UMB India จัดงานประชุม Giving Back – NGO India 2013 มุ่งสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่าง NGO รัฐบาล และองค์กรธุรกิจ

มุมไบ อินเดีย--22 พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์


หลังจากที่มีการแก้ไขร่างกฎหมายขององค์กรธุรกิจของอินเดียเมื่อเร็วๆนี้ อินเดียก็กลายเป็นประเทศแรกที่ดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม (CSR) ตามกฎเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ คณะกรรมาธิการสามัญด้านการเงินระบุว่า ควรหักผลกำไรสุทธิเฉลี่ยของบริษัทที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 5 พันล้านรูปีขึ้นไป หรือบริษัทที่มีรายรับประจำปีอย่างน้อย 1 หมื่นล้านรูปี หรือมีผลกำไรสุทธิ 50 ล้าน หรือมากกว่านั้น ในอัตรา 2% จากปีการดำเนินงานของบริษัท 3 ปี เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรม CSR

(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20130522/613994)

เนื่องจากกลุ่มผู้ถือหุ้นหลักไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าว ยูบีเอ็ม อินเดีย (UBM India) จึงเตรียมจัดการประชุม Giving Back – NGO India 2013 ซึ่งได้รวมประเด็นเกี่ยวกับการริเริ่มธุรกิจที่ไม่แสวงหาผลกำไร และธุรกิจที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมไว้ในเวทีเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นการประชุมที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขอบเขตความรู้ด้าน CSR ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด โดยหัวข้อหลักในการประชุมจะเป็นเรื่องการพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์กรธุรกิจ องค์กรไม่แสงหาผลกำไร (NGOs) และรัฐบาลเพื่อจัดสรรสวัสดิการสังคม โดยงานประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ศูนย์จัดแสดงนิทรรศการบอมเบย์ เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ในระหว่างวันที่ 14-15 มิ.ย. 2556 นี้

ดร.บาสคาร์ แชทเทอร์จี (Dr Bhaskar Chatterjee) ผู้อำนวยการ และซีอีโอของสถาบันแห่งองค์กรของอินเดีย (Indian Institute of Corporate Affairs) กล่าวว่า “นี่คือก้าวย่างที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ท่ามกลางการเติบโตของเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม ถึงเวลาแล้วที่เราจะให้ความสำคัญกับการสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีศักยภาพ และควบคุมขีดความสามารถที่แท้จริงของ NGOs องค์กรทางธุรกิจ และรัฐบาล รวมถึงการผนวกนวัตกรรมทางสังคมเข้ากับความสามารถเชิงธุรกิจ”

นอกเหนือจาก ดร.แชทเทอร์จี แล้ว ยังมีผู้เชี่ยวชาญอีกหลายท่านซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อกิจกรรมเพื่อการพัฒนาด้าน CSR ในอินเดีย ได้แก่ ดร.คิราน เบดิ (Dr Kiran Bedi) ประธานมูลมูลนิธิ Vision ของอินเดีย เอส ราดา เชาฮัน (S Radha Chauhan) เลขาธิการร่วมฝ่ายมัธยมศึกษาจาก IAS กระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปรีรานา ลังกา (Prerana Langa) ซีอีโอมูลนิธิ YES แอชิช เชาฮัน (Ashish Chauhan) กรรมการผู้จัดการ และซีอีโอของตลาดหุ้น Bombay Stock Exchange ลินด์เซย์ เลวิน (Lindsay Levin) หุ้นส่วนผู้จัดการจากลีดเดอร์ส เควสท์ ราจ กิลดา (Raj Gilda) ผู้ก่อตั้งร่วมมูลนิธิ Lend-A-Hand ของอินเดีย นิชา อะแกรวัล (Nisha Agrawal) ซีอีโอของบริษัทออกซ์แฟม ปราวีน อักการ์วัล (Praveen Aggarwal) ประธานฝ่ายปฏิบัติการแห่งมูลนิธิเสวดส์ ปุชปา อามาน ซิงห์ (Pushpa Aman Singh) ซีอีโอจากบริษัทไกด์สตาร์ และทริชยา สกรูว์วาลา (Trishya Screwvala) ผู้ก่อตั้ง และผู้อำนวยการบริษัทเรนแดนเซอร์ เป็นต้น

การประชุม Giving Back – NGO India 2013 จะพูดถึงประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นหลัก ซึ่งได้แก่ รัฐบาล NGOs องค์กรทางธุรกิจ ผู้บังคับใช้ร่างกฎหมาย และที่ปรึกษาด้าน CSR เพื่อหาทางออกที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงผลงานของบรรดา NGOs และการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างทักษะจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงอุตสาหกรรมเพื่อชี้แนะแนวทางให้แก่ NGOs ใหม่ๆ สามารถเข้าร่วมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานได้ที่ http://www.giving-back.in

เกี่ยวกับยูบีเอ็มอินเดีย

ยูบีเอ็ม อินเดีย เป็นบริษัทในเครือของยูบีเอ็ม ซึ่งเป็นบริษัทออแกไนเซอร์อิสระรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ยูบีเอ็มเป็นผู้จัดงานมหกรรมการค้ารายใหญ่ที่สุดในอินเดีย โดยรับผิดชอบจัดงานมาแล้ว 26 งานในทำเลต่างๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้บริษัทยังจัดโปรแกรมการประชุมทั่วอินเดีย อีกทั้งยังเผยแพร่วารสารและนิตยสารด้านการค้า หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเข้าชมเว็บไซต์ของยูบีเอ็ม อินเดีย ที่ http://www.ubmindia.in

ติดต่อ: ชเวธา ปราบู

อีเมล: [email protected]

โทร: +91(0)22-61727001

แหล่งข่าว: ยูบีเอ็ม อินเดีย

-ปป-

ข่าวมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ+ยูบีเอ็มอินเดียวันนี้

UMB India จัดงานประชุม Giving Back – NGO India 2013 มุ่งสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่าง NGO รัฐบาล และองค์กรธุรกิจ

หลังจากที่มีการแก้ไขร่างกฎหมายขององค์กรธุรกิจของอินเดียเมื่อเร็วๆนี้ อินเดียก็กลายเป็นประเทศแรกที่ดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม (CSR) ตามกฎเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ คณะกรรมาธิการสามัญด้านการเงินระบุว่า ควรหักผลกำไรสุทธิเฉลี่ยของบริษัทที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 5 พันล้านรูปีขึ้นไป หรือบริษัทที่มีรายรับประจำปีอย่างน้อย 1 หมื่นล้านรูปี หรือมีผลกำไรสุทธิ 50 ล้าน หรือมากกว่านั้น ในอัตรา 2% จากปีการดำเนินงานของบริษัท 3 ปี เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรม CSR (โลโก้: http://photos.prnewswire

นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที... บลจ.ไทยพาณิชย์ เสนอขาย SSF 16 กองทุน ครอบคลุมทุกสินทรัพย์ — นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด...

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน จ่ายเงินปันผลครั้งแรก 0.25 บาท ในวันที่ 15 ม.ค. นี้

รายงานข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ กองทุนบัวหลวง เปิดเผยว่า กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ) เตรียมจ่ายเงินปันผลครั้งแรก ในอัตรา 0.25 บาทต่อหน่วยลงทุน โดยจะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน...

ก.ล.ต. เตรียมปรับปรุงแนวทางการดำรงสภาพคล่องของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนตราสารหนี้

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักการปรับปรุงแนวทางการดำรงสภาพคล่องของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนตราสารหนี้ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและนโยบายรับซื้อและชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนมากขึ้น รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมกองทุนรวม ...

นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริ... ภาพข่าว: ทีมผู้บริหาร KTAM แถลงผลงานปี 61 — นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM (ที่ 3...

นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการบริษ... KTAM ตั้งเป้าปี 6 1 AUM โต 8.38 แสนล้าน ปลื้ม KTEF ครองที่ 1 ผลงาน 5 ปี ทั้ง AIMC-Morningstar — นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดกา...

นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริ... KTAM เพิ่มทางเลือกเปิดขายKT25/75เน้นสะสมมูลค่า จับกลุ่มนักลงทุนรับโอกาสผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้ — นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จ...

นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริ... KTAMเพิ่มทางเลือกเปิดขายKT25/75เน้นสะสมมูลค่า จับกลุ่มนักลงทุนรับโอกาสผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้ — นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จั...