“พช.เดินหน้าขับเคลื่อนประชารัฐ”

05 Aug 2016
สถาบันการพัฒนาชุมชน ภายใต้สังกัดกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อนประชารัฐ ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ มีหัวหน้ากลุ่มงานจากจังหวัด แพร่ น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน พะเยา เชียงราย ตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ และ อุทัยธานี รวม 17 จังหวัด รวมถึงบุคลากรระดับบริหารจำนวน 51 คนเข้าร่วม นอกจากเวทีเสวนาที่จะได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางประชารัฐอย่างถูกต้องแล้ว ยังได้รับทราบทิศทางการทำงานภายใต้การกำหนดโดย "นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์" อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นอกจากภาคเหนือแล้วโครงการนี้จะลงไปทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อผลักดันแผนประชารัฐ และนโยบายพัฒนาประเทศภายใต้ชื่อ "Thailand4.0" ที่มุ่งพัฒนาเพิ่มศักยภาพในทุกๆด้านภายใต้ความรู้เดิมหรือภูมิปัญญาของชาติ นำไปสู่นวัตกรรม และการสืบทอดสู่คนรุ่นใหม่
“พช.เดินหน้าขับเคลื่อนประชารัฐ”

นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ประเทศกำลังอยู่ในช่วงปฏิรูปครั้งใหญ่ ทั้งการเมือง และเศรษฐกิจโดยมองเรื่องของการใช้ภูมิปัญญาตนเองและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

งานสัมมนาครั้งนี้ได้ยกเอาการผลิตสุรากลั่นชุมชนในหลายแห่งขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา โดยสรุป หมู่บ้านสุรากลั่นชุมชนจังหวัดแพร่ เติบโตมาจากการสนับสนุนของ พช. มีการวางแผนที่ดีจากการใช้ภูมิปัญญาดั่งเดิมผสมกับนวัตกรรม รวมถึงแผนการตลาดแบบมืออาชีพ และควรส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เข้ามาสานงานต่อ เชื่อว่าในอนาคตค้าจาก "ชุมชนสะเอียบ" จ.แพร่ มีโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาขึ้นมาจนเป็นที่ต้องการของตลาด และพัฒนาไปสู่ระดับประเทศและส่งออก

อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวด้วยว่า การพัฒนาให้ประเทศไทยเข้าสู่การเป็น "Thailand 4.0" ซึ่งรัฐบาลต้องการให้เห็นรูปธรรมภายใน 2 ปี เพราะรัฐบาลจะอยู่ในวาระอีกไม่เกินปี 2560 ถ้ากลไกการขับเคลื่อนเกิดความเข้าใจ

เดิมทีโครงการโอทอปสามารถทำรายได้ถึงปีละ109,000 ล้านบาท เฉพาะครึ่งปีที่ผ่านมานี้โอทอปทำได้ไปแล้ว 70,000 ล้านบาท ฉะนั้นถ้าสถานการณ์คงที่จะมีรายได้ปีนี้น่าจะอยู่ที่ 120,000 ล้านบาท และถ้าทำการผลักดันภายใต้เงื่อนไขประชารัฐ "ทำน้อยได้เงินมาก" คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่นวัตกรรม เชื่อว่า รายได้จะเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าพอใจ ซึ่งถ้ามุ่งไปที่การพัฒนาสินค้าท้องถิ่นของชาวบ้าน ก็จะมีโอกาสได้ขึ้นไปจำหน่ายบนเครื่องบิน ซึ่งบริษัทการบินไทยได้ทำความร่วมมือกับกรมการพัฒนาชุมชนอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบผลิตภัณฑ์ในสินค้า 500 ชนิดให้เหมาะสมเท่านั้น

เรามักสนใจแต่สินค้าที่ผ่านประกวดได้มาตรฐานซึ่งมีอยู่เพียง 10,000 กิจการเท่านั้น แต่ละเลยสินค้าอีก 70,000 กิจการไปอย่างน่าเสียดาย ทางกรมการพัฒนาชุมชนจึงแบ่งสินค้าออกเป็นเกรด 4 ระดับคือ A,B,Cและ D ซึ่งเกรด A คือผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง เกรด B คืองานฝีมือคุณภาพสูงมีจำนวนจำกัด เกรด C คือสินค้าที่สามารถขายในประเทศได้ ส่วนเกรด D คือสินค้าที่จะเข้าไปพัฒนาปรับปรุงให้กลับเข้ามาสู่กลไกลการตลาดได้ซึ่งนอกจากรายได้ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังจะมีการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งจะเป็นตัวเพิ่มเม็ดเงินเข้ามาในระบบอีกด้วย

ดร.อัจฉราวรรณ มณีขัติย์ ผู้อำนวยการสถาบันการพัฒนาชุมชน กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้จะเป็นการให้ความรู้จากสถาบันถึงงานนโยบายประชารัฐของรัฐบาล จึงเป็นเป้าหมายสำคัญของท่านอธิบดีที่จะผลักดันให้เกิดความรู้ความเข้าในในนโยบายประชารัฐ ในเจ้าหน้าทุกระดับชั้นก่อนลงไปปฏิบัติงาน

ดังนั้นโครงการนี้จะให้บรรลุไปได้จึงเน้นเอาหัวหน้ากลุ่มงานระดับจังหวัดทั้ง 3 กลุ่มงานใน 76 จังหวัดจังหวัดละ 3 คนเข้ามาเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเพื่อนำกลับไปถ่ายทอดสื่อสารกับประชาชนได้อย่างมั่นใจและต้องทำงานกับบริษัทประชารัฐจำกัดที่ตั้งขึ้นทุกจังหวัด

ซึ่งเรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนที่จะเข้าไปในชุมชน เพื่อสร้างนโยบายให้มีชีวิตขึ้นมา นับเป็นก้าวย่างที่สำคัญของกรมการพัฒนาชุมชนที่จะแปรนโยบายเป็นความสำเร็จ สร้างความสุขให้ประชาชนได้ต่อไป

HTML::image( HTML::image( HTML::image(