ไฟเบอร์เน็ตเวิร์ค: คืนทุนเร็วกว่า ต้องเชื่อมต่อดีกว่า ตอนที่ 2

03 Oct 2017
เราได้พูดถึงการเข้าถึงเครือข่ายโมบายล์บรอดแบนด์ในประเทศต่างๆ รวมถึงเครือข่ายไฟเบอร์ออพติกในฐานะที่เป็นธุรกิจที่น่าลงทุนและกลยุทธ์ระยะยาวกันไปแล้ว ในตอนที่ 2 นี้ จะกล่าวถึงการวางโครงข่ายไฟเบอร์ออพติกว่าสามารถช่วยให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสร้างสรรค์สังคมดิจิทัลได้อย่างไร
ไฟเบอร์เน็ตเวิร์ค: คืนทุนเร็วกว่า ต้องเชื่อมต่อดีกว่า ตอนที่ 2

การกำหนดเขตให้บริการและผู้ใช้งานที่มีมูลค่าสูง เพื่อสร้างเป้าหมายในการลงทุนและกลยุทธ์ทางการตลาดที่แม่นยำ

โอเปอเรเตอร์หลายรายยังคงใช้กลยุทธ์แบบเหวี่ยงแหในการขยายเครือข่าย หากพื้นที่ที่โอเปอเรเตอร์ขยายโครงข่ายออกไปนั้นไม่มีกลุ่มลูกค้าที่มีมูลค่าสูง หรือหากว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในย่านนั้นไม่มีกำลังซื้อหรือไม่ต้องการจ่ายให้กับบริการบรอดแบนด์ เมื่อขยายเครือข่ายออกไปแล้ว โอเปอเรเตอร์ก็จะประสบปัญหาจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นได้ช้าและต้องทนแบกรับภาระต่อไป

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว หัวเว่ยกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมของจีนรายหนึ่ง ได้ร่วมกันกำหนดกลุ่มลูกค้าที่มีมูลค่าสูง เราได้รวบรวมข้อมูลหลากหลายมิติเกี่ยวกับแหล่งที่พักอาศัยเป้าหมายในเมืองใหญ่ โดยใช้ข้อมูลจากการใช้งานโทรศัพท์ หน่วยงานภาครัฐ ที่ปรึกษาในแวดวง รวมถึงความหนาแน่นของประชากร ราคาที่พักอาศัย สถานที่ๆ กลุ่มผู้ใช้งานที่มีมูลค่าสูงของโอเปอเรเตอร์มักไปในตอนเย็น อายุของอพาร์ทเมนต์ อาชีพของผู้เช่าและเจ้าของ อัตราการย้ายเข้า-ออกจากอพาร์ทเมนต์ ค่าบริการของคู่แข่งและความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อบริการต่างๆ รวมถึงความครอบคลุมของเครือข่ายในปัจจุบัน เราทำแผนที่ระบุกลุ่มผู้ใช้ตามพื้นที่พักอาศัยโดยใช้เครื่องมือการวางแผนการลงทุนแบบกำหนดเป้าหมายของหัวเว่ย ในขั้นสุดท้ายจึงชี้ตำแหน่งของย่านอพาร์ทเมนต์ที่มีมูลค่าสูงกว่า 3,000 แห่งซึ่งมีผู้ใช้งานที่มีมูลค่าสูงกว่าหนึ่งล้านคนอาศัยอยู่ ด้วยกระบวนการดังกล่าว โอเปอเรเตอร์จึงสามารถจำแนกกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและใช้กลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างแม่นยำ มูลค่าที่โอเปอเรเตอร์ได้กลับคืนมีจำนวนมหาศาล ทั้งอัตราความสำเร็จในตลาดโทรศัพท์ที่เพิ่มขึ้นสามเท่าตัว เมื่อโอเปอเรเตอร์มุ่งไปที่กลุ่มลูกค้าที่มีมูลค่าสูงที่ได้ร่วมกันกำหนด ภายในระยะเวลาเพียงสามเดือน ก็สามารถเพิ่มอัตราของผู้เข้าใช้บริการได้ถึง 6%

ในอินเดีย หัวเว่ยได้ให้ความช่วยเหลือโอเปอเรเตอร์รายหนึ่งในการกำหนดเป้าหมายการลงทุนระบบ FTTH โดยระบุกลุ่มลูกค้าที่มีมูลค่าสูงออกเป็นช่วงอาคาร โดยก่อนหน้านั้น โอเปอเรเตอร์ได้ลากสายไฟเบอร์ออพติกไปตามแนวอพาร์ทเมนต์ขนาดสูงที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่นไม่ถึง 60 ตึก หรือคิดเป็น 2% ของอพาร์ทเมนต์ทั้งเมือง ด้วยข้อกังวลเกี่ยวกับจำนวนของผู้เข้าถึงบริการที่มีอยู่น้อย จึงทำให้การขยายเครือข่ายของโอเปอเรเตอร์ออกไปยังครัวเรือนอีก 98% ไม่คืบหน้า แต่ด้วยเครือข่ายที่ครอบคลุมเพียงเล็กน้อย โอเปอเรเตอร์ก็ไม่สามารถลดต้นทุนต่อหน่วยได้อย่างที่ต้องการ ทำให้ต้องพยายามอย่างหนักกับธุรกิจบรอดแบนด์ แต่เมื่อใช้ SmartCapex ซึ่งเป็นเครื่องมือการวิเคราะห์และวางแผนการลงทุนแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายของหัวเว่ย ทำให้โอเปอเรเตอร์กำหนดย่านอพาร์ทเมนต์ที่มีความสูงปานกลางได้ 1,200 แห่ง ซึ่งมี 80,000 ครัวเรือน อาคารเหล่านี้ มีผู้อาศัยที่รายได้แตกต่างกันและความหนาแน่นของผู้ใช้งานก็แตกต่างจากย่านที่พักอาศัยขนาดสูง แต่เป็นกลุ่มผู้ใช้ที่มีศักยภาพที่จะเติบโตในอนาคต เมื่อมีความสมดุลกันระหว่างต้นทุนการวางโครงข่าย ค่า ARPU ที่สูงขึ้น การใช้งานสถานีฐานและใยแก้วนำแสงเพิ่มขึ้น ระยะเวลาคืนทุนจากการวางโครงข่ายใยแก้วนำแสงให้เข้าถึงผู้ใช้เหล่านี้ก็จะสั้นลง โอเปอเรเตอร์ได้ตั้งเป้าให้บริการครอบคลุมย่านอพาร์ทเมนต์ 1,200 แห่งตามที่ระบุไว้ พร้อมส่งมอบแพคเกจบริการที่แข่งขันในตลาดได้ ผลจากการดำเนินงานดังกล่าวพบว่า มีผู้เข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 50% และคืนทุนได้ทั้งหมดในเวลาไม่ถึงสามปีส่งมอบบริการได้รวดเร็ว ด้วยการบริหารงานที่ดี และทักษะที่เหนือกว่า

โอเปอเรเตอร์รายใหม่ในตลาดโทรคมนาคมซึ่งยังไม่คุ้นเคยกับความซับซ้อนในการวางระบบเครือข่ายไฟเบอร์ มักจะเสียเวลาและสิ้นเปลืองแรงงานในการดำเนินงาน ประกอบกับความยุ่งยากในการจัดสรรเลขหมาย ความไม่แน่นอนในการจัดหาทรัพยากรเพื่อติดตั้งระบบใยแก้วนำแสง และการขาดแรงงานที่มีทักษะ ล้วนเป็นความท้าทายที่โอเปอเรเตอร์ต้องฝ่าฟันเพื่อไปสู่การให้บริการที่รวดเร็ว และหากลูกค้ายังต้องรอใช้บริการต่อไป บางรายอาจหันไปใช้บริการที่มีคุณภาพต่ำ ส่งผลให้อัตราผู้เข้าถึงบริการ ยังคงน้อยต่อไปอย่างเลี่ยงไม่ได้

โซลูชั่น MiniOSS น้ำหนักเบาของหัวเว่ย ออกแบบมาเพื่อช่วยลดกระบวนการดำเนินงานที่มีหลายขั้นตอน และการขาดความชัดเจนของข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากร หัวเว่ยได้ช่วยผู้ให้บริการ FTTH ที่ดีที่สุดรายหนึ่งของจีน โดยเชื่อมโยงการดำเนินงานทุกส่วนของโอเปอเรเตอร์ไว้บนระบบไอที ทั้งการสร้างเครือข่าย การตลาดบริการ และวิศวกรผู้ให้บริการ สายใยแก้วนำแสงทุกเส้นจะมีการบันทึกข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การแบ่งปันและอัพเดทข้อมูลได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรเครือข่ายของบริษัทได้อย่างแม่นำ พร้อมใช้งานถึง 99% โอเปอเรเตอร์รายหนึ่งในแอฟริกาใต้สามารถเปิดให้บริการออนไลน์เครือข่าย FTTH ภายในเวลาไม่ถึงสองเดือนด้วยโซลูชั่น MiniOSS เช่นเดียวกัน และเร่งให้เกิดการเชื่อมโยงกับลูกค้าได้ถึง 60% ทำให้โอเปอเรเตอร์รายนี้สามารถสร้างความพึงพอใจและรักษาจำนวนลูกค้าที่ใช้บริการให้คงอยู่ในระดับสูงในพื้นที่ที่มีบริการครอบคลุม

ในแง่ของทักษะพนักงาน การเปิดให้บริการเครือข่าย FTTH ที่รวดเร็วในประเทศจีนได้สร้างประสบการณ์การใช้งานที่มีคุณค่า ไชน่า เทเลคอม เซี่ยงไฮ้ เป็นตัวอย่างในกรณีนี้ โดยได้พัฒนาชุดข้อกำหนดมาตรฐานทางวิศวกรรมกว่า 40 ข้อสำหรับใช้เป็นแนวทางในการวางเครือข่าย FTTH ทั้งในและนอกอาคาร บริษัทได้จำลองสถานที่ทำงานเสมือนจริงขึ้นเพื่อฝึกอบรมวิศวกรผู้วางระบบเครือข่ายกว่า 3,000 คนให้คุ้นกับการใช้งานและบำรุงรักษาใยแก้วนำแสง ผลที่ตามมาคือ ความเร็วและประสิทธิภาพการใช้งาน FTTH ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปี 2554 มีระบบ FTTH ที่เปิดใช้งานได้สำเร็จตั้งแต่ครั้งแรกเพียง 30% เท่านั้น จนกระทั่งในปี 2560 อัตราส่วนของระบบที่ใช้งานได้เพิ่มขึ้นกว่า 95%

ในตอนสุดท้าย จะกล่าวถึงการสร้างพันธมิตรในอุตสาหกรรมจะช่วยผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างเครือข่ายไฟเบอร์