'MPPM นิด้า' ส่องเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/59 ซึม แนะรัฐเร่งขับเคลื่อนผ่านการลงทุนขนาดใหญ่ช่วยพยุงเศรษฐกิจ

          ผู้อำนวยการหลักสูตร MPPM นิด้า ประเมินเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ส่งเค้าชะลอตัวชัดเจน หลังตัวเลขส่งออก อัตราเงินเฟ้อ การลงทุนภาคเอกชนและดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมไทยและความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวลดลงตามไปด้วย ผลักเศรษฐกิจไทยเข้าข่ายภาวะเงินฝืด ชี้นโยบายการเงินไม่ช่วย แนะภาครัฐเร่งขับเคลื่อนผ่านการลงทุนขนาดใหญ่
          รศ.ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโทการจัดการภาครัฐและเอกชน (MPPM)สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า จากการประเมินตัวเลขเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ส่งสัญญาณไม่ดีนัก สะท้อนได้จากระดับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลงลดติดต่อกันนานกว่า 6 เดือน จากระดับเงินเฟ้อพื้นฐานที่ปรับตัวลดลงจาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.96 ในเดือนกันยายนปีก่อน มาอยู่ที่ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.68% ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2559 และระดับเงินเฟ้อทั่วไปในปัจจุบันอยู่ที่ -สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.5% ผันผวนติดลบติดต่อกันเป็นเวลานานถึง 14 เดือนนับตั้งแต่ต้นปี 2558 ขณะเดียวกัน ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือนกุมภาพันธ์ก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน มาอยู่ที่ระดับ 63.5 ซึ่งเป็นการปรับลดลงติดต่อกันตั้งแต่เดือนธันวาคมปีก่อน
          ทั้งนี้ จากข้อมูลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า ภาคครัวเรือนมีความกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจในภาพรวม และปัญหาระดับหนี้ภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูงและยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงทำให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยในภาคครัวเรือนซบเซา เกิดการชะลอตัวในอุปสงค์ภายในประเทศ บ่งชี้ได้ว่าภาวะเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้ 
          "ความกังวลด้านการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ทำให้สัญญาณการลงทุนของภาคเอกชนชะลอตัวลงตามไปด้วย รวมถึงดังชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยก็ลดลงอยู่ที่ระดับ 86.3 จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เติบโตต่ำกว่าเป้าหมาย ทำให้ภาคการส่งออกของไทยมีปัญหาตามไปด้วย จึงสะท้อนให้เห็นถึงบรรยากาศการลงทุนที่ซบเซา จึงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปีนี้จะชะลอตัวลงอย่างชัดเจน" รศ.ดร.มนตรี กล่าว
          ผู้อำนวยการหลักสูตร MPPM กล่าวว่า จากภาวะดังกล่าว การใช้นโยบายการเงินจึงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดังนั้น ภาครัฐควรเร่งใช้นโยบายการคลังผ่านการลงทุนของภาครัฐโดยการเพิ่มอัตราการเร่งการใช้จ่ายเงินให้เร็วขึ้นผ่านงบประมาณแผ่นดิน 2.72 ล้านล้านบาท รายจ่ายลงทุนประมาณ 5.43 แสนล้านบาทและงบรัฐวิสาหกิจ 1.44 แสนล้านบาท จากปัจจุบันที่มีการเบิกจ่ายไปเพียง 3สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.87% เท่านั้น จึงยังเหลืองบประมาณที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายอีกมากที่ภาครัฐต้องเร่งรัดการเบิกจ่าย รวมถึงงบคงค้างของปี 2558 อีก 1.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์6 แสนล้านบาท เพื่อพยุงเศรษฐกิจในปัจจุบันให้ดีขึ้น
          นอกจากนี้ ภาครัฐต้องเร่งเบิกจ่ายเงินลงทุนผ่านโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศด้วยงบประมาณ 3 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะงบลงทุนโครงการตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมระยะเร่งด่วนจำนวน 2สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์โครงการในปี 2559 ที่มีงบประมาณกว่า 1.79 ล้านบาทไปพร้อมกัน ซึ่งรัฐบาลมีศักยภาพและความพร้อมในการระดมทุนจากแหล่งเงินทุนได้ในหลายรูปแบบ ตั้งแต่การระดมทุนผ่านงบประมาณแผ่นดิน การใช้รายได้จากรัฐวิสาหกิจเจ้าของโครงการหรือการกู้เงินที่ปัจจุบันระดับหนี้สาธารณะของไทยอยู่ที่ 44.6% ของจีดีพี ซึ่งยังต่ำกว่าระดับความมั่นคงทางการคลังอยู่มาก ตลอดจนรัฐบาลยังสามารถดำเนินการร่วมทุนกับภาคเอกชน (PPPs) และระดมทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐานในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้อีกช่องทางหนึ่ง
          "จากภาวะเศรษฐกิจไทยเช่นนี้ การใช้นโยบายการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้นจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงเห็นว่าควรคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 1.5สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ต่อไป และหันมาเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ งบลงทุน งบคงค้างของภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุนและเรียกความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นเพื่อพยุงเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกให้ดูดีขึ้น" รศ.ดร.มนตรี กล่าว
'MPPM นิด้า' ส่องเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/59 ซึม แนะรัฐเร่งขับเคลื่อนผ่านการลงทุนขนาดใหญ่ช่วยพยุงเศรษฐกิจ
 

ข่าวสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์+สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตวันนี้

เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล ผนึก NIDA เปิดการอบรมหลักสูตร "ผู้บริหารระดับสูงด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม"

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตร"ผู้บริหารระดับสูงด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม" หรือ NIDA Bio Circular Green Economy Executive Program (NIDA BCG) จัดโดย เวฟ บีซีจี (Wave BCG) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โดยมีนายถิรพงศ์ คำเรืองฤทธิ์ (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล หรือ (WAVE) และรศ. ดร.ดนุวัศ สาคริก (ซ้าย) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์

นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ... บางจากฯ แบ่งปันแนวคิดการจัดการงานสื่อสาร แนวคิดการบริหารธุรกิจอย่างมีสมดุล เพื่อความยั่งยืน — นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยื...

โบลท์ ร่วมฉลองวันปลอดรถโลก พร้อมการเติบโต... โบลท์ (Bolt) เผยสถิติ คนไทยมีแนวโน้มหันมาเลือกการเดินทางแบบปลอดมลพิษมากขึ้น — โบลท์ ร่วมฉลองวันปลอดรถโลก พร้อมการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของหมวดรถยนต์ไฟฟ้า (...

บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL ผู... PHOL เปิดบ้านต้อนรับนักศึกษาปริญญาตรีควบโท วิศวกรรมการเงิน KMITL-NIDA เยี่ยมชมบริษัท — บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL ผู้ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายสิน...