เทคโนโลยีช่วยผู้ป่วยอัมพาตสื่อสารทางสายตาได้

          ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต) และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ประมาณ 800,000 คน ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากไม่สามารถสื่อสารได้ด้วยการพูดและเขียน เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน ทำให้บางครั้งอาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ หรือช่วยเหลือผู้ป่วยไม่ทันการ
          ดังนั้น ผู้ป่วยอัมพาตหลายรายไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง และไม่อาจบอกความต้องการได้ จึงทำให้มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยมีคุณภาพชีวิตที่ลดต่ำลง และเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองไปอย่างรวดเร็ว การช่วยเหลือเรื่องการสื่อสารจึงสำคัญ
N Health ผู้เชี่ยวชาญในการบริการด้านการสนับสนุนบริการทางการแพทย์และธุรกิจโรงพยาบาล ขอนำเสนอผลิตภัณฑ์ "SenzE" เทคโนโลยีระบบติดตามดวงตา (Eye Controlled System) ที่พัฒนาเพื่อเป็นอุปกรณ์ช่วยสื่อสารทางสายตาสำหรับผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยที่ขยับร่างกายไม่ได้หรือไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยพัฒนาด้วยเทคนิค Open Computer Vision และการประมวลผลภาพ (Image Processing) อุปกรณ์ถูกออกแบบให้รองรับซอฟท์แวร์ภาษาไทย ง่ายต่อการใช้งาน มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
ระบบของ "SenzE" รับการสั่งงานผ่านกล้องความละเอียดสูง (HD Camera) และ Infrared Sensor ตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตา โดยผู้ป่วยใช้การมองค้างในตำแหน่งที่ต้องการ 2 วินาที แทนการออกคำสั่งเสมือนการกด Enter เพื่อเลือกเมนูที่ต้องการจะสื่อสาร และผู้ป่วยยังสามารถพิมพ์ข้อความโดยใช้ดวงตาได้ ทำให้สามารถสื่อสารกับแพทย์ ญาติ และผู้ดูแลได้อย่างถูกต้อง ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังสามารถควบคุมการทำงานผ่านระบบจอสัมผัส (Touch Screen) ได้อีกด้วย
          คุณสมบัติสำคัญที่จะช่วยผู้ป่วยที่ขยับร่างกายไม่ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีอีกหลายด้าน เช่น มีระบบแปลภาษาในทุกเมนูคำสั่งที่เลือกหรือข้อความที่พิมพ์ให้กลับมาเป็นภาษาไทย พร้อมเสียงอ่าน มีระบบดูแล ผ่าน Tablet ทำให้พยาบาลหรือผู้ดูแล สามารถติดตามผู้ป่วยได้แบบ Real Time มีระบบ Live Chat ที่ผู้ป่วยและผู้ดูสามารถสนทนาโต้ตอบได้แบบ Real Time พร้อมระบบแปลภาษาอัตโนมัติ ผ่านชุดคำสั่ง 6 เมนูหลัก คือความรู้สึก ความต้องการ อาหารเครื่องดื่ม คีย์บอร์ดสนทนา ความบันเทิง สามารถรับชมโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ผ่านการใช้งานอินเตอร์เน็ต และกิจกรรม นอกจากนี้ยังมีระบบ Emergency Alert โดยสัญญาณเตือนจะดังที่เครื่องของผู้ป่วยและเครื่องที่พยาบาลหรือผู้ดูแลใช้ Monitor อยู่ เป็นต้น
          ผลิตภัณฑ์ "SenzE" ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยคนไทย โดยได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัย จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผ่านการทดสอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่สถาบันประสาทวิทยา ว่ามีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพต่อผู้ป่วย อีกทั้งยังได้รับการันตีคุณภาพถึง 10 รางวัลจากองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ 
          "SenzE" ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย สามารถใช้ได้ดีทั้งใน รพ. และผู้ป่วยที่พักฟื้นที่บ้าน ติดตั้งง่าย สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02 7624000 หรือ email: [email protected]
เทคโนโลยีช่วยผู้ป่วยอัมพาตสื่อสารทางสายตาได้

ข่าวโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง+โรคหลอดเลือดสมองวันนี้

"แอ็บโซลูท เฮลธ์ กรุ๊ป" (Absolute Health Group) นำทัพทีมแพทย์ผู้มีประสบการณ์จัดสัมมนา "ลดเสี่ยง เลี่ยงมะเร็ง เชิญงานนี้" เอาใจสายรักสุขภาพเต็มสูบ

"แอ็บโซลูท เฮลธ์ กรุ๊ป" (Absolute Health Group) กลุ่มธุรกิจสายสุขภาพระดับไฮเอนด์ ดำเนินธุรกิจมุ่งมั่นดูแลสุขภาพเป็นที่ยอมรับมายาวนานเกือบ 18 ปี โดยดูแลสุขภาพให้กับคนไทยและต่างประเทศ เช่น ลาว พม่า กัมพูชา และจากตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกา ที่มารับบริการรักษาโรคเรื้อรัง อาทิ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และระบบประสาท โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น โดยประกอบไปด้วย 3 กลุ่มธุรกิจ ดังนี้ 1.กลุ่มธุรกิจคลินิก ประกอบด้วย Absolute Health Regenerative Clinic , กายคตา สหคลินิก และศูนย์การ

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือ... เทคโนโลยีช่วยผู้ป่วยอัมพาตสื่อสารทางสายตาได้ — ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต) และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ประมาณ 800,000 คน ซ...

มูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่วมกับสมาคมก... ภาคประชาชนผนึกกำลังสาธารณสุข เร่งยกระดับความสำคัญโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในประเทศไทย — มูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่วมกับสมาคมกุมารประสาทวิทยา (ประเทศไทย) สม...

มูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่วมกับ สมาคม... สร้างความตระหนักรู้โรค SMA รู้เร็ว รักษาเร็ว ลดอัตราการเสียชีวิตในเด็กเล็ก — มูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่วมกับ สมาคมกุมารประสาทวิทยา (ประเทศไทย) สมาคมเว...

Christie's ได้รับเลือกให้เป็นพาร์ทเนอร์ใน... Christie's ได้รับคัดเลือกให้เป็นพาร์ทเนอร์ ในการจัดงานประมูลเพื่อการกุศล Only Watch ครั้งที่ 10 — Christie's ได้รับเลือกให้เป็นพาร์ทเนอร์ในการจัดงานการประ...