“วันโรคข้อสากล” มารู้เท่าถึงการณ์ ข้อเข่าเสื่อม กันเถอะ

          วันที่ ข้อเข่าเสื่อมวันโรคข้อสากล ตุลาคมของทุกปีเป็นวันโรคข้อสากล โรคข้อนับเป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพของคนทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะแต่ผู้สูงอายุเท่านั้น และหนึ่งในโรคข้อที่สร้างความทุกข์ใจแก่ผู้ป่วยมากที่สุดคือ "โรคข้อเข่าเสื่อม" สำหรับในประเทศไทย พบว่ามีประชากรเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมประมาณ 6 ล้านคน สร้างปัญหาให้ผู้ที่เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเจ็บปวดจากอาการเข่าเสื่อมแล้ว ยังต้องเสียค่ารักษาหลักแสนในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ยิ่งในผู้สูงอายุยิ่งกลัวว่าผ่าตัดแล้วจะเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา และหากไม่รักษาอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ขึ้นได้ อาทิ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไม่สามารถออกกำลังกายได้นั่นเอง
          ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัย Operation BIM (โอเปอเรชั่น บิม) นักวิทยาศาสตร์ไทยคนแรกผู้คิดค้นวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันให้สมดุลจากสารสกัดธรรมชาติ และผู้วิจัยพืชไทยต้านโรคข้อเข่าเสื่อมได้สำเร็จ เปิดเผยว่า โรคข้อเสื่อมเกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อ (Cartilage ประเภท วันโรคข้อสากล) ลดลง ซึ่งตามปกติกระดูกอ่อนผิวข้อจะทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวดูดซับแรงกดภายในข้อ และป้องกันไม่ให้กระดูกที่อยู่ภายใต้กระดูกอ่อนกระแทกกระดูกอีกฝั่ง หากกระดูกอ่อนผิวข้อเหล่านี้ลดลง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม น้ำหนักหรือแรงกดที่กระทำกับข้อ และเอ็นรอบข้อถูกยึด ข้อขัด ข้อฝืด งอเข่าได้ไม่สุดและมีเสียงดังในข้อ เวลาขยับข้อเข่าจากการเสียดสีกันของผิวข้อที่ไม่เรียบ จะส่งผลให้กระดูกใต้กระดูกอ่อนผิวข้อสัมผัสกัน เป็นเหตุให้เกิดอาการปวดข้อเข่า และสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอักเสบและปวดข้อก็มาจากการที่เม็ดเลือดขาวหลั่งสาร TNF alpha, IL-6 และ IL-ข้อเข่าเสื่อม7 ออกมามากเกินไปนั่นเอง
          โรคข้อเข่าเสื่อมโดยทั่วไปจะพบมากในช่วงอายุ 4เปลี่ยนข้อเข่า ปีขึ้นไป กลุ่มเสี่ยงจะอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักมากเกิน มีขาหรือเข่าที่ผิดรูป ผู้ที่ออกกำลังกายที่มีการกระแทกอย่างแรง จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม โดยในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ควรจะลดน้ำหนักลงให้อยู่ในระดับเหมาะสม เลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น การเดินแทนการวิ่ง งดพฤติกรรมที่อันตรายต่อข้อเข่านานๆ อาทิ คุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งยองๆ กับพื้นนานๆ เป็นต้น
          สำหรับการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน รักษาได้โดยการผ่าตัด ซึ่งมีด้วยกันหลายวิธี ได้แก่ การล้างข้อด้วยการใช้การส่องกล้องช่วยล้างน้ำไขข้อที่อักเสบ การผ่าตัดจัดแนวกระดูกขา ใช้ในกรณีขาโก่งผิดรูปเล็กน้อย และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นการผ่าตัดเอาผิวข้อที่สึกออกไปและทดแทนด้วยผิวข้อเทียม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดถึงหลักแสนบาทเลยทีเดียว และยังมีระยะพักฟื้นอีกหลายเดือน
          แต่สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการผ่าตัด ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่เป็นวิธีธรรมชาติ ซึ่งสามารถต้านโรคข้อเข่าเสื่อมได้ โดยคณะนักวิทยาศาสตร์ไทยสามารถสกัดพืชไทย 5 ชนิด ได้แก่ มังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่ง และบัวบก โดย สารสกัดดังกล่าวเมื่อเสริมฤทธิ์กันมีคุณสมบัติในการลดการหลั่งสาร TNF alpha, IL-6 และ IL-ข้อเข่าเสื่อม7 ของเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบ สร้างภาวะภูมิคุ้มกันที่สมดุลให้กับร่างกาย นอกจากนี้ สารสกัดจากธรรมชาติยังสามารถเสริมสร้างคอลลาเจนและกระดูกอ่อนเมื่อมีการใช้งานต่อเนื่องอีกด้วย
          นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่นักวิทยาศาสตร์ไทยสามารถวิจัยเป็นผลสำเร็จ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการดูแลปัญหาข้อเข่าเสื่อม ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตควบคู่ไปด้วย ได้แก่ รับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อควบคุมน้ำหนักตัว ออกกำลังกายชนิดส่งแรงกระแทกข้อเข่าน้อย เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดิน จะช่วยให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้น และห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา
“วันโรคข้อสากล” มารู้เท่าถึงการณ์ ข้อเข่าเสื่อม กันเถอะ
 

“วันโรคข้อสากล” มารู้เท่าถึงการณ์ ข้อเข่าเสื่อม กันเถอะ
“วันโรคข้อสากล” มารู้เท่าถึงการณ์ ข้อเข่าเสื่อม กันเถอะ
“วันโรคข้อสากล” มารู้เท่าถึงการณ์ ข้อเข่าเสื่อม กันเถอะ
 
 

ข่าวเปลี่ยนข้อเข่า+ข้อเข่าเสื่อมวันนี้

"4 ปี ศูนย์รักษ์ข้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า" ขยายสู่ผู้นำความสำเร็จด้านการรักษา ชูเทคโนโลยี "หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด" แม่นยำ ตรงจุด ฟื้นตัวเร็ว

"4 ปี ศูนย์รักษ์ข้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า" ขยายสู่ผู้นำความสำเร็จด้านการรักษา ชูเทคโนโลยี "หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด" แม่นยำ ตรงจุด ฟื้นตัวเร็ว พุ่งเป้าสู่ศูนย์การแพทย์ด้านโรคข้อครบวงจร ปี 66 โรงพยาบาลพระรามเก้า จัดงาน "ครบรอบ 4 ปี ศูนย์รักษ์ข้อ" เปิดการบรรยายความรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม ในหัวข้อ "ข้อใหม่ ชีวิตใหม่" โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง นำโดย รศ.นพ.พฤกษ์ ไชยกิจ หัวหน้าศูนย์รักษ์ข้อ และศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ โชว์เทคโนโลยี "การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

อาการปวดข้อสร้างความทุกข์ทรมาน และเป็นอุป... การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยหุ่นยนต์อัจฉริยะแบบแผลเล็ก Robotic Assisted Total Knee Arthroplasty — อาการปวดข้อสร้างความทุกข์ทรมาน และเป็นอุปสรรคในการด...

ในยุคของ "สังคมผู้สูงวัย" ไม่เพียงแต่จำนว... "ทางเลือกใหม่ของการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วย.. เทคนิคผ่าเปลี่ยนข้อเข่าแบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ" — ในยุคของ "สังคมผู้สูงวัย" ไม่เพียงแต่จำนวนผู้สูงวัยที่มากขึ้นเท...

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสม... โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ รักษาได้ ด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า — ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ ซึ่งจะมีจำนวนสูงถึง 20 % และหนึ่งในโรคย...

เพราะข้อเข่ามีบทบาทสำสำคัญในการเคลื่อนไหว... การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม — เพราะข้อเข่ามีบทบาทสำสำคัญในการเคลื่อนไหวของร่างกาย ดังนั้นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจึงเป็นเรื่องสำคัญของผู้ป่วยด้วย...

ถ้ากล่าวถึงการผ่าเข่าในผู้สูงอายุที่พบบ่อ... การผ่าตัดข้อเข่า - Chersery Home — ถ้ากล่าวถึงการผ่าเข่าในผู้สูงอายุที่พบบ่อยๆ ส่วนใหญ่จะมาจากอาการข้อเข่าเสื่อม จากสถิติของกรมการแพทย์.(2561) พบว่า...