MPA นิด้าหวั่น กนง.หั่นดอกเบี้ยนโยบายเสียของ! ชี้ ‘ส่วนต่าง’ ดอกเบี้ยอุปสรรคกระตุ้นเศรษฐกิจ-จี้ดูแลสเปรดแบงก์พาณิชย์

กรุงเทพฯ--28 พ.ค.--มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์

ผู้อำนวยการหลักสูตร MPA สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) จี้แบงก์ชาติดูแลส่วนต่าง (สเปรด) ดอกเบี้ยแบงก์พาณิชย์ หวั่น กนง. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่จะกลายเป็นเสียของเปล่าๆ หากแบงก์พาณิชย์ไม่ตอบสนองต่อการตัดสินใจของ กนง. หรือตอบสนองด้วยการลดดอกเบี้ยตาม แต่ลดในอัตราส่วนที่น้อยกว่า ย้ำหากต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ หนุนการลงทุน ต้องดูแลส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝากแบงก์พาณิชย์ให้เหมาะสม รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (MPA) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า หลังจากสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ประกาศอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในไตรมาสแรกปี 2556 ที่มีการเติบโต 5.3% ต่ำกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ทำให้มีการประเมินว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ 29 พฤษภาคมนี้ กนง.อาจจะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และเพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท รวมถึงยังทำให้อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการค้า การลงทุน และการส่งออกของประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตาม มีความเป็นห่วงว่า แม้ว่า ที่ประชุม กนง. จะตัดสินใจปรับลดนโยบายดอกเบี้ยลงมา แต่ก็อาจจะไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ทุกฝ่ายตั้งความหวังไว้ โดยเฉพาะในส่วนของภาคการลงทุนและการส่งออก ที่เป็นฟันเฟืองของเศรษฐกิจที่อาจจะไม่สามารถขับเคลื่อนได้เต็มที่ หากธนาคารพาณิชย์ที่ทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคเอกชน ไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สอดคล้องกับทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งนี้ หลายครั้งที่ผ่านมาจะพบว่า ภายหลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติ ธนาคารพาณิชย์มักจะปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากลงมาในอัตราเท่ากับการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ฝั่งดอกเบี้ยสินเชื่อเงินกู้ กลับปรับลดลงมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งทำให้ภาระต้นทุนทางการเงินของภาคเอกชนไม่ได้ลดลงอย่างที่ควรจะเป็น “การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติ ไม่ว่าจะเป็น 0.25% หรือ 0.50% จะไม่บรรลุเป้าหมายที่ต้องการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ หากธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อให้แก่การค้าการลงทุนของภาคเอกชน ไม่ยอมปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงมาเท่ากับการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย โดยมุ่งหวังแต่ผลกำไรของธนาคารมากกว่า ทำให้ภาคเอกชนไม่ได้รับประโยชน์จากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอย่างที่ควรจะเป็น” รศ.ดร.มนตรี กล่าว ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่แบงก์ชาติต้องทำหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการเงินในประเด็นดังกล่าว โดยดูแลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเงินกู้และเงินฝาก (สเปรด) ของธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อเอื้อต่อการให้ภาคเอกชนลงทุน และสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้-กภ-

ข่าวสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์+สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตวันนี้

เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล ผนึก NIDA เปิดการอบรมหลักสูตร "ผู้บริหารระดับสูงด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม"

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตร"ผู้บริหารระดับสูงด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม" หรือ NIDA Bio Circular Green Economy Executive Program (NIDA BCG) จัดโดย เวฟ บีซีจี (Wave BCG) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โดยมีนายถิรพงศ์ คำเรืองฤทธิ์ (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล หรือ (WAVE) และรศ. ดร.ดนุวัศ สาคริก (ซ้าย) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์

นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ... บางจากฯ แบ่งปันแนวคิดการจัดการงานสื่อสาร แนวคิดการบริหารธุรกิจอย่างมีสมดุล เพื่อความยั่งยืน — นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยื...

โบลท์ ร่วมฉลองวันปลอดรถโลก พร้อมการเติบโต... โบลท์ (Bolt) เผยสถิติ คนไทยมีแนวโน้มหันมาเลือกการเดินทางแบบปลอดมลพิษมากขึ้น — โบลท์ ร่วมฉลองวันปลอดรถโลก พร้อมการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของหมวดรถยนต์ไฟฟ้า (...

บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL ผู... PHOL เปิดบ้านต้อนรับนักศึกษาปริญญาตรีควบโท วิศวกรรมการเงิน KMITL-NIDA เยี่ยมชมบริษัท — บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL ผู้ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายสิน...