ซึ่ง นายสมชัย เพียรสถาพร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ ได้กล่าวเปิดงานสรุปได้ว่า “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์นี้เองจะนำไปสู่การท่องเที่ยวที่เรียกได้อย่างชัดเจนว่า “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” การดำเนินการในเรื่องนี้นั้น อพท.ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการพัฒนา ต่อยอด ขยาย เชื่อมโยง และส่งผลให้เกิดต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่วันนี้ประเทศไทยเรามีแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างแท้จริงขึ้นแล้ว ผมหวังว่าคณะทำงานการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จะดำเนินการสืบค้นและค้นหากิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้ได้ทั้งรู้วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม หัตถกรรมพื้นถิ่น และอื่น ๆ อีกมากมาย ตลอดจนพัฒนากิจกรรมที่สืบค้นได้เหล่านั้นให้กลายเป็น “กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” เพิ่มมากขึ้น เพราะประเทศไทยเรามีอะไรดี ๆ อีกมาก เพียงแต่ไม่ได้ถูกเชิดชูยกย่องและให้ความสำคัญ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้สิ่งดี ๆ เหล่านี้ยังคงอยู่และอยู่ได้ตลอดไปในสังคมไทย”
โดย พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ได้กล่าวถึงที่มาของงานในครั้งนี้ว่า “เป็นเวลากว่า ๔ ปีแล้วที่ อพท.ได้ดำเนินการงานด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่พิเศษภายใต้ความร่วมมือตามข้อตกลงระหว่าง อพท.กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการโดยคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์สำคัญคือ ทำให้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์นำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์นั้นมีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชุมชนและเอกลักษณ์สถานที่ การให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นการสร้างประสบการณ์ตรงร่วมกันกับเจ้าของวัฒนธรรมและใช้ชีวิตร่วมกันกับเจ้าของสถานที่ อันจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชุมชน และเอกลักษณ์ของสถานที่นั่นเอง ดังนั้น การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จึงไม่ใช่กิจกรรมที่เน้นสร้างรายได้ให้กับชุมชน แต่เป็นกิจกรรมที่เน้น “คุณค่า” ของชุมชนเป็นสำคัญ”
“ทั้ง ๑๓ กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้ผ่านกระบวนการทำความเข้าใจหลักการของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การเตรียมความพร้อมในการรับนักท่องเที่ยว การพัฒนาศักยภาพโดยตระหนักรู้ในภูมิปัญญาที่มี พร้อมทั้งผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งโดยคณะกรรมการและนักท่องเที่ยวจนบัดนี้มีความพร้อมที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ใหม่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่มาของการจัดงานประกาศตัวกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทั้ง ๑๓ กิจกรรมให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปและเป็นที่ภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ” พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค กล่าวสรุป
ทั้งนี้ในงานยังได้มีการจัดเสวนา “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: หัวใจสำคัญสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” นำโดย พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท และผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ หัวหน้าคณะทำงานโครงการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พร้อมทั้งมอบตราสัญลักษณ์ “Creative Tourism Thailand” แก่เจ้าของกิจกรรมทั้ง ๑๓ กิจกรรม “ต้นแบบ” การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และการมอบรางวัลให้แก่นักศึกษาที่เข้าประกวดแผนธุรกิจเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยผู้เข้าร่วมงานยังได้ชมการสาธิตกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อีกด้วย สำหรับผู้สนใจกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ที่ www.ctthailand.net
HTML::image( HTML::image( HTML::image(