จดหมายเปิดผนึกระบุข้อเรียกร้องให้ชาติสมาชิกอาเซียน ประกาศห้ามใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง และเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกและมลพิษจากขยะที่กระทบต่อชีวิตสัตว์น้ำ กรีนพีซได้เรียกร้องให้ชาติสมาชิกอาเซียนกำหนดนโยบายที่เอาจริงในการจัดการของเสีย เพื่อลดปริมาณของเสียที่ทิ้งลงสู่มหาสมุทรก่อนจะถูกพัดพาออกสู่ทะเลหลวง
พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง หมายรวมถึง ถุง ขวด หลอด และอื่นๆ ที่โยนทิ้งหลังจากใช้แล้วแค่ครั้งเดียว
การสำรวจเมื่อปี 2558 มีชาติสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ ที่เป็นแหล่งก่อมลพิษจากพลาสติกในมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดของโลก คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย และ มาเลเซีย [1]
"การผลิตและการใช้พลาสติกในภูมิภาคอาเซียน จนเกิดมลพิษในมหาสมุทร เป็นประเด็นที่ไม่สามารถเพิกเฉยได้อีกต่อไป และสถานการณ์ขณะนี้อยู่เหนือระดับการเตือนภัยแล้ว เรากำลังเรียกร้องให้ชาติสมาชิกอาเซียนตระหนักถึงความเร่งด่วน และเราต้องการให้ผู้นำของเราจริงจังในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกด้วยความร่วมมือกันทั้งภูมิภาค เข้มงวดกับความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ และให้การศึกษาสาธารณะอย่างเป็นเรื่องเป็นราว" อาบิเกล อะกิล่า ผู้ประสานงานรณรงค์โครงการปลอดสารพิษ กรีนพีซฟิลิปปินส์กล่าว
ความล้มเหลวของระบบจัดการวัสดุเหลือใช้เหล่านี้ เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้ขยะพลาสติกไปกองอยู่ในมหาสมุทร นอกเหนือจากปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ที่สร้างผลกระทบ มีความเข้าใจไม่เพียงพอถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากพฤติกรรมของเรา ช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล รวมทั้งขาดแหล่งเงินทุน [2]
กรีนพีซยังเรียกร้องให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะภาคสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้พลาสติกเป็นหลัก ผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในการใช้พลาสติกได้มาจาก "ต้นทุนทางธรรมชาติ" ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 7.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี หากคิดเป็นมูลค่าทางการเงิน ต้นทุนทางธรรมชาติของระบบนิเวศทางทะเลจากขยะพลาสติก มีมูลค่า 1.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี การศึกษาครั้งหนึ่งพบว่า มีบริษัทเพียงครึ่งหนึ่ง จาก 100 บริษัทที่ถูกประเมินด้วยข้อมูลเชิงปริมาณในการใช้พลาสติก กล่าวได้ว่า ภาคธุรกิจมีโอกาสมากมายที่จะแสดงความรับผิดชอบในฐานะผู้ก่อมลพิษ และ นำเสนอวิธีการลดปริมาณการใช้พลาสติก โดยเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ [3]
"ถึงเวลาที่อาเซียต้องทำงานและเปิดเผยข้อมูลสำคัญทั้งหมด จากบริษัทต่างๆแห่งใดก็ตามที่ได้ประโยชน์จากการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง บริษัทต่างๆ ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและหาหนทางในการเปลี่ยนผ่านพฤติกรรมของตัวเองไปสู่การเป็นบริษัทที่มีห่วงโซ่อุปทานที่สะอาดมากขึ้น มาตรการเหล่านี้จะเป็นก้าวที่สำคัญในการลดขยะพลาสติกจากต้นทาง" อะกิล่า กล่าวเพิ่มเติม
มหาสมุทรหลายแห่ง เต็มไปด้วยขยะพลาสติก 275 ล้านตัน ปริมาณขยะพลาสติกที่มีอยู่รวมไปสู่มหาสมุทร จากพื้นดินรวมเป็นขยะที่คาดว่าจะเพิ่มขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับภายในปี 2568 ทุกปี ขยะพลาสติกขนาด 8 ล้านเมตริกตัน จะลอยเข้าไปในมหาสมุทร เทียบได้กับถุงช้อปปิ้งห้าใบที่เต็มไปด้วยพลาสติกวางเรียงต่อกันตามชายหาดทั่วโลก [4]
"ปริมาณขยะพลาสติกในมหาสมุทรของเรามาถึงระดับวิกฤตแล้ว อาเซียนต้องแก้ปัญหาร่วมกันเพื่อออกกฎระเบียบและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจ ชุมชน และ ผู้บริโภค ร่วมกันปฏิบัติ" อะกิล่า กล่าว หมายเหตุ:[1] Jambeck, Jenna R., Roland Geyer, Chris Wilcox, Theodore R. Siegler, Miriam Perryman, Anthony Andrady, Ramani Narayan, and Kara Lavender Law. "Plastic Waste Inputs from Land into the Ocean." http://science.sciencemag.org/content/sci/347/6223/768.full.pdf?ijkey=BXtBaPzbQgagE&keytype=ref&siteid=sci[2] โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ "Marine Litter: A Global Challenge (April 2009). ดาวน์โหลดได้ที่:http://www.unep.org/pdf/unep_marine_litter-a_global_challenge.pdf.[3] UNEP (2014) Valuing Plastics: The Business Case for Measuring, Managing and Disclosing Plastic Use in the Consumer Goods Industry. http://plasticdisclosure.org/assets/files/Valuing_Plastic/Valuing_Plastic-Executive_Summary.pdf[4] สภาเศรษฐกิจโลก "The New Plastics Economy – Rethinking the future of plastics". Industry Agenda (2016).http://www3.weforum.org/docs/WEF_The_New_Plastics_Economy.pdf
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit