จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินกิจการของ ปตท.. เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลต่าง ๆ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 31.79 ระบุว่า เป็นการดำเนินกิจการเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ปตท. รองลงมา ร้อยละ 21.30 ระบุว่า เป็นการดำเนินกิจการเพื่อผลประโยชน์ของทุก ๆ ฝ่ายเท่า ๆ กัน ร้อยละ 17.77 ระบุว่า เป็นการดำเนินกิจการเพื่อผลประโยชน์ของบุคลากรและผู้บริหาร ปตท. ร้อยละ 14.73 ระบุว่า เป็นการดำเนินกิจการเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ร้อยละ 14.41 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินการของรัฐบาล เพื่อนำ ปตท. กลับมาเป็นของรัฐ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.34 ระบุว่า ควร เพราะ ประชาชนต้องการใช้น้ำมันที่มีราคาถูกหรือเป็นราคาที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค เป็นการลดต้นทุนค่าครองชีพในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ เป็นการควบคุมตรวจสอบถึงความโปร่งใสในการบริหารจัดการ มิให้เป็นการผูกขาดกับ ปตท. แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะถือว่าพลังงานเป็นสมบัติของประเทศชาติ ร้อยละ 9.13 ระบุว่า ไม่ควร เพราะ เอกชนมีสิทธิ์ในการบริหารงาน หากให้รัฐบาลเข้ามาควบคุมหรือบริหารจัดการ อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะในเรื่องของผลประกอบการและความโปร่งใส การทุจริตคอร์รัปชัน และรัฐบาลยังขาดเสถียรภาพ หากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล นโยบายต่าง ๆ ก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ร้อยละ 0.88 ระบุว่า สามารถบริหารได้ทั้งรัฐบาลและเอกชน ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลและเสียงส่วนใหญ่ เพียงแต่ขอให้มีความโปร่งใส และทำเพื่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง และ ร้อยละ 12.65 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อราคาน้ำมันในประเทศไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.20 ระบุว่า ราคาแพงมาก รองลงมา ร้อยละ 35.95 ระบุว่า ราคาค่อนข้างแพง ร้อยละ 12.01 ระบุว่า มีราคาที่เหมาะสม ร้อยละ 0.56 ระบุว่า ราคาค่อนข้างถูก ร้อยละ 0.24 ระบุว่า ราคาถูกมาก และ ร้อยละ 1.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อแหล่งพลังงานในประเทศไทย เช่น น้ำมันดิบ, ก๊าซธรรมชาติ และอื่น ๆ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.56 ระบุว่า ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานจำนวนน้อย รองลงมา ร้อยละ 39.07 ระบุว่า ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานจำนวนมาก ร้อยละ 2.16 ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานพอประมาณ และ ร้อยละ 13.21 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อความสามารถของรัฐบาลในการปฏิรูปพลังงาน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.29 ระบุว่า รัฐบาลจะสามารถปฏิรูปพลังงานได้ ขณะที่ ร้อยละ 19.22 ระบุว่า ปฏิรูปไม่ได้ และ ร้อยละ 18.49 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 20.02 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 19.94 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 20.02 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 20.02 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ร้อยละ 20.02 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 54.52 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 45.40 เป็นเพศหญิง และ ร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 9.11 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 33.31 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 46.05 มีอายุ 40 – 59 ปี และ ร้อยละ 11.53 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 95.07 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.12 นับถือศาสนาอิสลาม และ ร้อยละ 0.81 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 26.68 สถานภาพโสด ร้อยละ 70.90 สถานภาพสมรสแล้ว และร้อยละ 2.43 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 26.84 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.92 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 11.96 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 20.70 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และ ร้อยละ 5.58 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่าง ร้อยละ 13.92 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.46 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.33 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.86 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.31 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 13.03 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ร้อยละ 5.10 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 14.25 ระบุว่าไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.50 มีรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 32.43 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.01 มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.08 มีรายได้ ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.85 มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และ ร้อยละ 8.89 ไม่ระบุรายได้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit