มูลนิธิสยามกัมมาจล และองค์กรภาคีเครือข่ายที่ดำเนินการขับเคลื่อนการปฎิรูปการศึกษาและพัฒนาครู จำนวน 22 ภาคี* รวมกันเป็น "ภาคีพูนพลังครู" เพื่อร่วมกันจัด "เวทีพูนพลังครู" ขึ้น เพื่อให้เป็น "พื้นที่การเรียนรู้" (Learning Space) ซึ่งเป็นพื้นที่กลางในการร่วมจัดการความรู้ เพื่อนำความรู้และทักษะ (ในการจัดการเรียนรู้) ของครูในเครือข่ายต่างๆ มาร่วมแบ่งปัน เรียนรู้ร่วมกัน โดยได้จัดเวทีครั้งที่ 1 : ครูสอนลักษณะนิสัย ขึ้น เมื่อวันที่ 14-15 พ.ย.ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม วายุภักษ์ 6 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพภายในงาน มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ผู้อำนวยการ ครู อาจารย์ ผู้อำนวยการเขต และองค์กรที่สนับสนุนครูในด้านต่างๆ จำนวนเกือบ 200 คน มาร่วมเรียนรู้อย่างพร้อมเพรียง
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล กล่าวเปิดเวทีครั้งนี้ว่า "เวทีนี้ก็เป็นเวทีที่พูนพลังครู หรือ Teacher Empowerment Forum เป็นเวทีที่เราก็จัดเป็นครั้งแรก สิ่งที่เราอยาก ก็คือ อยากให้มีการจัดโดยคนอื่นในที่ต่างๆ หรืออาจจะทำได้ดียิ่งกว่านี้ ให้ Empower พูนพลังครูยิ่งกว่านี้ พูนพลังครูในที่นี้ หมายถึง พูนพลังให้ครูได้ทำหน้าที่ครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ลูกศิษย์ได้เกิด Learning Outcome ดียิ่งกว่านี้ เป็นการขับเคลื่อนวงการศึกษา วงการเรียนรู้ไทย เราหวังว่าเวทีนี้ กระบวนการนี้ จะเป็นส่วนย่อยๆนิดเดียว ไว้จุดประกายในการที่ทำให้แต่ละฝ่ายได้มาช่วยกัน ช่วยกันทำให้การศึกษาไทยมีคุณภาพดีอย่างที่เราอยากเห็นได้อย่างแท้จริง นี่คือเป้าหมายสำคัญที่สุดของเวทีนะครับ คือเป็นการมาเรียนรู้ร่วมกันเพื่อหาวิธีการที่จะขับจะเคลื่อนทำ Movement ให้กับวงการศึกษาไทยเป็นเป้าหมาย
ที่สำคัญที่สุดของเรา เวทีนี้มี 22 องค์กรเป็นเจ้าของเวที และสิ่งที่เป็นสาระในช่วงสองวันนี้ก็คือ ครูสอนให้เด็กนิสัยดีได้อย่างไร ที่จริงได้สอนแบบถ่ายทอด แต่จัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็ก ได้เรียนรู้ในเชิงนิสัยที่ดีได้อย่างไร เราหวังว่าท่านผู้บริหารจากสถานศึกษา ครูทั้งหลาย แล้วก็ท่านที่เกี่ยวข้องจะได้ช่วยกันคิด แล้วก็หาวิธี แล้วก็ไปทดลองวิธีว่าในห้องเรียนตามปกติทั่วไป จะเอาวิธีการที่ครูที่ถือว่าเป็นเชิงต้นแบบที่เราเชิญมา เอาไปใช้ได้อย่างไร ในสภาพบรรยากาศของการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กัน และครูมีปฏิสัมพันธ์กันในแบบที่ไม่เป็นทางการระหว่างครูกับศิษย์ อยากเห็นการบูรณาการเข้าไปในหลายๆส่วนของชีวิตเด็ก แต่เมื่อเราทำเช่นนั้นแล้วผมเชื่อว่าชีวิตครูจะดีขึ้นอย่างมากมาย ไม่ใช่แค่เด็กจะได้เกิด Learning Outcome แต่ครูจะได้ Life Outcome
***มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ,มูลนิธิยุวสถิรคุณ ,มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ,โครงการพระเมตตาสมเด็จย่า "รางวัลครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" ,เครือข่ายโรงเรียนวิถีพุทธ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ,เครือข่ายครูสอนดี/ครูนอกกรอบ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) ,ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ( สกว.) ,โครงการวิจัยกระบวนการพัฒนาครูด้วยระบบหนุนนำต่อเนื่อง (Teacher Coaching) ,โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ,โครงการ Teach for Thailand มูลนิธิ Teach for Thailand,สถาบันคีนันแห่งเอเซีย,โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา,โรงเรียนรุ่งอรุณ และสถาบันอาศรมศิลป์,โรงเรียนเพลินพัฒนา,ศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา,มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา ,มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (มสส.),มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัดมหาชน ,มูลนิธิเอสซีจี ,บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ผลลัพธ์แห่งชีวิตมากกว่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอย่างมากมาย การแยกส่วนเวทีคราวนี้ก็คือว่า ครูที่สอนนิสัยเด็กเก่งมา สิ่งที่เราต้องไม่เผลอเข้าใจผิด คือ ว่าการสอนนิสัยดีให้เด็กนั้น แยกจากการสอนวิชา มันไม่แยกกันครับ มันต้องอยู่ด้วยกัน เป็นเนื้อเดียวกัน ครูที่สอนวิชาเก่งก็ต้องเอาใจใส่ในการฝึกนิสัยใจคอลูกศิษย์ไปพร้อมๆกัน"
ที่สำคัญเวทีครั้งนี้เป็นการจัดประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกำหนดเป้าหมายการจัด "เวทีพูนพลังครู" เพื่อให้เป็นเวทีเรียนรู้ของครูในเครือข่ายร่วมกันอย่างสม่ำเสมอทุก 4 เดือน (ปีละ 3 ครั้ง) โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) เพื่อนำความสำเร็จจากการปฏิบัติในฐานะ "ครูฝึก" (ที่มีวิธีการ และใช้เครื่องมือแตกต่างกันในแต่ละโครงการและเครือข่าย) และจัดตลาดนัดความรู้ภาคีพูนพลังครูปีละ1 ครั้งร่วมกันเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการเสริมสร้างพลัง (Empowerment) ให้ "ครู" เห็นคุณค่าของ "ความเป็นครู" ในการ "สอนคนให้เป็นคนดี" และเป็น "พลเมืองที่มีคุณภาพ" และมีพลังใจในการทำงานต่อไป กระตุ้นให้เกิด "เครือข่ายการเรียนรู้" ร่วมกันของภาคี และเครือข่ายครู เกิดเป็น "ชุมชนครูมืออาชีพ" (Professional Learning Community) ที่มุ่งพัฒนาตนเอง เพื่อยกระดับทักษะ ความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียน มีความรู้ มีทักษะ และมีคุณลักษณะนิสัยที่ดี และสนับสนุนให้เกิดการขยายไปสู่ระดับภูมิภาคและท้องถิ่น สื่อสารสร้างการเรียนรู้ ให้ครู และสังคม (สื่อมวลชน ผู้ปกครอง ประชาชนทั่วไป) ได้เข้าใจ "บทบาทใหม่" ของครูในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ "ครู" เกิดแรงบันดาลในการนำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และ "สังคม" ร่วมผลักดันและร่วมสนับสนุนให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ให้สามารถปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนให้สอดคล้องกับแนวทางจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21
การจัดเวทีครั้งที่ 1 นี้ ได้เชิญคุณครูต้นเรื่องของ ครูสอนลักษณะนิสัย ตัวอย่างทั้ง 14 ตัวอย่าง มาพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พร้อมทั้งเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของเวทีพูนพลังครูให้เกิดประโยชน์กับผู้เข้าร่วมงาน โดยแบ่งออกเป็นช่วงดังนี้ ช่วงที่ 1 "ครูผู้ส่งต่อความสว่างไสว" ครูที่ได้รับแรงบันดาลใจจากครูที่เป็นแบบอย่างในการสอนเด็กให้เป็นคนดี ครูต้นเรื่อง ด้านเปลี่ยนเด็กเกเป็นเด็กแกนนำ : ครูพจมาน เดชะ โรงเรียนพร้าววิทยาคม จ.เชียงใหม่ ด้านใช้ความรัก ความใส่ใจ แก้ปัญหาเด็กรายบุคคล : ครูศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ และด้านแก้ปัญหาเด็กกลุ่มเสี่ยง/เรียนอ่อน โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม จ.สมุทรสาคร : ครูมารศรี มิ่งศิริรัตน์ โรงเรียนสุรนารี จ.นครราชสีมา ช่วงที่ 2 "โรงเรียนที่บ่มเพาะความดีงาม" การออกแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะนิสัยของโรงเรียนที่มีการจัดการทั้งระบบ ครูต้นเรื่อง ด้านใช้ BBL ร่วมกับหลักศาสนา และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ่มเพาะเด็กเป็นคนดี มีหลักคิดในการดำเนินชีวิต โดย ผู้อำนวยการอวยพร หว่างตระกูล และครูปนัดดา ปัญฎีกา โรงเรียนดาราวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ด้านใช้กระบวนการวิจัย 10 ขั้นตอน และชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ พัฒนาเด็กให้มีความรับผิดชอบ ทำงานเป็นทีม เอื้อเฟื้อแบ่งปัน โดย ผู้อำนวยการสุทธิ สายสุนีย์ และครูไพเราะ เกิดผล , ครูขนิษฐา อาษาชำนาญ โรงเรียนอนุบาลสตูล จ.สตูล และด้านใช้กระบวนการจิตศึกษา เปลี่ยนครู เปลี่ยนห้องเรียน เพื่อเปลี่ยนเด็ก โดยผู้อำนวยการสมศักดิ์ ประสารและครูสนิดา โกศล โรงเรียนปะทาย จ.ศรีสะเกษและช่วง "สอนเด็กให้เป็นคนดี และมีความรู้" มีการแลกเปลี่ยนในกลุ่มย่อย 8 กลุ่มด้วยกัน มีด้านสอนเด็กชาวเขารู้ภาษาไทย อ่านออก เขียนได้ พูดชัด มีวินัย เห็นคุณค่าตัวเอง โดยครูสัญญา สอนบุญทอง โรงเรียนบ้านห้วยเฮี๊ยะ จ.แม่ฮ่องสอน ด้านสอนเด็กพิเศษ เรียนอ่อน ให้อ่านออก เขียนได้ มีความพยายามมีน้ำใจ โดยครูศิริลักษณ์ ชมภูคำ โรงเรียนบ้านหินลาด จ.มหาสารคา ด้านทำให้เด็กเห็นคุณค่าตนเองและมีความเป้าหมายชีวิต โดยครูธีรภาพ แซ่เซีย โรงเรียนคลองหนองใหญ่ กรุงเทพฯ ด้านฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบ มีวินัย เห็นคุณค่าตัวเอง โดย ครูวิศรุต นุชพงษ์ โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์ กรุงเทพฯ ด้านสอนเด็กพุทธ-อิสลาม ให้เข้าใจความแตกต่างทางศาสนา ความเชื่อ เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดย ครูประไพพรรณ บุญคง และ ครูไกรสร วงศ์เอื้อเวทย์ ด้านทำให้เด็กมีความมุ่งมั่น อดทน ฝึกฝนตนเอง ผ่านการทำโครงงาน โดย ครูไสว อุ่นแก้ว ด้านทำให้เด็กเรียนอ่าน เห็นคุณค่าในตัวเอง มีเป้าหมายชีวิตผ่านโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น โดย ครูอรุณวรรณ กลั่นกลึง และด้านใช้โครงงานวิทยาศาสตร์และการถอดบทเรียน สอนเด็กให้รู้จักตอนเอง ชุมชน มีเป้าหมายชีวิตและมีจิตอาสา โดย ครูตรีนุช เพชรแสนงาม
โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิและองค์กรที่สนับสนุนงานด้านการศึกษาร่วมสะท้อนการเรียนรู้ครั้งนี้ อาทิ รศ.ดร.ประภาภัทร นิยม อธิการบดี สถาบันอาศรมศิลป์/ผู้อำนวยการ โรงเรียนรุ่งอรุณ ,ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.),ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,รศ.ไพโรจน์ คีรีรัตน์อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ,ผศ.ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ ผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา,คุณณัฐฬส วังวิญญู ผู้ทรงคุณวุฒิ ,ดร.เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ ผู้ประสานงานโครงการวิจัยกระบวนการพัฒนาครูด้วยระบบหนุนนำต่อเนื่อง (Teacher Coaching) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.),ศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา,คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล,คุณนงนาท สนธิสุวรรณ ที่ปรึกษา มูลนิธิสยามกัมมาจล,นายแพทย์สุภกร บัวสาย ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน(สสค.) ,รศ.ปภัสวดี วีรกิตติ รองผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ, คุณพีรวัศ กีศิริ ทีปรึกษา มูลนิธิรากแก้ว,คุณวัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ โครงการพระเมตตาสมเด็จย่า ,นายเชิดชัย แสงสุด มูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย นายสุธา บุญรอด บริษัท พีทีทีโกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน),น.ส.ศศิธร เครือคช บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และดร.ฤทธิไกร ไชยงาม ศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคามดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ร่วมสะท้อนห้องย่อย ครูธีรภาพ แซ่เซียได้อย่างน่าสนใจว่า "ในห้องนี้ผมเห็น 4 keyword คือ ความเชื่อฝังใจ หรือ mindset ความเชื่อฝังใจเป็นตัวที่หนึ่ง ตัวที่สอง คือความอยาก ตัวที่สามคือ จิตวิญญาณ ตัวที่สี่ คืออิสระภาพ เด็กของครูซัน (ธีรภาพ แซ่เซีย)มีความเชื่อฝังใจแบบ Fix Mindset คือไม่โตแล้วล่ะ ดูถูกตัวเอง ด้อยค่า ไม่ยอมออกจากพื้นที่คือไม่กล้าที่จะเป็น Growth mindset ไม่กล้าที่จะที่จะเจริญเติบโตต่อไปข้างหน้า แต่คุณครูซันเป็นคนที่มี Growth mindset เพราะฉะนั้นคุณครูใช้ Growth mindset ไปแก้ Fix Mindset ของเด็ก ในขณะเดียวกัน keyword ตัวที่สอง ความอยาก ครูซันพยายามจะละความอยาก คือละฉันทะของตนเองด้วยการพยายามทำให้สำเร็จ อีกตัวหนึ่งคือจิตวิญญาณความเป็นครู และสุดท้ายคืออิสรภาพ อิสรภาพของเด็กถูกผูกมัดด้วยอะไรบางอย่าง ตัวเองค้นพบอิสรภาพของตัวเองไม่ได้ ดูถูกตัวเอง ไม่กล้าออกจากพื้นที่ของตัวเอง แต่เมื่อเขาออกมาแล้วแปลว่าเขาปลดปล่อยแล้ว คือเขาได้รับอิสรภาพ คำตอบสุดท้ายที่ครูซันทำคือปลอดปล่อยเด็กให้ได้อิสรภาพนี่ซิคือหัวใจของการศึกษา"
ฟังเสียงสะท้อนจากครูต้นเรื่อง อาทิ..ครูพจมาน เดชะ "ถ้าเด็กขาดคุณธรรม ขาดทักษะชีวิต ก็ปฏิรูปไม่ได้ ถ้าเราต้องการอยากเห็นผลสัมฤทธิ์ เราต้องแก้ตรงนี้ก่อน" เสียงสะท้อนของผู้เข้าร่วม "ครูโกวิทย์ ชัยทัพ" ... "สาเหตุที่ไม่อยากมาเพราะว่า ต้องเดินทาง 6 ชั่วโมง และต้องเสียรายได้จาการสอนพิเศษ ซึ่งพอได้มาที่นี้และได้ฟังคุณครูหลายท่านก็รู้สึกว่าตัวเองเป็นครูที่ล้าหลังมาก เหมือนกำแพงที่ตัวเองมีอยู่ถูกทำลายลง เหมือนว่าความคิดในความเป็นครูของเรา จิตวิญญาณความเป็นครูยังไม่เพียงพอ"
ครูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21 ต้องปรับการเรียน เปลี่ยนการสอนให้ทันกับยุคสมัย วันนี้มี How to ดีๆ ให้ได้เรียนรู้กัน "ครู"ก็มีเครื่องมือนำไปพัฒนางานตน เมื่อ "ครูเปลี่ยน เด็กก็เปลี่ยน" นั่นเอง
ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ # www.scbfoundation.com # Facebook : พูนพลังครู
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit