"คณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ถ้าเราสอนให้เต็มที่ ทำให้เด็กเกิดเจตคติที่ดีวิชาต่อคณิตศาสตร์ให้ได้ วิชาอื่นๆ ก็จะดีตามไปด้วย"
เป็นคำบอกเล่าจากประสบการณ์การสอนวิชาคณิตศาสตร์กว่า การเรียนรู้6 ปีของ "นายพรชัย ตั้งยิ่งยง" จาก โรงเรียนยโสธรพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ผู้ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัล "ครูยิ่งคุณ" ประจำปี มูลนิธิรางวัลสมเด็จ56รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จาก มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ที่ทุ่มเทเวลาทั้ง 7 วันให้กับการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจ ควบคู่ไปกับการตระเวนทำค่ายคณิตศาสตร์ไปทั่วประเทศเพื่อเปลี่ยนทัศนคติของเด็กๆ ในการเรียนรู้ว่าวิชา "คณิตศาสตร์" เป็นเรื่องสนุกกว่าที่คิด
"ทำยังไงก็ได้ให้เขามีความรักในวิชานั้นๆ แล้วมันจะไปได้ดี ถ้าเรียนแบบให้มันจบ แต่เด็กไม่จบ แบบนั่นไม่ใช่ ในชั้นเรียนผมชอบใช้คำถามปลายเปิด เพราะเราจะรู้ว่านักเรียนคิดอย่างไร บางทีเราจำกัดว่านักเรียนต้องตอบแบบนี้แบบนั้น มันไม่ใช่ ต้องให้โอกาสเขาคิดต่างจากเรา ให้สิทธิ์เขาได้ลองนำเสนอ การที่ให้นักเรียนนำเสนอหน้าชั้นมีส่วนสำคัญมาก เพราะเราจะรู้ว่าเขาเรียนรู้เรื่องหรือเปล่าตอนที่เขาอธิบาย" ครูพรชัยอธิบายถึงแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในแต่ละครั้ง
ในชั่วโมงแรกของวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนยโสธรพิทยาคม เรื่องพื้นฐานทางเรขาคณิต "ครูพรชัย" เริ่มต้นการสอนด้วยการชวนให้เด็กๆ ทุกคนมาพับกระดาษ บนโต๊ะของเด็กแต่ละคนที่นั่งกันเป็นกลุ่ม ไม่มีหนังสือหรือตำราเรียน มีแต่ไม้บรรทัด ดินสอสี และกระดาษสีสดใสแผ่นเล็กๆ วางเรียงรายอยู่บนโต๊ะ
"พับกระดาษคนอาจจะมองว่าเป็นวิชาการงานอาชีพหรือศิลปะ แต่ที่เอามาใช้กับวิชาคณิตศาสตร์เพื่อต้องการเอามาอธิบายเรื่องของการสร้างรูปทรงเรขาคณิต บางทีถ้าเราให้เขาวาดเป็นภาพขึ้นมาเขาก็คิดไม่ออก แต่พอให้พับกระดาษเป็นรูปทรงต่างๆ เขาก็จะเห็นภาพและเกิดความเข้าใจได้ง่าย" ครูพรชัยกล่าว
ระหว่างนั้นก็จะสอดแทรกเรื่องของ จุด มุม เส้นตรง รูปทรง ฯลฯ เข้าไปในระหว่างการพับ เด็กๆ จะซึมซับและเรียนรู้ไปพร้อมกับการขยับนิ้วพับกระดาษสร้างรูปทรงต่างๆ ขึ้นมา จนประกอบขึ้นเป็นกล่องทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีสดใส พร้อมกับให้พวกเขาได้ออกมานำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ร่วมกันหน้าชั้นเรียน
"ถ้าครูเอาแต่พูดอย่างเดียว ไม่มีกิจกรรมให้นักเรียนได้ลงมือทำ มันน่าเบื่อ ครูเองก็เบื่อก็เลยสอนให้มันจบๆ ไป แต่ถ้าเขาได้ทำโน่นทำนี่ ระบายสี เอาเกมจากรายการทีวีต่างๆ มากระตุ้นให้เขาเกิดความสนใจ มันก็จะสนุก อย่างเกมพันธุ์แท้เราดัดแปลงก็เอาเนื้อหาคณิตศาสตร์เข้าไปใส่ ออกแบบเป็นคำถามคำตอบให้เขาคิดคิดตาม ก็ทำให้การเรียนวิชาคณิตศาสตร์แต่ละครั้งสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ตอนนี้ก็กำลังเอาเกมปริศนาฟ้าแลบมาออกแบบเป็นสื่อการเรียนการสอนเพราะเด็กๆ กำลังสนใจกันมาก" ครูพรชัยเล่าเทคนิคการสอน
นอกจากจะพัฒนาสื่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ผ่านเครื่องมือ อุปกรณ์ เกม และกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กๆ สามารถมองเห็น สัมผัส และจับต้องได้ เพื่อดึงดูดกระตุ้นความสนใจใฝ่เรียนรู้ และสามารถตอบคำถามครูได้โดยไม่ต้องเปิดตำรา ซึ่งคล้ายกับการทำโครงงานเล็กๆ ให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเองในแต่ละคาบเรียนแล้ว "ครูพรชัย" ยังย้ำว่าหัวใจสำคัญของการสอนคือ ทำให้เด็กรักในวิชานั้นๆ และทำยังไงให้เขามีสมาธิในการเรียนรู้ซึ่งจะส่งผลดีต่อวิชาอื่นๆ ด้วย
"ทำอย่างไรให้เขารัก ให้เขาชอบ พอเขาชอบแล้ว ถ้าเกิดเราสอนไม่จบไม่เป็นไร เดี๋ยวเด็กเขาก็ไปหาอ่านเองได้ เพราะว่าเขามีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์แล้ว อย่างการบ้านวิชาอื่นๆ เขาก็เยอะแล้ว เด็กคนหนึ่งเรียนตั้ง โรงเรียนยโสธรพิทยาคม6 วิชา ถ้าอัดการบ้านมากไป นักเรียนจะถอดใจก่อน ก็เลยให้ทำการบ้านแค่ครึ่งเดียววันนี้ทำข้อคู่นะ พรุ่งนี้ทำข้อคี่ ให้เขาเบาใจก่อน ทีนี้ถ้าเขารักและเก่งคณิตศาสตร์แล้ววิชาอื่นๆ เขาก็จะเก่งตามไปด้วย เพราะหลักที่เราปูพื้นฐานให้เขาซึ่งก็คือความรักและการมีสมาธิที่ได้จากการฝึกพับกระดาษ พอเขามีสมาธิแล้วฟังเราแป๊บเดียวเขาก็เขาใจ ทำแป๊บเดียวก็รู้เรื่อง พอมีสมาธิแล้วในวิชาอื่นๆ เขาก็จะรู้เรื่องด้วย" ครูพรชัยระบุ
นอกจากภาระงานในการเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระวิชาคณิตศาสตร์ที่ต้องทุ่มเทเสียสละทั้งการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาออกแบบสื่อการสอนใหม่ๆ ที่ทันสมัยและดึงดูดใจเด็กอย่างต่อเนื่องทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ชนิดที่เรียกว่าต้องมากินนอนอยู่ในห้องทำงานจนเหมือนเป็นบ้านหลังที่ มูลนิธิรางวัลสมเด็จ โดยเป็นภาพที่เห็นจนชินตาแล้วโดยให้เหตุผลว่า..."เราต้องช่วยงานของโรงเรียนหลายอย่าง ตื่นมากลางดึกจะได้มานั่งทำงานต่อได้เลย"
ในวันเสาร์-อาทิตย์ "ครูพรชัย" ยังแบ่งเวลาอีกส่วนหนึ่งออกไปตระเวนจัดทำ "ค่ายคณิตศาสตร์" ให้กับโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศที่สนใจอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลา มูลนิธิรางวัลสมเด็จรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี เพื่อเปลี่ยนทัศนคติและความคิดของเด็กๆ ที่เคยมองว่าวิชาคณิตศาสตร์นั้นเป็น "ยาขม" ให้กลายเป็น "ลูกอม" แสนหวาน
"ในค่ายคณิตศาสตร์จะมีฐานการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ซึ่งการพับกระดาษและเกมต่างๆ ก็รวมอยู่ในนั้นด้วย โดยเป้าหมายของค่ายก็คืออยากจะให้เด็กๆ เขาเข้าสู่องค์ความรู้ต่างๆ ของวิชาคณิตศาสตร์ให้ได้ ทำยังไงให้เขาเกิดความคิดสร้างสรรค์ ฝึกการสร้างสมาธิ และรู้จักคุณค่าของเวลา ซึ่งทั้งหมดนั้นจะทำให้เขามองว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ง่ายและสนุก ซึ่งเวลาที่เหลือ มูลนิธิรางวัลสมเด็จ ปีก่อนและหลังเกษียนก็อยากจะออกไปทำค่ายให้กับโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศให้มากที่สุดเพื่อทำให้เด็กรักในวิชาคณิตศาสตร์" ครูพรชัยเล่าความตั้งใจ
น.ส.วราภรณ์ โคตรสมบัติ, นายจักรพันธ์ ไกยชาติ, นายมานัส คำมงคล และ น.ส.นภาพร บัวนาเมือง(ตอง) นักศึกษาฝึกสอนจากมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด ช่วยกันอธิบายว่าการจัดการเรียนการสอนของ "ครูพรชัย" นั้นแตกต่างจากที่อื่นๆ ที่มักจะเปิดตำราสอน และไม่ได้ทำกิจกรรมกลุ่มในลักษณะนี้
"ครูจะใช้เด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เด็กได้ลองผิดลองถูกได้เรียนรู้ผ่านการใช้สื่อที่น่าสนใจในการสอน ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจและการจดจำได้ดีกว่า" น.ส.นภาพร กล่าว
"การสอนตามหนังสือง่ายกว่าก็จริง แต่มักไม่ได้ผลและเสียเวลาเปล่า แต่แบบนี้ถึงจะเหนื่อยกว่า แต่เด็กจะได้เรียนรู้อย่างมีความสุข คนสอนเองก็มีความสุข" นายจักรพันธ์กล่าว
"การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบนี้เด็กจะเห็นคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องนามธรรมเป็นรูปธรรมมากขึ้นและจะทำให้เข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น" นายมานัสกล่าว
"การที่เด็กๆ รักในวิชาคณิตศาสตร์จะช่วยให้เด็กคิดเป็นระบบ มีเหตุและผลของการคิด และเป็นพื้นฐานที่ดีของการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหมด" น.ส.วราภรณ์ อดีตศิษย์เก่าระบุ
แม้จะต้องทำงานตลอดทั้ง 7 วันเช้าจรดค่ำโดยใช้ห้องทำงานเป็นบ้านหลังที่ มูลนิธิรางวัลสมเด็จ ทำทุกกิจกรรมเพื่อเด็กๆ แม้กระทั่งเงินค่าตอบแทนที่ได้รับในแต่ละเดือน ยังถูกนำไปเป็นทุนและค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ยากจนทั้งทุนการศึกษา ค่าอาหารกลางวัน รวมถึงสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ทั้งดนตรีและกีฬา "ครูพรชัย" ตอบเพียงสั้นๆว่า "มันได้ความสุขทางใจ แล้วก็มีความสุขกับการได้ทำงานตรงนั้น ได้ใช้เวลาให้คุ้มค่ามากที่สุดในการเป็นผู้ให้ เพราะเราเคยผ่านความยากจนมาก่อน"
และในยุคที่เรามีเป้าหมายในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์นวัตกรรม "ไทยแลนด์ 4.รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี" วิชาคณิตศาสตร์จึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ "ครู" จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนใหม่ให้ทันกันความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียนจากสิ่งเร้าต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมาย
"วันนี้ครูต้องมีบทบาทมากกว่าแค่ในชั่วโมงสอน ครูต้องให้เวลากับเด็กมากขึ้น ต้องรับฟังเด็ก เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความคิดเห็น ต้องหาสื่อที่ทำให้นักเรียนสนใจ เปิดมาจะสอนด้วยวิธีการแบบเดิมมันใช้ไม่ได้แล้วเราต้องใช้สื่อที่นักเรียนชอบแล้วเอาสาระวิชาคณิตศาสตร์หรืออะไรก็ตามใส่แทรกเข้าไป ทำอะไรที่มันจับต้องได้ มองเห็นได้ชัดเจน ใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่เด็กชอบเช่น youtube เป็นสื่อให้เข้าเข้าไปค้นหาความรู้หรือคำตอบ แต่เราก็อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีอะไรมากมาย ครูสามารถนำสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัว หรือใกล้ตัวเด็กมาใช้เป็นสื่อการสอนได้ แต่สิ่งสำคัญครูจะต้องสะท้อนผลเร็ว เรียบจบปุ๊บรู้คะแนนปั๊บหรือในคาบต่อไปรู้เลย ตรงนี้จะสามารถสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของเด็กๆ ได้ดีที่สุด" ครูพรชัยกล่าวสรุป
สำหรับ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี นับเป็นรางวัลระดับนานาชาติเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระปรีชาด้านการศึกษา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชานุญาตตั้งนาม "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี" เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติครูผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์ สร้างคุณประโยชน์ต่อการศึกษาในประเทศต่างๆ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และติมอร์ เลสเต รวม โรงเรียนยโสธรพิทยาคมโรงเรียนยโสธรพิทยาคม ประเทศ ประเทศละ โรงเรียนยโสธรพิทยาคม รางวัล ที่ขับเคลื่อนและดำเนินงานโดย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี,สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน โดยจัดให้มีการมอบรางวัลในทุก มูลนิธิรางวัลสมเด็จ ปี ซึ่งในปีนี้นับเป็นครั้งที่ มูลนิธิรางวัลสมเด็จ โดยจะพระราชทานรางวัลในวันที่ โรงเรียนยโสธรพิทยาคมโรงเรียนยโสธรพิทยาคม ตุลาคม มูลนิธิรางวัลสมเด็จ56รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี.
"คณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ถ้าเราสอนให้เต็มที่ ทำให้เด็กเกิดเจตคติที่ดีวิชาต่อคณิตศาสตร์ให้ได้ วิชาอื่นๆ ก็จะดีตามไปด้วย" เป็นคำบอกเล่าจากประสบการณ์การสอนวิชาคณิตศาสตร์กว่า 36 ปีของ "นายพรชัย ตั้งยิ่งยง" จาก โรงเรียนยโสธรพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ผู้ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัล "ครูยิ่งคุณ" ประจำปี 2560 จาก มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ที่ทุ่มเทเวลาทั้ง 7 วันให้กับการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจ ควบคู่ไปกับการตระ
พิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 5 และการประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ครั้งที่ 3
—
สมเด็จพระกนิษฐ...
มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมกับ ศธ.มท.กสศ. ชวนเสนอชื่อ'ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี’ ครั้งที่ 4
—
มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมกับ ...
ภาพข่าว: พิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 2 ปี 2560 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
—
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เส...
“สมจิตต์ ตีบกลาง” ครูผู้ใช้วิทยาศาสตร์สร้างโอกาสการเรียนรู้ พัฒนากระบวนการคิดผ่านโครงงาน-สู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
—
มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่ว...
“กานต์ชนก มางัดสาเระ” ครูผู้ยืนหยัดสร้างคนดีด้วยการศึกษา พลังศรัทธาในการเรียนรู้ พัฒนาคนรุ่นใหม่ด้วยหัวใจ “รักบ้านเกิด”
—
"ปัญหาในพื้นที่มีเยอะมาก เราจะต้...
“เกรียงศักดิ์ ฤกษ์งาม” ครูนักพัฒนาผู้สร้างการเรียนรู้ด้วย “ผืนฟ้าและแผ่นน้ำ” ปลูกฝังเยาวชนรักษ์ป่าชายเลน-สืบสานวิถีถิ่นชายทะเลบางขุนเทียน
—
มูลนิธิรางวัลส...
“นฤมล แก้วสัมฤทธิ์” ครูผู้อุทิศตนเพื่อการศึกษาในผืนป่ามรดกโลก มุ่งมั่นสอนวิชา “ชีวิต” สร้าง “คนดี” นำความรู้กลับมาพัฒนาชุมชน
—
"ครูเป็นอาชีพที่ต้องฝึกคน ไ...