สศอ.ชี้แนวทางลงทุนในอุตสาหกรรมแรงงานเข้มข้น ขยายฐานการผลิตแฟชั่นไปต่างแดน

          สศอ. เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมแฟชั่นใช้แรงงานเข้มข้นในฐานการผลิตต่างแดน เริ่มจากจัดตั้ง one-stop service ปรับปรุงระบบคมนาคม โลจิสติกส์ และสนับสนุนเงินกู้ ชี้ย้ายหรือขยายฐานผลิตไปยังกัมพูชา และ สปป. ลาว เหมาะกับผู้ประกอบการ SMEs มากกว่ารายใหญ่ เพราะแรงงานมีจำกัด แนะตั้งโรงงานในจังหวัดที่มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ
          นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งประกอบด้วย สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและเครื่องหนัง และอัญมณีและเครื่องประดับ กำลังเผชิญกับปัญหาด้านการผลิต จากค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นและปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังถูกตัดสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) จากประเทศคู่ค้าในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านยังได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากตลาดสำคัญ โดยลูกค้าเรียกร้องให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายใหญ่ ย้ายหรือขยายฐานการผลิตไปประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า เช่น เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม และ สปป.ลาว เพื่อคงความสามารถในการแข่งขันด้านราคา
          จากประเด็นดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยเกิดการปรับตัว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการย้ายหรือขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ถือเป็นวิธีหนึ่งที่พยายามให้เกิดความเชื่อมโยงของเครือข่ายการผลิตด้วยโครงข่ายคมนาคมในภูมิภาค ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการยกระดับการผลิตในแต่ละขั้นตอนการผลิตในประเทศ ให้มีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น โดยผลจากการศึกษาโครงการแสวงหาแนวทางการย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและเครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ) ระยะที่ กระทรวงอุตสาหกรรม พบว่า การย้ายหรือขยายฐานการผลิตของผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs ควรพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเชิงอุตสาหกรรมและเชิงพื้นที่
          โดย สศอ. พบว่า ผู้ประกอบการขนาดใหญ่มีโอกาสที่จะย้ายหรือขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากกว่าผู้ประกอบการ SMEs เนื่องจากมีความพร้อมด้านเงินทุน และมีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงได้มากกว่า ส่วนขั้นตอนการผลิตในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มย้ายหรือขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน คือ ขั้นตอนการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ ใช้แรงงานจำนวนมาก มีกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน ใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรในระดับที่ไม่สูงนัก เช่น ขั้นตอนการตัด เย็บ และประกอบเครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะขั้นตอนการผลิตที่ไม่ซับซ้อนและไม่ใช่สินค้าแฟชั่น เช่น เสื้อยืด เสื้อโปโล และชุดเครื่องแบบ เป็นต้น
          อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศกัมพูชา และ สปป.ลาว เป็นประเทศที่มีความน่าสนใจสำหรับเป็นพื้นที่เป้าหมายในการย้ายหรือขยายฐานการผลิตของอุตสาหกรรม ที่ใช้แรงงานเข้มข้นของไทยไม่แพ้เวียดนาม และเมียนมาร์ แต่ทั้งกัมพูชา และ สปป. ลาว ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ กำลังแรงงานที่จำกัด ดังนั้น ในกรณีนี้กัมพูชา และ สปป. ลาว จึงเหมาะสมกับผู้ประกอบการ SMEs มากกว่าผู้ประกอบการขนาดใหญ่
ในส่วนปัจจัยเชิงพื้นที่ที่เหมาะสมในการย้ายหรือขยายฐานการผลิต พบว่าควรพิจารณาจากปัจจัยหลักคือ แรงงาน ทั้งค่าจ้างแรงงานและกำลังแรงงาน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันอื่น ๆ เช่น สิทธิ GSP ที่ได้รับจาก EU ต้นทุนและประสิทธิภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่งและการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานในไทย กฎระเบียบและสิทธิพิเศษด้านการลงทุน ตลอดจนสภาพแวดล้อมทางการเมืองและธุรกิจ นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในกัมพูชา และ สปป. ลาว พบว่าผู้ประกอบการควรพิจารณาตั้งโรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zones: SEZs) เพราะสามารถใช้ประโยชน์จากศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (one-stop service) ที่ตั้งขึ้นในเขตเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน ทั้งด้านการขออนุญาตลงทุน การจดทะเบียนบริษัท พิธีการศุลกากร ตลอดจนการหาแรงงาน
          ดังนั้น จังหวัดที่เหมาะสมในกัมพูชา คือ จังหวัดที่มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีกำลังแรงงาน และมีโครงข่ายคมนาคมหลักเชื่อมต่อกับไทยได้สะดวก ได้แก่ พนมเปญ บันเตียเมียนเจย (ติดกับจังหวัดสระแก้ว) และเกาะกง (ติดกับจังหวัดตราด) โดยในพื้นที่ดังกล่าว มีเขตเศรษฐกิจพิเศษที่สำคัญ 4 แห่ง ได้แก่ Phnom Penh SEZ (อยู่ในจังหวัดกันดารซึ่งติดกับพนมเปญ) Poipet Oกระทรวงอุตสาหกรรมอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย7;Neang SEZ (บันเตียเมียนเจย) Sisophon Industrial Park (บันเตียเมียนเจย) และ NeangKokKoh Kong SEZ (เกาะกง) ส่วนจังหวัดที่เหมาะสมใน สปป. ลาว คือ จังหวัดที่มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีกำลังแรงงาน และมีโครงข่ายคมนาคมหลักที่เชื่อมต่อกับไทยได้สะดวก ได้แก่ เวียงจันทน์ โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจ Vientiane Industrial and Trade Area (VITA Park) ซึ่งยังเปิดการลงทุนจากผู้ประกอบการไทย อย่างไรก็ตาม เวียงจันทน์ยังคงประสบปัญหาแรงงานตึงตัวและอัตราการลาออกสูง แต่มีระดับความรุนแรงน้อยกว่าพื้นที่อื่นโดยเปรียบเทียบ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกล่าวย้ำว่า ในฐานะหน่วยงานชี้นำการพัฒนาอุตสาหกรรม ได้นำเสนอยุทธศาสตร์ของไทยในต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการย้ายหรือขยายฐานการผลิตนั้นว่า ควรพิจารณาผลักดันให้เกิดการดำเนินการใน 4 รูปแบบ คือ
          อุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย) จัดตั้งหน่วยงานบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (one-stop service) ที่ให้ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ สนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ในต่างประเทศ
          กระทรวงอุตสาหกรรม) ผลักดันให้มีการดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาให้เกิดความเชื่อมโยงของระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาค เช่น ปรับปรุงและพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ ทั้งภายในประเทศและโครงข่ายที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
          เขตเศรษฐกิจพิเศษ) ส่งเสริมให้ชาวไทยเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน โดยมุ่งเน้นให้เกิดทัศนคติที่เป็นมิตรและเคารพซึ่งกันและกัน
          4) สนับสนุนเงินกู้ให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นซึ่งประสบปัญหาด้านขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs
          อย่างไรก็ดี ในส่วนผู้ประกอบการที่ไม่สามารถย้ายหรือขยายฐานการผลิต ก็ควรจะมีการปรับตัวเพื่อยกระดับสู่ขั้นการผลิตที่สูงขึ้นในห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เช่น จากผู้รับจ้างประกอบ เป็นผู้รับจ้างผลิต เป็นผู้รับจ้างออกแบบ และเป็นเจ้าของตราสินค้า เป็นต้น การเชื่อมโยงธุรกิจระหว่าง SMEs ด้วยกัน และระหว่าง SMEs กับบริษัทขนาดใหญ่ การอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะเชิงเทคนิค การจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบ และการวิจัยตลาด สนับสนุนด้านการตลาดและการสร้างเครือข่าย การพัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ สู่ SMEs รวมทั้งการรับรองมาตรฐานอีกด้วย

สศอ.ชี้แนวทางลงทุนในอุตสาหกรรมแรงงานเข้มข้น ขยายฐานการผลิตแฟชั่นไปต่างแดน

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม+อุดม วงศ์วิวัฒน์ไชยวันนี้

ชี้ 1 ทศวรรษ FTA ไทยยังไปได้มากกว่านี้ สศอ. ย้ำต้องขับเคลื่อนสู่ Trading Nation

สศอ. สรุปผลสำเร็จ FTA รอบ 10 ปี เพิ่มขึ้นแต่ยังไม่น่าพอใจ หันให้ความสนใจระดับภูมิภาคมากกว่า ทวิภาคี เผยไทยยังใช้สิทธิประโยชน์ FTA ไม่เต็มที่ ทั้งภาคส่งออกและนำเข้า ย้ำต้องผลักดันให้ไปสู่ความเป็น Trading Nation ให้ได้ เตือนให้เฝ้าจับตา FTA สหรัฐ และ EU ทวิภาคีใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสที่การจัดทำ FTA หรือข้อตกลงการค้าเสรีของไทยที่ทำกับประเทศต่างๆ ครบรอบ 10 ปีในปีนี้ หากมองย้อนถึงความสำ

สศอ. แนะ SMEs เร่งปรับปรุงการผลิต ใช้ “ระบบผลิตแบบอัตโนมัติ” หนีต้นทุนค่าแรงสูง

สศอ. เร่งระดมสมอง เพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมและ SMEs ไทย ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตมาใช้ระบบแบบอัตโนมัติที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ลดต้นทุน รับมือกับปัญหาแรงงานทั้งด้านต้นทุนและการขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งสภาวะ...

MPI เดือนพฤษภาคม 2558 หดตัวร้อยละ 7.6 ตามการส่งออกที่ลดลง

สศอ. เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2558 หดตัวร้อยละ 7.6 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ลดลง เช่น HDD รถยนต์ โทรทัศน์ เบียร์ และเครื่องประดับ ขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ไม่รวมทองคำแท่งหดตัวร้อยละ 5.0 ส่วนการนำเข้าสินค้าทุน หดตัวร้อยละ 8.0...

สศอ. แนะ SMEs เร่งปรับปรุงการผลิต ใช้ “ระบบผลิตแบบอัตโนมัติ” หนีต้นทุนค่าแรงสูง

สศอ. เร่งระดมสมอง เพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมและ SMEs ไทย ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตมาใช้ระบบแบบอัตโนมัติที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ลดต้นทุน รับมือกับปัญหาแรงงานทั้งด้านต้นทุนและการขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งสภาวะ...

ภาพข่าว: สศอ. จัดประชุมความร่วมมือ การเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูล LEED-X+ สู่ยุค Digital

นายอุฤทธิ์ ศรีหนองโคตร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานเปิดการประชุมความร่วมมือในการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูล ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การศึกษา และแรงงาน ระบบ LEED-X+ สู่ยุค Digital ระหว่างหน่วยงาน...

สศอ. ชี้ทิศทางอุตสาหกรรมไทย ตัวเลขผลิตภัณ... สศอ.ชี้ทิศทางอุตสาหกรรมไทยปี 2558 โต 3% — สศอ. ชี้ทิศทางอุตสาหกรรมไทย ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ( GDP) ของภาคอุตสาหกรรมปีนี้ ยังคงอัตราการเติบโตใน...

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จัดแถลงข่าว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2558

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะที่เป็นองค์กรชี้นำ เสนอแนะนโยบายการพัฒนา และเตือนภัยภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ได้กำหนดจัดการ แถลงข่าวประเด็น “ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2558”...

สศอ.ชู Carbon – Water footprint ยกระดับส่งออก – เพิ่มโอกาสการค้า

สศอ.หนุน Carbon footprint –Water footprint ส่งเสริมผู้ประกอบการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มโอกาสทางการค้า และยกระดับการส่งออก ชี้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรการไม่ใช่ภาษี เผยจะถูกใช้มากขึ้นในเวทีการค้าโลก นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย...

สศอ. เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมแฟชั่น... สศอ.ชี้แนวทางลงทุนในอุตสาหกรรมแรงงานเข้มข้น ขยายฐานการผลิตแฟชั่นไปต่างแดน — สศอ. เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมแฟชั่นใช้แรงงานเข้มข้นในฐานการผลิตต่างแดน เ...

สศอ. แถลงข่าว "แนวทางขยายฐานผลิตอุตฯแฟชั่นไทยไปเพื่อนบ้าน"

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะที่เป็นองค์กรชี้นำ เสนอแนะนโยบายการพัฒนา และเตือนภัยภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ได้กำหนดจัดการแถลงข่าวประเด็น "แนวทางขยายฐานผลิตอุตฯแฟชั่นไทยไปเพื่อนบ้าน" ดังนั้นสำนักงาน...