ควรออกกำลังกายขณะตัง้ครรภ์หรือไม่ โดย นพ.ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล ศนูย์รักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้อง รพ.วิภาวดี

          การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ทาให้ร่างกายฟิต มีสุขภาพดีและทำให้มีคณุภาพชีวิตที่ดี ในขณะที่ตงั้ครรภ์ก็ไม่ได้เป็นข้อห้ามที่จะต้องหยุดการออกกำลังกาย โดยหลักการทั่วไปแล้ว คนที่เคยออกกำลังกายสม่ำเสมอก่อนการตั้งครรภ์ก็ควรออกกำลังกายต่อไป คนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย ก็ควรมี การออกกำลังกาย เมื่อมีการตั้งครรภ์ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายไปเรื่อยจนคลอด และมีอาการ ไม่พึ่งประสงค์บางอย่าง ดังนั้นสตรีตั้งครรภ์จึงควรพูดคุยปรึกษากับแพทย์ที่เราฝากครรภ์หรือผู้มีความรู้ก่อนการวางแผนการออกกำลังกาย ผลจากการออกกำลังกายนอกจากทำให้สขุภาพดีแล้ว อาจลดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ได้ด้วย เช่น ภาวะเบาหวาน ภาวะครรภ์เป็นพิษ 
          ประเภทของการออกกำลังกาย 
          เมื่อตั้งครรภ์ระยะแรกๆ ร่างกายยังเปลี่ยนแปลงไม่มาก มักจะไม่ค่อยมีข้อจำกัดของการออกกำลังกาย แต่เมื่ออายคุรรภ์มากขึ้นร่างกายเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ศนูย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ความคล่องแคล่วของการเคลื่อนไหวลดลง และการทรงตัวลำบากขึ้น โอกาสเกิดอุบัติเหตุหกล้มมากขึ้น ก็มีข้อจำกัดของการออกกำลังกายมากขึ้นบ้าง สตรีตั้งครรภ์สามารถออกกำลังกายได้ทั้งแบบแอโรบิค ได้แก่ การเต้นแอโรบิค, วิ่งจ๊อกกิ้ง, การเดินเร็ว, ว่ายน้ำ , Squash (ยืน-ย่อเข่า), เต้นรำ, ปั่นจักรยานอยู่กับที่ การออกกำลังกล้ามเนื้อ เข่น ยกน้ำหนัก, การทำแพลงกิ้ง (planking) ฝึกท่ากายบริหาร เหยียดยืดกล้ามเนื้อ การทำโยคะ และการขมิบก้นบ่อย ๆ เพื่อบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เป็นต้น 
          ควรออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหน 
          ให้ถือหลักสายกลาง คือ ออกกำลังแค่ระดับปานกลางพอเหนื่อยปานกลาง ไม่ต้องให้ถึงกับเหนื่อยเต็มที่ อย่าเน้นเรื่องการลดน้ำหนัก เพราะเมื่อตั้งครรภ์ น้ำหนักต้องเพิ่มขึ้นอยู่แล้วเลือกประเภทการออกกำลังที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่รวดเร็ว ไม่มีเปลี่ยนท่ารุนแรงฉับพลัน หลีกเลี่ยงการไป กระแทกชนคนอื่นหรือสิ่งอื่น หรือการมีสิ่งอื่นมากระแทกตัวเรา หลีกเลี่ยงประเภทที่จะทำให้มีการหกล้มง่าย เช่น การเล่นวอลเล่ย์บอล การเล่นสกี สเก็ต เป็นต้น ทำครั้งหนึ่งประมาณ 3การตั้งครรภ์ นาที – 1 ชั่วโมง ข้อสำคัญคือ ควรทำสม่ำเสมอทกุวัน หรือ เกือบทุกวัน



ภาวะใดที่สตรีตั้งครรภ์ไม่ควรออกกำลังกาย มีบางภาวะที่ไม่ควรออกกำลังกาย หรือควรอยู่ในการควบคุมใกล้ชิด ได้แก่
- มีประวัติแท้งและคลอดก่อนกำหนดบ่อย
- มีโรคหัวใจและโรคปอดอย่กู่อน
- มีเลือดออกขณะตั้งครรภ์บ่อยๆ
- ภาวะรกเกาะต่ำเมื่อครรภ์เกิน 2การตั้งครรภ์ สปัดาห์ขนึ้ไป
- ภาวะปากมดลกูอ่อนแรง (ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนด) เสี่ยงต่อการแท้ง หรือ คลอดก่อนกำหนด
- ภาวะครรภ์เป็นพิษ
- เลือดออกทางช่องคลอด
- น้ำไหลจากช่องคลอด
- เหนื่อยมาก
- หายใจลำบาก
- วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน
- เป็นลม
- ปวดท้อง ท้องแข็ง
เมื่อมีภาวะต่อไปนี้ขณะออกกำลังกาย ควรหยุดทันทีแล้วรีบปรึกษาแพทย์
การแต่งตัว ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป ควรใส่ยกทรงสำหรับการออกกำลงักาย ควรสวม รองเท้าที่เหมาะกับชนิดของการออกกำลังกาย
ตัวอย่างการออกกำลังกายที่ดีขณะตั้งครรภ์
1. การเดินเร็ว เป็นวิธีหนึ่งที่ง่าย ได้ผลดี โอกาสเกิดการหกล้มน้อย ทำได้ตลอดการตั้งครรภ์
2. การว่ายน้ำ เป็นวิธีที่ดีมากสำหรับคนที่ว่ายน้ำเป็น หาสระว่ายน้ำได้ไม่ยาก เพราะเป็นการออกำลังกายทุกส่วนของร่างกาย ไม่กระแทกกระทันกับข้อต่อต่างๆ มีน้ำพยุงร่างกายอยู่แล้ว โอกาสเกิดการหกล้มในน้ำไม่มี
3. การจ็อกกิ้ง สำหรับคนที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว เหมาะสำหรับการตั้งครรภ์ 3 - 4 เดือนแรก
4. การเต้นรำ ชนิดที่มีการเคลื่อนไหวไม่รวดเร็วมาก ท่าทางที่ทำให้ไม่ล้มง่าย ไม่ควรใส่รองเท้า ส้นสงู
5. การทำ Squash (ยืน-ย่อเข่า) กางเท้ากว้างเท่าไหล่ ใช้มือยันที่เข่า หรือ มีที่เกาะ ย่อให้ข่างประมาณ 9การตั้งครรภ์ องศา ประมาณ 5 วินาที แล้วยืนค่อยๆ ทำจากน้อยไปมาก
6. การทำแพลงกิ้ง (planking) นอนคว่ำยกตัวโดยข้อศอกและปลายเท้ายันพื้น ทำครั้งละ 1 - 3 นาที วันละ 3 - 4 ครั้ง ท่านี้ออกกำลังทั้งแขน ขา ท้อง หลัง ไหล่ และลำตัวส่วนอื่น ๆ
7. การยกน้ำหนัก ยกดัมเบล เพิ่มกล้ามเนื้อ
8. การขี่จักรยานอยู่กับที่ วิธีนี้ได้ออกกำลังกายแบบแอโรบิค โดยโอกาสเกิดอุบัติเหตุการหกล้มน้อย
9. โยคะในท่าที่ไม่บิดกดทับหน้าท้องมาก โดยเฉพาะก่อนท้องแก่
1การตั้งครรภ์. การบริหารยืดเหยียดร่างกายต่างๆ
สรุป การออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ทำได้และควรทำเพื่อสุขภาพทั้งขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด ควรทำสม่ำเสมอ ไม่ควรทำหนักเกินไป เลือกทำชนิดที่ไม่มีการเคลื่อนไหวรวดเร็ว รุนแรง และชนิดที่ไม่เสี่ยงต่อการลื่นล้ม ควรรับประทานอาหารให้เพียงพอ ออกกำลังกายหลังทานอาหารแล้วไม่ น้อยกว่า1 ชั่วโมง และปรึกษาแพทย์ก่อนการวางแผนออกกำลังกาย

ควรออกกำลังกายขณะตัง้ครรภ์หรือไม่  โดย นพ.ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล ศนูย์รักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้อง รพ.วิภาวดี

ข่าวธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล+รักษาผู้มีบุตรยากวันนี้

ภาพข่าว: โรงพยาบาลวิภาวดี จัดงาน “Fertility Center Annual Party” ฉลองครบรอบ 20 ปี ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก

พิจิตต์ วิริยะเมตตากุล (คนที่ 3 จากซ้าย) กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน) จัดงาน "Fertility Center Annual Party" ฉลองครบรอบ 20 ปี ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลวิภาวดี โดยมี ชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล, นพ.ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล, นพ.ฉัตรชัย ตรีธรรมพินิจ, พญ.อัญชุลี พฤฒิวรนันทน์, ไมตรี ภูเนตร และครอบครัว มาร่วมงานด้วย ณ ห้องประชุมชั้น 9 อาคาร 4 โรงพยาบาลวิภาวดี เมื่อวันก่อน บุคคลในภาพ (จากซ้ายไปขวา) 1.นพ.ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลวิภาวดี 2.พญ.อัญชุลี

บมจ.เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ หรือ GF... GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก "GFC Ubon" เต็มสูบ — บมจ.เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ หรือ GFC เดินเกมรุก บุกให...

นายกรพัส อัจฉริยมานีกูล ประธานเจ้าหน้าที่... GFC ต้อนรับนักวิเคราะห์-นักลงทุน บล.พาย ชูความพร้อมคลินิก และเทรนด์ผู้หญิงยุคใหม่นิยม "ฝากไข่" — นายกรพัส อัจฉริยมานีกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ...

รพ. วิภาวดี จัดกิจกรรมวันแห่งความรัก

โรงพยาบาลวิภาวดี จัดกิจกรรมวันแห่งความรัก โดยจัดบรรยายเรื่อง “เตรียมตัวก่อนแต่งงานและก่อนมีบุตร” โดย พญ. อัญชลี สิทธิเวช ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 และ บรรยายเรื่อง “มุมมองด้านภาวะมีบุตรยากและแนวโน้มในอนาคต” โดย พล.ต. รศ. นพ. ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล ในวันที่ 13...