ตัวแทนผู้พิการสนับสนุน คำสั่ง ม.44 ให้ผู้พิการที่ได้สิทธิประกันสังคมหลังจากมีงานทำได้กลับไปใช้สิทธิ์บัตรทอง หรือ ท 74 ได้ ชี้เป็นการปลดล็อคคืนสิทธิ์การรักษาที่หายไปให้กับผู้พิการ
นายวันเสาร์ ไชยกุล ผู้จัดการศูนย์ญาณากร แหล่งเรียนรู้คนพิการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการย้ายสิทธิประกันสุขภาพจากบัตรทองผู้พิการ (ท.74 ) ไปยังระบบประกันสังคมจนออกมาเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อให้ผู้พิการได้สิทธิ์ในการรักษาที่มีประสิทธิภาพตามเดิม กล่าวว่า เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำสั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ ที่ให้สิทธิผู้พิการในระบบประกันสังคมสามารถเข้ารับบริการสิทธิบัตรทองตามเดิมได้
"แรกเริ่มเรางงว่า มาตรา 44 ที่ออกมาเหมือนทำให้ยุ่งยากวุ่นวาย เหมือนเป็นคำสั่งจากบนลงล่าง โดยไม่ได้ฟังเสียงผู้พิการ แต่พอมาอ่านดูให้ชัดก็ไมใช่อย่างนั้น มาตรา 44 ที่ออกมาถือเป็นเรื่องดีเพราะตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.ประกันสังคม545 กำหนดให้ บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน และคนพิการไม่ควรถูกปฏิเสธสิทธิ์เดิมที่เคยมีอยู่แล้ว ที่สำคัญเราทราบว่า มีการให้ข้อมูลจากคนที่ทำงานกับผู้พิการโดยตรงถึงปัญหาเรื่องสิทธิ์ที่หายไป จึงมาซึ่งคำสั่งนี้มาตรา 44 ครั้งนี้" นายวันเสาร์ กล่าว
นายวันเสาร์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เมื่อคนพิการไปทำงานบริษัทและได้สิทธิ์การรักษาตามระบบประกันสังคม แต่กลับถูกตัดสิทธิ์ที่สำคัญ คือ ท 74 หรือ บัตรทองคนพิการ ดังนั้น คำสั่ง ม.44 ได้ช่วยปลดล็อคตรงนี้ให้ผู้พิการที่ได้สิทธิ์ประกันสังคมสามารถกลับไปใช้สิทธิ์บัตรทองผู้พิการได้ตามเดิม โดยที่สำนักงานประกันสังคมจะเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้
ผู้จัดการศูนย์ญาณากร แหล่งเรียนรู้คนพิการ กล่าวว่า ก่อนที่จะมีคำสั่งมาตรา 44 นี้ออกมา ได้กำหนดว่า ถ้าผู้พิการคนใดออกจากระบบประกันสังคมจึงจะสามารถกลับไปใช้สิทธิ์บัตรทอง ท.74 ตามเดิมได้ ซึ่งมันทำให้คนพิการไม่สบายใจเพราะรู้สึกว่า บัตรทอง ท 74 ที่เขาได้สิทธิ์มาก่อนหน้านี้ครอบคลุมกับเขามากกว่าระบบประกันสังคม เพราะประกันสังคมไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อคนพิการตั้งแต่แรก แต่เน้นการรักษาแบบฟื้นฟู ไม่ได้เน้นเรื่องการเข้าถึงระบบสุขภาพของผู้พิการ ทั้งนี้ เมื่อมีคำสั่งมาตรา 44 ออกมา ก็ช่วยสร้างกลไกที่ถูกต้องกลับมาช่วยคนพิการได้สิทธิ์ตามเดิม
นายวันเสาร์ กล่าวว่า บัตรทองของผู้พิการหรือ ท. 74 เข้าใจว่า มีทั้งหมด 76 รายการ เช่น การรักษา การฟื้นฟู การฝึกพูด กายภาพ ซึ่งก็คือ การรักษาโรคทั่วไปที่เกี้ยวข้องกับผู้พิการโดยตรง ทั้งนี้ ต้องเข้าใจว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ดูแลสิทธิ์บัตรทองของผู้พิการ ได้ทำการเก็บข้อมูล รับฟังความเห็นของคนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นระยะๆ เรื่องใดควรอยู่หรือไม่ควรอยู่ในสิทธิ์ จึงเป็นเหตุว่า ทำไมช่วงแรกๆ ที่คนพิการที่รู้ว่า ต้องเข้าระบบประกันสังคม จึงไม่อยากเข้าเพราะจะทำให้เขาเสียสิทธิ์บัตรทอง เนื่องจากประกันสังคมไม่ได้ครอบคลุมการรักษาอะไรมาก
นพ.ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมงานเสวนาเชิงนโยบาย "การสร้างความร่วมมือเพื่อสุขภาวะคนข้ามเพศอย่างยั่งยืน" ในการประชุมระดับชาติ : สุขภาวะของคนข้ามเพศ (ข้ามเพศมีสุข) ครั้งที่ 2 พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ทั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรุงเทพมหานคร ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนแวนชั่น กทม. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 โอกาสนี้
ไทยประกันชีวิต จับมือ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ยกระดับคุณภาพชีวิตยุคดิจิทัล เพิ่มช่องทางพบแพทย์ออนไลน์ผ่านแอปฯ MorDee (หมอดี)
—
ไทยประกันชีวิต จับมือ ทรู ดิจิทัล...
Death Fest 2025 งานแฟร์ครั้งแรกในไทย ที่เปิดโอกาสให้ธุรกิจเกี่ยวกับความแก่ เจ็บ และตาย ซึ่งกำลังเติบโตทั่วโลก
—
"Death Fest 2025 : Better Living, Better L...
THREL กางแผนปี 68 ก้าวสู่ Road to Quality ปั้นพอร์ตคุณภาพอัพการเติบโต เปิดผลงานปี 67 เบี้ยรับโตทะลุ 4.5 พันลบ.
—
THREL กางแผนปี 2568 ก้าวสู่ "Road to Qual...
'ปลดล็อก' การเข้าถึงบริการทันตกรรม กรมอนามัยจับมือภาคีเครือข่าย นำทีมหมอฟันลุย 'บ้านราชาวดี'
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักทันตสาธารณสุข ร่วมกับ 8 ...
กรมอนามัย จับมือ กรมพินิจฯ สปสช เร่งหนุนบริการทันตกรรม มอบโอกาสให้เด็กและเยาวชน
—
วันนี้ (6 กุมภาพันธ์ 2568 ) ดร.นายแพทย์ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย น...
ทุนรัฐบาลนิวซีแลนด์เต็มจำนวนป.โท และ ป.เอก ให้นักเรียนไทยเรียนฟรี เปิดรับสมัครแล้ว-28 ก.พ. 2568
—
ข่าวดีสำหรับนักศึกษาและผู้สนใจเรียนต่อประเทศนิวซีแลนด์ ท...