เสวนา : เมืองดี๊ดี บทเรียนการสร้างเมืองสุขภาวะจากญี่ปุ่นสู่ไทย

กรุงเทพฯ--8 พ.ค.--

ในงานสถาปนิกปี 56 ที่จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย – 5 พ.ค. ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ เมืองทองธานี นอกจากจะมีการจัดบูธแสดงนวัตกรรม และสินค้าจากบริษัทต่างๆแล้ว ยังมีกิจกรรมการเสวนาเรื่อง เมืองดี๊ดี บทเรียนการสร้างเมืองสุขภาวะจากญี่ปุ่นสู่ไทย โดยบนเวทีเสวนาได้เชิญ 3 วิทยากร ที่เชี่ยวชาญในการวางแผนและสร้างเมืองสุขภาวะ บรรยายถึงการพัฒนาเปลี่ยนเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯให้เป็นเมืองสุขภาวะตามต้นแบบจากเมืองคะชิวะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเวทีเสวนามี ศ.ดร.อัทสึชิ เดกุจิ หัวหน้าศูนย์ออกแบบเมืองคะชิวะ มหาวิทยาลัยโตเกียวที่เล่าถึงการสร้างเมืองใหม่ในประเทศญี่ปุ่นว่า ที่เมืองคะชิวะ ในประเทศญี่ปุ่นนั้น แต่เดิมเป็นพื้นที่โล่งที่มีคนอาศัยเพียง 26,000 คน แต่ด้วยความร่วมมือกันของภาคีทั้งรัฐบาล เอกชน และภาควิชาการ พัฒนาพื้นที่เปล่าให้เป็นพื้นที่ที่มีประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งเมืองนี้ถือเป็นโมเดลให้ประเทศญี่ปุ่นในการใช้พัฒนาต่อไป โดยในปี 2006 ได้จัดตั้ง UDCK (Urban design center Kashiwa-no-ha) เป็นการดีไซน์พื้นที่ให้เป็นศูนย์กลางการทำกิจกรรมต่างๆให้กับประชาชน ทั้งสร้างถนนใหม่ที่โดยรอบมีแต่ต้นไม้ มีตลาดนัดผักสด เพื่อส่งเสริมการค้าภายในนพื้นที่ และยังมีสตูดิโอการเรียนรู้ให้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ได้เข้าไปค้นคว้า ในเมืองยังมีการสนับสนุนให้ใช้จักรยาน และรถไฟฟ้าเป็นหลักอีกด้วย ทั้งนี้ศ.ดร.อัทสึชิ ยังให้ความเห็นแก่เมืองไทยว่า “เมืองไทยเป็นประเทศที่สวยงาม และมีชื่อเสียงในเอเชีย โดยเฉพาะเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ที่ทุกฝ่ายควรร่วมมือพัฒนา ในการเปลี่ยนแปลงเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับการดำรงชีวิตให้ความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคม ตามแบบเมืองคะชิวะ” ด้าน ผศ.ดร.พนิต ภู่จินดา หัวหน้าศูนย์วิจัยเมืองสุขภาวะ บรรยายว่า “เมืองอย่างกรุงเทพฯควรมีการปรับปรุงในหลายๆด้าน โดยเฉพาะเรื่องของสภาพแวดล้อม ทั้งด้านสุขภาวะ,สิ่งแวดล้อม,ที่อยู่อาศัย และการขนส่งคมนาคม ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน ก่อนจะไปพัฒนาเรื่องใหญ่เรื่องอื่น โดยการเสริมสร้างสุขภาวะเมืองไม่ใช่การสร้างแบบให้ประชาชนปรับตัวเข้าหามาตรฐานกลาง แต่ต้องปรับมาตรฐานไปตามประชาชนแต่ละกลุ่ม” ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ หัวหน้าศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ได้บรรยายสรุปถึงการวางแผนการสร้างเมืองว่า พื้นที่ในกรุงเทพฯยังมีพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างไว้อยู่มาก ทั้งบริเวณใต้ทางด่วน ลานกว้างหรือโกดังต่างๆ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้สามารถนำมาทำให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น ตามเมืองต่างๆในต่างประเทศสร้างห้างสรรพสินค้าใต้ทางด่วน สร้างสวนสาธารณะจากพื้นที่ร้างอยู่ริมน้ำ หรือสร้างโกดังเก่าให้เป็นที่ท่องเที่ยว เป็นต้น แต่อุปสรรคหลักในการฟื้นฟูเมือง คือ ขาดกลไกในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ข้อมูลโครงการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองให้สาธารณะชนได้เข้าใจและมองเห็นถึงผลลัพธ์จากโครงการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองต่างๆ ซึ่งกลไกพัฒนาเมืองนั้นมีการวางแผน ให้คำปรึกษา บริการออกแบบวางผัง และประสานเพื่อผลักดันสู่การปฎิบัติ โดยเชื่อมโยงกับการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมผังเมือง โดยต้องมีการร่วมทดลองนวัตกรรมไปในสังคมด้วย ซึ่งต้องมีการจัดประชุมทางวิชาการเชิงปฎิบัติการระดับนานาชาติอยู่เป็นระยะๆ ควบคู่ไปกับสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคียุทธศาสตร์ “คณะทำงานได้เริ่มฟื้นฟูจากย่านประวัติศาสตร์ของเมือง ซึ่งตอนนี้เรากำลังฟื้นฟูย่านกะดีจีน ให้เป็นย่านที่มีสุขภาวะที่ดี และให้เป็นที่ท่องเที่ยวของประชาชนทั่วไป มีเลนจักรยานริมน้ำ และสามารถเข้าไปท่องเที่ยวได้ เพราะเป็นชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี หลังจากนี้เราต้องพัฒนาชุนชนอื่นๆไปเรื่อยๆ แต่ต้องมีความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย เพื่อจะได้ประสบผลสำเร็จ เมืองหลวงของเราจึงจะได้เป็นเมืองสุขภาวะเหมือนประเทศอื่น” ผศ.ดร.นิรมล กล่าว-นท-

ข่าวมหาวิทยาลัยโตเกียว+ประเทศญี่ปุ่นวันนี้

5 องค์กรภาคีผนึกกำลังเปิดหลักสูตร "โอกาสธุรกิจสุขภาพและการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง" รุ่นที่ 5

ผศ.ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง ผู้อำนวยการหลักสูตร " WELLNESS & HEALTHCARE BUSINESS OPPORTUNITY PROGRAM FOR EXECUTIV (WHB)" กล่าวว่า กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย)จำกัด, ภาควิชานโยบายด้านสุขภาพของโลก บัณทิตวิทยลัยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น และ บริษัท ไทยพัฒนาสุขภาพ จำกัด โดย International Wellness & Healthcare Academy ได้ร่วมมือกันจัดการเรียนหลักสูตร WHB รุ่นที่ 5 เพื่อตอบสนองน

โตเกียว เซนได และคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น เ... ฟูจิตสึ ประยุกต์ใช้ AI และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เพื่อการพยากรณ์สึนามิ แบบเรียลไทม์ — โตเกียว เซนได และคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันวิจัยวิทยา...

โทคิวะ ไฟโตเคมิคอล ประกาศผลการศึกษาก้าวล้ำครั้งใหม่ สนับสนุนประโยชน์ของ SIRTMAX (R) ในการส่งเสริมชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดีขึ้น

บริษัท โทคิวะ ไฟโตเคมิคอล จำกัด (Tokiwa Phytochemical Co., Ltd.) (หลังจากนี้เรียกว่า "โทคิวะ") จากประเทศญี่ปุ่น มีความยินดีที่ได้เผยแพร่รายงานจาก...

ศูนย์พัฒนานักบริหาร Sasin School of Manag... ภาพข่าว: ศศินทร์ จัดสัมมนา TQM for the Next Generation — ศูนย์พัฒนานักบริหาร Sasin School of Management จัดสัมมนา หัวข้อ TQM for the Next Generation "TQM ...

ศูนย์พัฒนานักบริหาร Sasin School of Manag... ภาพข่าว: ศศินทร์ จัดสัมมนา TQM for the Next Generation — ศูนย์พัฒนานักบริหาร Sasin School of Management จัดสัมมนา หัวข้อ TQM for the Next Generation "TQM ...

ศศินทร์ จัดสัมมนา TQM for the Next Generation

ศูนย์พัฒนานักบริหาร Sasin School of Management จัดสัมมนา หัวข้อ TQM for the Next Generation "TQM สำหรับคนยุคใหม่ "( TQM Total Quality Management หมายถึง แนวทางในการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้นคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วมและมุ่งหมายผลกำไร...

Ajinomoto Co., Inc. ("บริษัท Ajinomoto") ... ผงชูรสได้รับการปฏิบัติ อย่างเป็นธรรมหรือไม่? — Ajinomoto Co., Inc. ("บริษัท Ajinomoto") ดำเนินธุรกิจมายาวนาน กว่า ศตวรรษ ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2451...

หลายคนเลือกโรงเรียนเพียงเพราะชื่อเสียง ค่... สร้างประชาธิปไตยทางการศึกษา เริ่มที่ระบบโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ — หลายคนเลือกโรงเรียนเพียงเพราะชื่อเสียง ค่าเทอมแพง หลายคนเลือกโรงเรียนเพียงเพราะ...