1. รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2558
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 30 กันยายน 2558 มีจำนวน 5,783,323.19 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.99 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 46,679.11 ล้านบาท
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
v หนี้ของรัฐบาล มียอดหนี้คงค้างเพิ่มขึ้น 46,507.65 ล้านบาท ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
1. การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 15,637.53 ล้านบาท
2. การออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 10,115 ล้านบาท เพื่อทดแทนจำนวนตั๋วเงินคลังที่ประมูลได้ไม่ครบ
3. การเพิ่มขึ้นของตั๋วเงินคลังสุทธิ จำนวน 20,385 ล้านบาท และการปรับโครงสร้างเงินกู้ระยะสั้นไปเป็นพันธบัตร จำนวน 20,000 ล้านบาท ทำให้หนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้น 385 ล้านบาท
1. การกู้เงินเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อ จำนวน 3,131.34 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น (1) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 1,736.01 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีน้ำเงิน และสายสีเขียว (2) การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 1,002.44 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และ 358.04 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง และ (3) กรมทางหลวง จำนวน 34.85 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2)
2. การกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ จำนวน 10,289 ล้านบาท
v หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน มียอดหนี้คงค้างเพิ่มขึ้น 13,541.02 ล้านบาท
โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
v หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มียอดหนี้คงค้างลดลง 8,879.99 ล้านบาท โดยมีรายการที่สำคัญ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรชำระหนี้เงินต้นที่กู้มาเพื่อดำเนินโครงการรับจำนำข้าว โดยใช้เงินจากการระบายข้าว จำนวน 6,774.49 ล้านบาท และชำระหนี้เงินต้นที่กู้มาเพื่อปรับโครงสร้างเงินทุนและรองรับภารกิจใหม่ จำนวน 1,000 ล้านบาท และธนาคารอาคารสงเคราะห์ไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด จำนวน 1,000 ล้านบาท
v หน่วยงานของรัฐ มียอดหนี้คงค้างลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 4,489.57 ล้านบาท
โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 4,516.06 ล้านบาท
หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2558 เท่ากับ 5,783,323.19 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ในประเทศ 5,423,040.12 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.77 และหนี้ต่างประเทศ 360,283.07 ล้านบาท (ประมาณ 10,173 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือเท่ากับร้อยละ 6.23 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และหากเปรียบเทียบกับเงินสำรองระหว่างประเทศ จำนวน 155,533.43 ล้านเหรียญสหรัฐ (ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2558) หนี้ต่างประเทศ จะคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 6.54 ของเงินสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพและความมั่นคงในด้านการเงินของประเทศ
โดยหนี้สาธารณะแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,576,038.80 ล้านบาท หรือร้อยละ 96.42 และมีหนี้ระยะสั้น 207,284.39 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.58 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
2. รายงานผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ประจำเดือนกันยายน 2558สบน. มีการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ วงเงินรวม 122,115.18 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ของรัฐบาล จำนวน 85,543.61 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 36,571.57 ล้านบาท
v การบริหารจัดการหนี้ของรัฐบาล วงเงิน 85,543.61 ล้านบาท ประกอบด้วย
1. การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 15,637.53 ล้านบาท
2. การออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อทดแทนจำนวนตั๋วเงินคลังที่ประมูลได้ไม่ครบ จำนวน 10,115 ล้านบาท
3. การเบิกจ่ายเงินกู้ให้กู้ต่อ จำนวน 2,094.05 ล้านบาท
4. การเบิกจ่ายเงินกู้บาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ จำนวน 10,289 ล้านบาท
1. การเบิกจ่ายเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) จำนวน 1,002.44 ล้านบาท เพื่อให้กู้ต่อแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต
2. การเบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย จำนวน 34.85 ล้านบาท ของกรมทางหลวงสำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2)
1. การปรับโครงสร้างหนี้ R-bill โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ จำนวน 10,000 ล้านบาท
2. การปรับโครงสร้างหนี้สัญญาเงินกู้ระยะสั้น โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ จำนวน 10,000 ล้านบาท
1. การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 10,163.88 ล้านบาท แบ่งเป็น
(1) การชำระหนี้ที่อยู่ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 จำนวน 1,409 ล้านบาท
(2) การชำระหนี้ต่างประเทศ จำนวน 7.66 ล้านบาท
และ (3) การชำระหนี้เงินกู้ที่รัฐบาลให้กู้ต่อแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 3.24 ล้านบาท
2. การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 16,206.86 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ แบ่งเป็น
v การบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 36,571.57 ล้านบาท ประกอบด้วย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit