ระวัง!! ใช้ถ้วย จาน ชามพลาสติกด้อยคุณภาพ เสี่ยงได้รับสารก่อมะเร็ง

กรุงเทพฯ--7 พ.ค.--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจความปลอดภัยของภาชนะใส่อาหารประเภทถ้วย จาน ชามพลาสติกราคาถูกที่วางจำหน่ายอยู่ตามตลาดนัด หาบเร่ แผงลอย ร้านค้าปลีกและส่ง พบบางผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนสารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง แนะผู้บริโภคเลือกซื้อภาชนะที่ผ่านการตรวจหรือมีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ ฉลาก รายละเอียดชนิดวัสดุ ข้อกำหนดการใช้งาน และแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ผลสำรวจความปลอดภัยของภาชนะใส่อาหารประเภทถ้วย จาน ชามพลาสติกจากร้านแผงลอยในตลาดนัด ร้านในงานแสดงสินค้า ร้านค้าปลีกและส่ง รวมถึงห้างสรรพสินค้า รวม 113 ตัวอย่าง ราคาต่อหน่วย 5-29 บาท พบว่าภาชนะเหล่านี้มองดูคล้ายภาชนะเมลามีน และเป็นที่รู้จักนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในจำนวนตัวอย่างที่สำรวจมีฉลากภาษาไทย 99 ตัวอย่าง และไม่มีฉลาก 14 ตัวอย่าง เป็นภาชนะที่มีแหล่งผลิตในประเทศ 10 ตัวอย่าง ผลิตจากต่างประเทศ 94 ตัวอย่าง และไม่แจ้งแหล่งผลิต 9 ตัวอย่าง ระบุชนิดพลาสติกที่ใช้ผลิต 14 ตัวอย่าง ระบุเพียงว่าเป็นพลาสติก 80 ตัวอย่าง ไม่ระบุ 19 ตัวอย่าง ที่ฉลากระบุอุณหภูมิใช้งาน 97 ตัวอย่าง และไม่ระบุอุณหภูมิใช้งาน 16 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์วัสดุที่ใช้ทำด้วยเครื่อง Fourier Transform Infrared Spectrophotometer (FT-IR) พบว่าเนื้อภาชนะถูกต้องตามฉลากเป็นเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ (Melamine Formaldehyde) หรือเมลามีนแท้ 7 ตัวอย่าง และอะคริโลไนไตรล์-บิวทาไดอีน-สไตรีน (Acrylonitrile Butadiene Styrene) 1 ตัวอย่าง ซึ่งผลิตในประเทศไทย ภาชนะที่ไม่แจ้งชนิดวัสดุในฉลากตรวจสอบได้เป็นพอลิพรอพิลีน (Polypropylene) 1 ตัวอย่าง พอลิสไตรีน (Polystyrene) 1 ตัวอย่าง และในฉลากระบุเป็นพลาสติก 103 ตัวอย่าง พบว่าเป็นยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์หรือเมลามีนปลอม แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มคือเนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบผิวด้านในด้วยเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ 45 ตัวอย่าง เนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบผิวด้านนอกด้วยเมลามีน–ฟอร์มาลดีไฮด์ 53 ตัวอย่าง เนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบผิวด้านในและด้านนอกด้วยเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ 4 ตัวอย่าง และเนื้อยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ทั้งชิ้น 1 ตัวอย่าง นพ.นิพนธ์ กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ยังได้นำตัวอย่างภาชนะมาตรวจวิเคราะห์เพื่อหาการแพร่กระจายออกมาของฟอร์มาลดีไฮด์ จากกลุ่มตัวอย่างเมลามีนปลอม ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส 30 นาที ตามมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์เมลามีนแท้ พบฟอร์มาลดีไฮด์แพร่กระจายออกมาในน้ำที่ใช้ทดสอบ เกินค่ามาตรฐาน 37 ตัวอย่าง เมื่อทดสอบตามอุณหภูมิใช้งานที่ 80 องศาเซลเซียส หรือ 100 องศาเซลเซียส ซึ่งแจ้งไว้ในฉลากของผลิตภัณฑ์ พบฟอร์มาลดีไฮด์แพร่กระจายออกมาในน้ำที่ใช้ทดสอบ เกินค่ามาตรฐาน 38 ตัวอย่าง และเมื่อทำการทดสอบ โดยใช้ตัวแทนอาหารที่เป็นสารละลายกรดอะซิติก (acetic acid) หรือกรดน้ำส้ม ความเข้มข้นร้อยละ 4 โดยปริมาตรอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เพื่อเลียนแบบการใส่อาหารประเภทต้มยำหรือแกงส้มร้อนๆ พบฟอร์มาลดีไฮด์ ออกมาเกินค่ามาตรฐาน 64 ตัวอย่าง และพบปริมาณที่สูงเกินกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตร 38 ตัวอย่าง ซึ่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 295) พ.ศ.2548 เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกและสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 524-2539 เรื่องภาชนะและเครื่องใช้เมลามีน ที่กำหนดว่าต้องไม่พบฟอร์มาลดีไฮด์(ค่าต่ำสุดที่ตรวจวัดได้ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร) ด้าน นางลัดดาวัลย์ โรจนพรรณทิพย์ ผอ.สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายหรือมาตรการควบคุมภาชนะประเภทยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ หรือเมลามีนปลอม และไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูแลด้านความปลอดภัยสินค้าเหล่านี้ จากการสำรวจวิจัยครั้งนี้พบว่าภาชนะที่ทำด้วยยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ หรือเมลามีนปลอม มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ มีวางจำหน่ายทั่วไป ราคาถูก ตรวจพบฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งแพร่ออกมาได้ตามอุณหภูมิการใช้งาน ยิ่งใช้งานที่อุณหภูมิสูงจะมีฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาปริมาณมาก โดยเฉพาะถ้าอาหารนั้นมีความเป็นกรดและความร้อนสูง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ควรสังเกตและเลือกซื้อภาชนะถ้วย จานพลาสติกที่มีฉลากกำกับให้รายละเอียดชนิดของวัสดุ ข้อกำหนดการใช้งาน มีแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ และที่สำคัญคือภาชนะเหล่านี้ต้องที่ได้รับการรับรอง หรือมีตราเครื่องหมายการรับรองคุณภาพมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการยืนยันได้ในระดับหนึ่งว่าสินค้าเหล่านั้นได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพว่าได้มาตรฐาน และควรปฏิบัติตามคำเตือนที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการได้รับสารฟอร์มาลดีไฮด์ ติดต่อ: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทรศัพท์ 0-2951-0000 ต่อ 99017 , 99081 โทรสาร 0-2591-1707 -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์+นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัยวันนี้

ภาพข่าว: ต้อนรับคณะสัมมนาจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

นายโสภณ หิงปิน (ที่ 2 จากขวา) ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมแคนทารี เบย์ ระยอง ให้การต้อนรับ คณะสัมมนาจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นำโดย นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย (ที่ 3 จากซ้าย) อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ให้เกียรติมาเป็นประธานในการสัมมนาฯ ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมแคนทารี เบย์ ระยอง เมื่อเร็วๆนี้ บุคคลในภาพ (จากซ้าย): นายมงคล เจนจิตติกุล (ซ้ายสุด) รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, นางอุบลรัตน์ โพธิ์พัฒนชัย ภรรยา นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย, นายแพทย์นิพนธ์, แพทย์หญิงวารุณี จินารัตน์

กรมวิทย์ฯ ยัน ข้าวสารไทยปลอดภัย 100 %

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยผลการตรวจข้าวสารบรรจุถุงทุกยี่ห้อที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด ยืนยันคุณภาพข้าวไทยมีมาตรฐานปลอดภัยไม่เป็นอันตราย นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากกระแสข้อมูลในสื่อออนไลน์ที่มีการส่งต่อกล่าว...

ระวัง!! ซื้อ “ครีม-ผลิตภัณฑ์พอกหน้า” ออนไลน์ เสี่ยงอันตราย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เตือนผู้หญิงที่นิยมใช้ครีมและผลิตภัณฑ์พอกหน้า (Mask) ที่มีการโฆษณาและจำหน่ายทางอินเตอร์เน็ต เสี่ยงได้รับอันตรายจากสารห้ามใช้ที่ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว แนะเลือกซื้อ...

ภาพข่าว: การขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์

นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาความรู้ด้านการขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ จัดโดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมี นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย...

ระวัง!! ใช้ถ้วย จาน ชามพลาสติกด้อยคุณภาพ เสี่ยงได้รับสารก่อมะเร็ง

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจความปลอดภัยของภาชนะใส่อาหารประเภทถ้วย จาน ชามพลาสติกราคาถูกที่วางจำหน่ายอยู่ตามตลาดนัด หาบเร่ แผงลอย ร้านค้าปลีกและส่ง พบบางผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนสารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ซึ่ง...

ขยายขอบข่ายรับรอง “คุณภาพสมุนไพรไทย” ยกระดับมาตรฐานเทียบสากล

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สานต่อโครงการพัฒนา “คุณภาพสมุนไพรไทย” จัดเวทีอบรมสัมมนาเปิดมุมมองใหม่แก่ผู้ประกอบการ พร้อมขยายขอบข่ายการให้บริการตรวจรับรองคุณภาพ สมุนไพรไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานและสร้างความเข้มแข็งด้านการส่งออก นพ...

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าร... กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV — กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV ทางห้องปฏิบัติการ ...