การใช้โทรศัพท์มือถือกับพร้อมเพย์ ไทยพร้อมหรือยัง?

          ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
          กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

          ตั้งแต่วันที่ โทรคมนาคมแห่งชาติ กรกฎาคมที่ผ่านมา หลายท่านที่ใช้งาน online banking หรือ mobile banking หรือแม้แต่ท่านที่กดตู้ ATMอาจจะพบข้อความเชิญชวนของธนาคารให้สมัครพร้อมเพย์ โดยให้ระบุเลขประจำตัวประชาชน โทรคมนาคมแห่งชาติ3 หลัก หรือหมายเลขมือถือ เพื่อผูกกับบัญชีธนาคาร บางท่านก็งุนงงว่ามันคืออะไร บางท่านอาจเคยได้ยินข่าวมาบ้าง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะสมัครดีไหม แล้วจะผูกกับบัญชีอะไรดี ผูกแล้วมันดีหรือไม่ดีอย่างไร

          แต่ที่แน่ๆ การสมัครพร้อมเพย์เป็นเรื่องความสมัครใจ เหมือนกับการออกบัตร ATM เราจะเปิดบัญชีธนาคารโดยไม่สมัคร ATM เลยก็ได้ ดังนั้นถ้ายังไม่รู้จักพร้อมเพย์ ก็ยังไม่ต้องรีบร้อนสมัคร การสมัครบริการทางการเงินอะไรที่เราไม่รู้จักดีพออาจสร้างปัญหาตามมาในอนาคต
          แนวคิดพื้นฐานของพร้อมเพย์ คือ โดยปกติถ้าเราจะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารให้ใคร เราต้องกรอกหรือระบุเลขบัญชีธนาคารของเขาเป็นหลัก ธนาคารจึงจะโอนเงินเข้าได้ถูกบัญชี แต่ในระบบพร้อมเพย์ ถ้าคนที่เราจะโอนเงินให้มีการผูกบัญชีธนาคารที่จะรับโอนเงินกับเลขประจำตัวประชาชนหรือหมายเลขมือถือ เราก็สามารถระบุเลขเหล่านั้นได้เลย โดยไม่ต้องรู้หรือไม่ต้องใช้เลขบัญชีธนาคารของเขา ระบบก็จะโอนเงินได้ถูกบัญชี แต่เดิมระบบนี้จึงถูกเรียกว่า Any ID เพราะแทนที่จะใช้แต่เพียงเลขบัญชีธนาคารเป็น ID ในการรับโอนเงิน เราสามารถใช้เลขประจำตัวประชาชนหรือหมายเลขมือถือเป็น ID ในการรับโอนเงินด้วยก็ได้
          การใช้เลขประจำตัวประชาชนแม้อาจจะจำยาก แต่มีข้อดีคือเป็นเลขที่แต่ละคนมีชุดเดียวตลอดชีวิต ของใครของมัน ไม่มีใครซ้ำ และไม่มีการเปลี่ยนเลขไปๆ มาๆ ดังนั้น ถ้าเราโอนเงินให้ใครที่ผูกเลขประจำตัวประชาชนกับบัญชีธนาคาร การโอนเงินก็จะไม่ผิดตัวแน่ ส่วนข้อดีของหมายเลขมือถือก็คือเป็นเลขที่จดจำง่าย และส่วนใหญ่เรามักจะบันทึกหมายเลขมือถือของใครต่อใครลงในโทรศัพท์เราอยู่แล้ว จึงค้นหาได้ง่าย ถ้าหมายเลขยังไม่ถูกยกเลิกบริการและยังไม่เปลี่ยนมือ การโอนเงินก็จะไม่ผิดตัวเช่นกัน
          การลงทะเบียนพร้อมเพย์จึงเป็นประโยชน์สำหรับการรับโอนเป็นหลัก โดยคนโอนเพียงแต่ไปที่ตู้ ATM หรือโอนผ่านมือถือ ถ้าปลายทางลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้ ก็โอนไปที่เลขประจำตัวหรือเลขมือถือนั้นได้เลย โดยที่ฝ่ายผู้โอนไม่ต้องสมัครพร้อมเพย์ก็ได้ ดังนั้น ถ้าเราไม่ต้องรับโอนเงินจากใคร ก็ไม่จำเป็นต้องสมัครพร้อมเพย์เลย
          ทั้งนี้ ในอนาคต รัฐจะโอนเงินสวัสดิการหรือเงินต่างๆ ให้กับประชาชน โดยเข้าบัญชีธนาคาร ผ่านเลขประจำตัวประชาชน โทรคมนาคมแห่งชาติ3 หลัก รวมถึงเงินคืนภาษี ดังนั้น หากใครที่ต้องรับเงินจากรัฐก็ต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ โดยใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นหลัก จะไม่มีมือถือหรือไม่เคยใช้มือถือเลยก็ลงทะเบียนได้ และจะใช้พร้อมเพย์ของธนาคารใดก็ได้ แล้วแต่สะดวก แล้วแต่ความชอบความเชื่อมั่น ไม่จำเป็นต้องเป็นธนาคารของรัฐเท่านั้น
          ส่วนใครที่ประกอบธุรกิจและมักจะให้ลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของตน การลงทะเบียนพร้อมเพย์โดยใช้หมายเลขมือถือจะทำให้ลูกค้าจดจำง่าย ไม่จำเป็นต้องผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเลยก็ได้ เพราะจำยาก และหลายคนกังวลว่าเลขประจำตัวประชาชนเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่อยากเปิดเผย ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยแต่อย่างใด
          แนวคิดเรื่องพร้อมเพย์จึงดูเหมือนจะดี และเหมาะกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิตัลของทางรัฐบาล แต่หลายคนก็ยังกังวลเรื่องความเสี่ยงหรือความไม่ปลอดภัยของระบบ เลยยังลังเลว่าจะสมัครดีหรือไม่
จะเห็นได้ว่าระบบพร้อมเพย์เป็นเพียงกลไกที่ใช้เลขประจำตัวประชาชนหรือเลขมือถือมาแทนเลขบัญชีธนาคารเท่านั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยยืนยันว่า ระบบพร้อมเพย์ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการแฮ็คผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ก็ยังมีคำถามว่า ปัญหาการถูกแฮ็คบัญชี ถูกหลอกให้โอนเงินจะดีขึ้นหรือแย่ลงในยุคพร้อมเพย์ ก็ต้องสรุปว่าจุดมุ่งหมายหลักของพร้อมเพย์คือการรับโอนเงินเข้าบัญชี ไม่เกี่ยวอะไรกับการแฮ็คบัญชีเพื่อนำเงินออก และไม่เกี่ยวกับการหลอกให้โอนเงินด้วยวิธีการต่างๆ ดังนั้นปัญหาเหล่านั้นก็จะยังอยู่ของมันตามเรื่องตามราว
          ปัญหาความเสี่ยงหรือความไม่ปลอดภัยของผู้ใช้งานมือถือในการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่ได้อยู่ที่ระบบพร้อมเพย์ แต่อยู่ที่ระบบรักษาความปลอดภัยของ ATM, online banking หรือ mobile banking ของแต่ละธนาคาร และปัญหาใหญ่อีกจุดหนึ่งก็คือตัวเรา ซึ่งเป็นผู้ใช้งาน ตลอดจนตัวเครื่องมือถือของเราที่เป็นจุดเปราะบางในการแฮ็ค
ดังนั้นข้อพึงสังวรณ์เกี่ยวกับพร้อมเพย์สำหรับผู้ใช้งานมือถือ ก็คือ
          ๑. ถ้าเราไม่ต้องรับโอนเงินจากใคร เราไม่ต้องสมัครพร้อมเพย์เลยก็ได้ เพราะเราก็ยังโอนเงินไปยังคนที่สมัครพร้อมเพย์ได้ แต่การโอนเงินทุกครั้งเมื่อเรากรอกหมายเลขประจำตัวหรือหมายเลขมือถือของผู้รับโอนแล้ว จะปรากฏชื่อเจ้าของบัญชีผู้รับโอน ให้เราตรวจสอบว่าตรงกับบุคคลที่เราจะโอนเงินให้หรือไม่ด้วย
          ๒. คนไม่มีมือถือก็สมัครพร้อมเพย์ได้ โดยเลือกผูกกับเลขประจำตัวประชาชนอย่างเดียว ในทางกลับกัน คนที่มีมือถือ จะผูกเฉพาะหมายเลขมือถือ โดยไม่ใช้เลขประจำตัวประชาชนผูกก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีการรับโอนเงินจากรัฐ รัฐจะโอนโดยใช้เลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น ไม่ใช่หมายเลขมือถือ
          ๓. แม้ว่าผู้รับโอนอาจจะมีบัญชีธนาคารหลายบัญชี แต่เนื่องจากการโอนเงินแต่ละครั้งจะเข้าไปยังบัญชีใดบัญชีหนึ่งเท่านั้น เลขประจำตัวประชาชนจึงใช้แทนเลขบัญชีธนาคารได้บัญชีเดียว เช่นกันเลขมือถือ ๑ เลขหมายก็ใช้แทนเลขบัญชีธนาคารได้บัญชีเดียว เราจะนำแต่ละเลขหมายไปผูกกับหลายบัญชีพร้อมกันไม่ได้ แต่เราสามารถยกเลิกการผูกบัญชีพร้อมเพย์ หรือสามารถเปลี่ยนบัญชีธนาคารที่จะผูกกับระบบพร้อมเพย์ได้
          ๔. ในทางกลับกัน คนที่มีเลขมือถือหลายเบอร์ แต่มีบัญชีธนาคารบัญชีเดียว จะผูกมือถือหลายเบอร์กับบัญชีธนาคารบัญชีเดียวก็ได้ เพื่อให้การโอนทุกครั้ง ไม่ว่าผ่านหมายเลขมือถือใด เงินก็จะเข้ามาที่บัญชีเดียว
          ๕. เราแต่ละคนจึงสามารถมีบัญชีพร้อมเพย์ได้หลายบัญชี ตัวอย่างเช่น บัญชีแรกผูกกับเลขประจำตัวประชาชน บัญชีที่สองผูกกับหมายเลขมือถือเครื่องแรก บัญชีที่สามผูกกับหมายเลขมือถือเครื่องที่สอง แต่ถ้าเป็นเงินที่รัฐโอนให้ จะโอนเข้าบัญชีแรกเท่านั้น
          ๖. ส่วนใหญ่การแฮ็คบัญชีธุรกรรมออนไลน์ อาจเกิดจากการที่เราหลงเข้าไปในเว็บปลอมที่หลอกให้เรากรอกชื่อผู้ใช้พร้อมรหัสผ่าน หรืออาจเกิดจากการติดมัลแวร์ ทำให้มีโปรแกรมลับแอบส่งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านให้มิจฉาชีพโดยที่เราไม่รู้ตัว ทุกครั้งก่อนกรอกข้อมูลในเว็บไซต์ ผู้ใช้งานมือถือจึงควรตรวจสอบว่าเป็นเว็บไซต์ธนาคารจริงๆ และไม่ควรติดตั้งโปรแกรมหรือแอพใดๆ โดยไม่ระมัดระวัง และไม่กดลิงค์แปลกๆ ที่มีคนส่งให้ทางอีเมลหรือทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ เพราะอาจมีมัลแวร์แฝงมาฝังตัวในอุปกรณ์ของเรา และหากเป็นไปได้ควรตรวจหามัลแวร์หรือไวรัสที่แอบฝังตัวในอุปกรณ์ของเราอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ อย่าเชื่อข้อความใดๆ ไม่ว่าจากใครก็ตามที่ขอให้เราเปิดเผยหรือส่งชื่อผู้ใช้งานพร้อมรหัสผ่านให้เขา คิดง่ายๆ ไม่เคยมีธนาคารใดขอให้เราบอกรหัส ATM ให้เขารู้ ถ้าบัตรมีปัญหาก็ขอออกบัตร ATM ใหม่เท่านั้น โดยไม่ต้องมีการเปิดเผยรหัสเก่าให้รู้แต่อย่างใด
          ๗. นอกจากนี้ มิจฉาชีพอาจใช้วิธีการดูดรหัสพร้อมชื่อบัญชีออนไลน์ผ่านระบบ Wi-Fi ที่เขาเปิดล่อให้คนไปใช้งาน โดยอาจทำเป็น Wi-Fi ฟรี หรืออาจตั้งชื่อให้เหมือนกับ Wi-Fi ของค่ายมือถือที่เราใช้บริการ ทำให้เราหลงไปใช้งานและถูกดูดข้อมูลส่วนบุคคล ในการทำธุรกรรมออนไลน์จึงควรทำผ่านสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่ว่าจะเป็นระบบสามจีหรือสี่จีก็ตาม แต่หากจะใช้Wi-Fi ก็ต้องมั่นใจก่อนว่าเป็น Wi-Fi ที่เชื่อถือได้เท่านั้น เช่นของที่บ้านหรือที่ทำงานที่เราไว้ใจ หรือตรวจสอบว่า Wi-Fi ฟรีที่จะใช้งานมีระบบการเข้ารหัสเพื่อปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลมิให้ถูกแอบดูดไปได้
          ๘. สำหรับผู้สมัครพร้อมเพย์ เราต้องเข้าใจว่า เมื่อใครจะโอนเงินให้เราผ่านระบบพร้อมเพย์ หลังเขากรอกเลขประจำตัวประชาชนหรือหมายเลขมือถือที่เราผูกไว้กับบัญชีธนาคารเข้าระบบ จะปรากฏชื่อตัวเราเป็นเจ้าของบัญชีผู้รับโอน ชื่อและเลขหมายของเราจึงไม่เป็นความลับแต่อย่างใด หากเราจะเปิดบัญชีธุรกรรมออนไลน์จึงไม่ควรตั้งรหัสผ่านใดๆ โดยใช้เลขมือถือหรือเลขประจำตัวดังกล่าว หรือแม้แต่เลขที่บ้านหรือวันเดือนปีเกิด เพราะมิจฉาชีพอาจไปค้นข้อมูลเหล่านี้มา และใช้วิธีเดารหัสผ่านจากกลุ่มเลขดังกล่าว เพื่อแฮ็คบัญชีออนไลน์ของเราได้ และคำแนะนำมาตรฐานสำหรับทุกคนคือเราควรเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนใครก็ตามที่ไม่อยากเปิดเผยเลขหมายมือถือหรือเลขประจำตัวประชาชนก็ไม่ควรนำเลขที่ต้องการปกปิดนั้นไปผูกกับพร้อมเพย์
          ๙. ในอนาคต มือถือและเลขหมายมือถือจะกลายมาเป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือเป็นเสมือนหนึ่งเคาน์เตอร์ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ เราจึงควรดูแลรักษาอุปกรณ์มือถือและหมายเลขมือถือให้ดี ในปัจจุบันร้านค้าบางร้านมีอุปกรณ์รับชำระเงินโดยเพียงแต่ลูกค้านำเครื่องมือถือมาแตะหรือเพียงแต่ยื่นอุปกรณ์มือถือเข้าใกล้ เครื่องหักเงินก็หักเงินจากบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที เหมือนเวลาผู้โดยสารรถไฟฟ้านำบัตรรถไฟฟ้าไปแตะทางเข้าสถานี หรือลูกค้าร้านสะดวกซื้อนำบัตรสมาชิกไปแตะที่เครื่องหักเงินตรงหน้าแคชเชียร์ แต่ในอนาคตเราไม่จำเป็นต้องใช้บัตร แต่ใช้เครื่องมือถือที่ผูกกับบัญชีหรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์แทนบัตรได้เลย เราจึงไม่ควรให้ใครยืมมือถือเราไปใช้งาน และเราควรตั้งรหัสเปิดปิดหรือรหัสเปิดหน้าจอมือถือ เพื่อป้องกันมิให้ใครแอบมาใช้งานมือถือโดยที่เราไม่ยินยอม นอกจากนี้ สำหรับผู้ใช้งานมือถือแบบเติมเงิน ซึ่งมักจะมีการจำกัดวันใช้งาน หากเราปล่อยให้วันหมดและไม่เพิ่มวันใช้งาน โดยปกติประมาณสองสัปดาห์ ค่ายมือถือจะยกเลิกบริการและยึดเบอร์มือถือคืนไป ผู้ใช้งานมือถือทุกคนจึงควรลงทะเบียนหมายเลขมือถือและเก็บหลักฐานไว้ไม่ให้ใครมาขโมยหมายเลขเราได้ และควรดูแลวันใช้งานไม่ให้หมดอายุ ส่วนในกรณีที่ต้องการเลิกใช้เบอร์นั้นจริงๆ ก็ไปยกเลิกการผูกหมายเลขมือถือกับพร้อมเพย์ได้
ทั้งหมดนี้ เป็นข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือทุกคนตรวจสอบดูว่า เราพร้อมหรือไม่พร้อมในการสมัครพร้อมเพย์






ข่าวประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา+โทรคมนาคมแห่งชาติวันนี้

5G กวนจานดำ กสทช. แนะตัดสินใจให้ดีก่อนเปลี่ยนหัวรับสัญญาณดาวเทียม

รายงานข่าวจาก กสทช. ระบุว่า ในช่วงนี้มีการร้องเรียนเรื่องการตั้งเสาสัญญาณ 5G รบกวนจานดำ จนทำให้ดูโทรทัศน์ดาวเทียมตามปกติไม่ได้ ล่าสุดมีผู้ที่พักอาศัยแถวสุขุมวิทร้องเรียนมาที่ กสทช. โดยแจ้งว่าช่างติดตั้งจานดาวเทียมได้ไปดูแล้วยืนยันว่าเป็นการรบกวนจากเสาสัญญาณ 5G ที่เพิ่งติดตั้งใหม่ในบริเวณนั้น และช่างยังบอกด้วยว่าพบปัญหานี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ เปิดเผยว่า จากการสอบถามสำนักงาน กสทช. ได้ข้อมูลว่า ในต่างจังหวัดก็เริ่มมีการร้อง

คำถามสำคัญในการจัดสรรคลื่น 700 MHz

ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ การผลักดันมาตรการเพื่อช่วยเหลือทีวีดิจิทัล โดยการนำคลื่น 700 MHz ไปจัดสรรให้กับค่ายมือถือพร้อมเงื่อนไขให้ผ่อนค่าคลื่น 900 MHz โดยไม่คิดดอกเบี้ยเลยนั้น อาจดูราบรื่นเพราะใช้อำนาจตามมาตรา 44 ...

กับดัก 5G และบทเรียนของทีวีดิจิทัล ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ

เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ธุรกิจทีวีดิจิทัลโดยรวมไม่ประสบความสำเร็จ และความนิยมดูรายการผ่านจอทีวีลดลงมาก อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีออนไลน์ที่ช่วยให้เราสามารถดูรายการผ่านหน้าจอมือถือ, แท็บเล็ต หรือ...

ชม 5G สุดล้ำของโลก: มร. เอเบล เติ้ง รองกร... ภาพข่าว: กสทช. ร่วมชมนวัตกรรมเทคโนโลยี 5G สุดล้ำ ในงานหัวเว่ย โมบาย ไทยแลนด์ คองเกรส 2019 — ชม 5G สุดล้ำของโลก: มร. เอเบล เติ้ง รองกรรมการผู้จัดการ (ที่ 2...

7 ปี กสทช. จุดเปลี่ยนการจัดสรรคลื่นความถี่และการสิ้นสุดยุคสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่

ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ในที่สุดกลุ่มบริษัทดีแทคก็ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ถือเป็นเอกชนรายสุดท้ายที่สิ้นสุดสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ แล้ว...

เปิดมติเสียงข้างน้อย กสทช. ทำไมควรเยียวยาให้ดีแทค

จากกรณีที่ประชุม กสทช. เมื่อวันที่ 12 กันยายน ที่ผ่านมา มีมติด้วยเสียงข้างมาก 4 ต่อ 2 ไม่ให้ดีแทคเข้าสู่มาตรการเยียวยาลูกค้าที่ใช้บริการบนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ หลังสัมปทานสิ้นสุด โดยทางเลขาธิการ กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ได้...

วสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่... ภาพข่าว: สุขภาพในสื่อสังคมออนไลน์ — วสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธานเปิดงานเสวนา เพื่อพัฒนาโมเ...

ทำไมไม่มีใครประมูลคลื่น 900 MHz

(ความเห็นนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ) เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การประมูลคลื่นความถี่ในเดือนสิงหาคมนี้ มีผู้ยื่นคำขอเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz สองราย และไม่มีผู้สนใจประมูลคลื่น 900 MHz แม้แต่รายเดียว แม้ว่าจะ...

ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศากรรมการกิจการกระจายเ... ฟังเรื่อง “โลกยุค 5G” จากยักษ์โทรคมนาคมญี่ปุ่น — ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สมาคม...

นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสท... ภาพข่าว: กิจกรรมเสวนา “จับตาประมูลคลื่นความถี่ไทยจะเป็นอย่างไรปีหน้า” — นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช., อาจารย์สืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยด้า...