรคมนาคม : การแสวงหาพันธมิตรเพื่อช่วยวางโครงข่ายบรอดแบนด์
ในเมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย ราคาการให้บริการไฟเบอร์ออพติกมีราคาสูงเนื่องจากโอเปอเรเตอร์ไม่มีสิทธิดำเนินงานได้อย่างที่ต้องการ ในปี 2559 โอเปอเรเตอร์ในประเทศสามรายจึงได้ร่วมมือกับกระทรวงการสื่อสารเพื่อก่อตั้งเป็นกลุ่มพันธมิตรเพื่อความร่วมมือด้านบรอดแบนด์ ซึ่งในที่สุดก็มีสมาชิกเข้าร่วม 17 รายทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทด้านการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ผู้จัดหาใยแก้วนำแสง/อุปกรณ์ ผู้ผลิตคอนเทนต์ และบริษัทผู้วางโครงสร้างระบบน้ำ/พลังงาน จากการผนึกความร่วมือนี้ได้ทำให้สมาชิกทั้งหมด สามารถร่วมกันวางระบบใยแก้วนำแสงได้คล่องตัวกว่าที่เคย
หน่วยงานปกครองท้องถิ่นเริ่มตระหนักถึงความสำคัญที่ว่า การเพิ่มการติดตั้งโฮมบรอดแบนด์นั้นทำให้เศรษฐกิจเติบโตไปด้วย และมีการกำหนดกรอบเวลาดำเนินงานที่ตายตัวสำหรับการตัดสินใจเพื่อให้สิทธิในการวางท่อ/พาดสายได้ทันที พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้รับมูลค่าเพิ่มจากการติดตั้งบรอดแบนด์ใยแก้วนำแสงในอาคารของตน และเห็นด้วยที่จะติดตั้งท่อใยแก้วนำแสงในอาคารที่จะสร้างใหม่ ส่วนบริษัทด้านการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ก็ยอมรับในเงื่อนไขที่จะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันและสิทธิในการเข้าถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ ส่วนบริษัทด้านระบบสาธารณูปโภคก็ได้ประโยชน์จากแหล่งรายได้ใหม่จากการให้โอเปอเรเตอร์ผู้ให้บริการเครือข่ายเช่าท่อ/เสา ความร่วมมือดังกล่าวได้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการวางระบบเครือข่าย FTTH ในสุราบายาได้ 40%
ความสำเร็จของกลยุทธ์ในสุราบายาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความร่วมมือและการแบ่งปันผลประโยชน์นั้นสามารถลดต้นทุนการสร้างเครือข่ายใยแก้วนำแสงลงได้เป็นอย่างมาก
ความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐาน: จากการดำเนินงานควบคู่กับผู้ให้บริการด้านสาธารณูปโภค โอเปอเรเตอร์ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 30%
การวางระบบ FTTH ไปตามเสาส่งไฟฟ้าและท่อสายไฟใต้ดินเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการวางระบบเพื่อให้บริการได้ถูกต้องตามแนวทางในการขุดเจาะเพื่อวางสายเคเบิล การใช้ประโยชน์จากระบบสาธารณูปโภคที่มีอยู่แล้วสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบลงได้ 30% หรือมากกว่านั้น
ในปี 2557 Vodafone ได้ร่วมทุนกับบริษัทด้านพลังงานของไอร์แลนด์เพื่อก่อตั้ง SIRO โดยใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเสาส่งไฟฟ้าและระบบท่อ ทำให้ Vodafone สามารถเปิดให้บริการเครือข่ายใยแก้วนำแสงในราคาถูก ในปี 2561 Vodafone ยังมีแผนที่จะวางระบบเครือข่าย FTTH ให้ครอบคลุม 500,000 ครัวเรือน ใน 51 เมืองอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างความร่วมมืออีกมากมายกับบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าทั่วโลก เช่น ที่เคนยา โอเปอเรเตอร์รายหนึ่งได้ติดตั้งใยแก้วนำแสงไปในย่านที่มีความต้องการใช้งานสูงแต่มีผู้คนอาศัยอยู่น้อย ที่อยู่อาศัยมีราคาแพง และต้นทุนในการขุดเจาะเพื่อวางสายนั้นส่งผลให้ต้นทุนการวางระบบต่อครัวเรือนสูงกว่า 2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อต้นปี 2560 โอเปอเรเตอร์รายนี้จึงได้เริ่มทำงานร่วมกับผู้ผลิตไฟฟ้า โดยติดตั้งเครือข่ายใยแก้วนำแสงไว้เหนือพื้นดินตามแนวเสาส่งไฟฟ้า ไปยังเขตหมู่บ้านในตัวเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น ช่วยลดต้นทุนลงเหลือเพียงไม่กี่ร้อยดอลลาร์ต่อครัวเรือน ที่น่าสนใจคือ บริษัทพลังงานของเคนยาได้ตระหนักถึงบทบาทที่ช่วยให้บริการเครือข่ายใยแก้วนำแสงมีราคาถูกลงและบริษัทก็กำลังเตรียมที่จะเข้าสู่ตลาดบรอดแบนด์ใยแก้วนำแสงด้วยตนเอง ในอีกห้าปีข้างหน้าบริษัทก็จะสร้างเครือข่าย FTTH ที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
เราได้พบเรื่องราวที่คล้ายๆ กันหลายเรื่อง ในปี 2559 บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของอิตาลี Enel ได้ประกาศโครงการลงทุนมูลค่า 2.5 พันล้านยูโร เพื่อสร้างเครือข่าย FTTH ในเมืองต่างๆ 200 แห่งหรืออาจมากกว่านั้นด้วยโครงข่ายเสาส่งไฟฟ้าที่มีอยู่ โดยมีการวางแผนเที่จะนำระบบโครงข่ายมาให้โอเปอเรเตอร์เช่า อันจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพในตลาดบรอดแบนด์ท้องถิ่นและเกิดการพัฒนาต่อไป
สถานีฐานโมบายล์ หมุดหมายของบรอดแบนด์ใยแก้วนำแสง ผสานการใช้งานทั้งระบบฟิกซ์และโมบายล์
เมื่อโมบายล์โอเปอเรเตอร์เริ่มเข้าสู่ตลาดฟิกซ์ไลน์บรอดแบนด์ หัวเว่ยได้แนะนำโอเปอเรเตอร์เหล่านั้นให้ใช้เครือข่ายสถานีฐานโมบายล์ที่มีขนาดใหญ่ซึ่งมีอยู่แล้ว เป็นจุดติดตั้งเพื่อให้บริการเครือข่ายใยแก้วนำแสง เนื่องจากระยะห่างในการติดตั้งใยแก้วนำแสงจากสถานีฐานกับบ้านเรือนโดยรอบต้องไม่ห่างกันมาก โอเปอเรเตอร์รายหนึ่งในเม็กซิโกซิตี้ได้นำวิธีนี้ไปใช้ โดยลากสายจากเครือข่ายสถานีฐานที่มีอยู่แล้วไปบรรจบกับจุดที่ต้องการเชื่อมต่อฟิกซ์บรอดแบนด์ โดยมีการกำหนดสถานีฐานมากกว่า 20 จุดเพื่อใช้เป็นจุดรับส่งสัญญาณระบบใยแก้วนำแสง พร้อมติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ OLT ขนาดเล็ก แล้วลากสายใยแก้วนำแสงไปตามที่พักอาศัยของลูกค้าในระยะห่างจากสถานีฐานไม่เกิน 300 เมตร ด้วยวิธีนี้การให้บริการบรอดแบนด์ใยแก้วนำแสงแก่อาคารย่านธุรกิจและที่พักอาศัยที่ปลูกอยู่ติดกันจึงทำได้รวดเร็วและสร้างรายได้ภายในสองเดือน โดยใช้เวลาคืนทุนทั้งหมดไม่ถึง 2 ปีครึ่ง ถือเป็นชัยชนะทางการค้าครั้งสำคัญ
การแก้ปัญหาโดยใช้คลื่นไมโครเวฟเพื่อติดตั้งเครือข่ายฟิกซ์บรอดแบนด์ ช่วยย่นระยะเวลาโครงการลง 70%
โอเปอเรเตอร์รายหนึ่งในกรีซพบความท้าทายมากมายในการวางระบบเครือข่ายเนื่องจากเกาะที่มีอยู่หลายแห่ง การวางสายเคเบิลใต้ทะเลที่มีค่าใช้จ่ายสูงและโครงการก่อสร้างที่ใช้เวลานาน จากการนำคลื่นความถี่ย่าน E-Band มาผสานกับโซลูชั่นไมโครเวฟที่มีประสิทธิภาพสูงและล้ำหหน้าด้วยนวัตกรรมของหัวเว่ย โอเปอเรเตอร์รายนี้จึงสามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและทีวีแก่ผู้ใช้งานบนเกาะได้โดยไม่ต้องลากสายเคเบิลใต้ทะเล ด้วยคลื่นความถี่ย่าน E-Band ที่มีแถบความถี่ใช้งานสูงถึง 10 Gbps ซึ่งส่งสัญญาณได้ไกลกว่าการเชื่อมโยงผ่านคลื่นไมโครเวฟในระยะทาง 10 กิโลเมตร รองรับบริการฟิกซ์บรอดแบนด์ที่เชื่อถือได้ถึง 99.999% ด้วยโซลูชั่นของหัวเว่ย โอเปอเรเตอร์รายนี้สามารถลดระยะเวลาการวางระบบลงได้ถึงร้อยละ 70 เมื่อถึงสิ้นปี 2559 โอเปอเรเตอร์ได้สร้างจุดเชื่อมต่อด้วยคลื่นไมโครเวฟสำหรับรองรับเครือข่ายบรอดแบนด์ทั้งประเทศไปแล้ว 1,000 จุด และครอบคลุมผู้ใช้ฟิกซ์เน็ตเวิร์คได้ 100,000 รายจากข้อมูลการวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่เกิดผลสัมฤทธิดังกล่าว เรามั่นใจว่าโอเปอเรเตอร์เหล่านั้นจะสามารถดำเนินการติดตั้งโครงข่ายใยแก้วนำแสงได้รวดเร็วและลดต้นทุนได้ เพียงนำเทคนิคที่เราได้สรุปไว้ในที่นี้ไปใช้เป็นแนวทาง ได้แก่ การออกแบบบริการให้มีความแตกต่าง การวางแผนโดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การจัดสรรเลขหมายอย่างรวดเร็ว การร่วมมือด้านโครงข่าย และการวางระบบเครือข่ายที่รวดเร็ว เทคนิคเหล่านี้ช่วยให้โอเปอเรเตอร์สามารถลดต้นทุนที่สูงและแก้ปัญหาเรื่องจำนวนผู้เข้าถึงบริการที่มีน้อยอันเป็นอุปสรรคต่อการให้บริการใยแก้วนำแสง ทั้งยังย่นระยะเวลาคืนทุนจากการลงทุนเครือข่ายฟิกซ์บรอดแบนด์ให้สั้นลงได้มาก เรายังคงทำงานร่วมกับโอเปอเรเตอร์เพื่อแสวงหาหนทางในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างเครือข่าย เมื่อผสานความร่วมมือกัน เราจะสามารถก้าวไปสู่วันที่ทุกบ้านเข้าถึงเครือข่ายบรอดแบนด์ที่รวดเร็วกว่าเดิมหลายเท่าตัว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit