ฟรอสต์ฯ แนะทางรอดธุรกิจไทย จากปัจจัยการขึ้นค่าแรง

กรุงเทพฯ--9 ม.ค.--ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน

ฟรอสต์ฯ แนะ ธุรกิจไทย สร้างภูมิคุ้มกันทางธุรกิจ รองรับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาทิ การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท การเปิด AEC ปัญหาขาดแคลนแรงงานปัญหายืดเยื้อยุโรปที่กระทบส่งออก ดร. มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก เผยถึง 6 แนวทางหลัก เพื่อใช้ในการเตรียมความพร้อมสำหรับธุรกิจไทย ในยุค 3G ดังนี้ 1. Technology Adoptionการนำเทคโนโลยีมาใช้โดยลงทุนหรือเช่าซื้อระบบการทำงานและควบคุมให้เป็นไปแบบอัตโนมัติและปราศจาก human error ปัจจุบันมีการใช้งานด้านไอทีในธุรกิจ SMEไทยอยู่ไม่ถึง 10% ในขณะที่ธุรกิจรายย่อยในมาเลเซียมีการใช้ไอทีกว่า 30% และในสิงคโปร์กว่า 50% ฉะนั้นผู้ประกอบการไทยควรเปิดใจเรื่องเทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว ปัจจุบัน มีคู่ค้ามากมายที่พร้อมจะอบรมและให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและมีโมเดลทางธุรกิจหลากหลายให้เลือกเช่น Turnkey, Leasing, ManagedServiceขึ้นอยู่กับงบประมาณและการจัดสรรเงินลงทุน 2. Effective Logisticsปัจจุบันต้นทุนเฉลี่ยด้านโลจิสติกส์ของธุรกิจไทยอยู่ประมาณ 15-18% ของต้นทุนทั้งหมดขณะที่มาเลเซียอยู่ที่ไม่เกิน 12% และสิงคโปร์อยู่ที่ไม่เกิน 8% กระบวนการด้านโลจิสติกส์ไม่ได้มีแค่การขนส่งแต่รวมถึงต้นทุนการจัดการ supply chain เริ่มตั้งแต่การบริหารวัตถุดิบให้เป็นไปตามความต้องการ (demand-based production planning) เพื่อทำให้การเก็บของในคลังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการจัดการสินค้าคงคลังโดยประเมินค่าใช้จ่ายต่อพื้นที่ตรม. ว่าเยอะกว่าทั่วไปหรือไม่ลองศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบการจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า และประเมินแนวทางการ outsource ให้ logistic service providers (LSPs) ซึ่งมีอยู่มากมายซึ่งอาจบริหารได้ดีกว่าการทำเอง อีกทั้งยังสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้สะดวกและดีกว่า 3. Core Business Focusการดำเนินธุรกิจอาจมีหลายส่วนที่ไม่ใช่โฟกัสในธุรกิจเราแต่เราต้องทำเช่นงานบริหารบุคคลบัญชีการเงินไอทีฯลฯลองประเมินดูว่างานเหล่านี้มันกินทรัพยากรของคุณไปขนาดไหนทั้งด้านต้นทุนเวลาและจำนวนคนถ้าเป็นไปได้พยายามทำให้ธุรกิจ “Lean” ให้มากที่สุดแปลว่าบางเบาคล่องตัวฉับไวอยู่เสมอและใช้ทรัพยากรที่มีให้โฟกัสในเรื่องการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการหรือสร้าง Core Competency ให้เหนือคู่แข่งและ outsource ส่วนที่ไม่ใช่ core ออกไปให้ผู้เชี่ยวชาญดูแล 4. Cost Allocationการจัดการบุคคลากรต้องมีประสิทธิภาพโดยการแบ่งสรรต้นทุนพนักงานเข้าไปยังแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานนั้นๆต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าทุกรายหัวที่ถูกจัดสรรไปสามารถเพิ่มประสิทธิผลของหน่วยงานนั้นๆโดยออกมาเป็นรูปแบบเนื้องานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือรายได้ที่เพิ่มขึ้นถ้าไม่ทำเช่นนั้นการวัดผลจะไม่ชัดเจนทำให้ไม่รู้ว่าจำนวนคนที่มีอยู่ในบริษัทมีจำนวนมากไปหรือน้อยไปหรือไม่การทำ cost และ resource allocation ต้องมีเรื่องการทำเป้าผลงานและ KPI พ่วงไปด้วยจึงจะเกิดผลสูงสุด 5. Market Expansionการหาตลาดใหม่ซึ่งการขยายฐานลูกค้ามี 3 ทางคือ (1) ลูกค้าเดิมและมัดใจโดยวิธีการบริการและหาสินค้าไลน์ใหม่ๆมาขายให้ลูกค้า (2) ลูกค้าของคู่แข่งโดยการเจาะตลาดคู่แข่งทำได้โดยการเข้าหาลูกค้าคู่แข่งแล้วดูว่าเขาพอใจกับเจ้าปัจจุบันหรือไม่ยังมีอะไรที่เราสามารถแทรกเข้าไปได้ค่อยๆเข้าไปแล้วทำให้เขาประทับใจกับจุดแข็งของเรา (3) ฐานลูกค้าใหม่ๆลองหาโอกาสของ application ใหม่ๆที่สินค้าเราสามารถทดแทนสินค้าประเภทอื่นเช่นวัสดุ PE ทดแทนเหล็กเป็นต้นหรืออาจเป็นการเข้าตลาดใหม่เช่นอาเซียนแต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจ value chain ของตลาดนั้นๆแล้วมาวิเคราะห์ว่าเราจะอยู่ตรงไหนและต้องติดต่อกับใครการเข้าใจ value chain ทำให้เราเห็นภาพโดยรวมและสามารถกำหนดแผนงานในอนาคตได้ 6. Relocationการย้ายฐานเพื่อเข้าถึงแหล่งแรงงานราคาถูกเป็นคำตอบสุดท้ายหากทั้งหมดที่แนะนำไปไม่สามารถตอบโจทย์ได้ที่ไว้เป็นอันดับท้ายสุดเพราะแนวทางนี้มีความเสี่ยงจริงอยู่ประเทศเพื่อนบ้านค่าแรงอาจจะถูกกว่าไทยแต่ความเสี่ยงเรื่องอื่นเช่นนโยบายและกฏหมายบางตัวอาจเป็นผลเสียต่อธุรกิจได้ยกตัวอย่างธุรกิจไทยรายหนึ่งเข้าไปเปิดโรงงานในเวียดนามแต่กลับถูกฟ้องกว่าหลายร้อยล้านบาทจากทางหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของที่นั่นหรือการเปิดโรงงานในพม่าซึ่งมีความซับซ้อนเรื่องกฏหมายการครองที่ดินแถมที่ดินยังมีราคาแพงยิ่งร้ายกว่านั้นโรงงานที่ต้องมีการดำเนินเครื่องจักรอยู่ตลอดเวลาอาจประสบปัญหาการผลิตหยุดชะงักเพราะไฟตกฉะนั้นต้องใคร่ครวญโดยการทำ ROI (Return on Investment) และ ERA (Enterprise Risk Assessment) หรือประเมินความเสี่ยงให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะย้ายณ.ตอนนี้ธุรกิจไทยบางส่วนได้มีการย้ายที่ตั้งไปเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะธุรกิจสิ่งทอและเซรามิคโดยฐานที่ใหม่ยอดฮิตคือประเทศลาวและกัมพูชารองลงมาคือพม่าและเวียดนาม -กภ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน+มนธ์สินี กีรติไกรนนท์วันนี้

ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ประกาศแต่งตั้ง โกะ อิง ลอก เป็นผู้จัดการประจำประเทศไทย

ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน (ประเทศไทย) ประกาศแต่งตั้ง โกะ อิง ลอก เป็นผู้จัดการประจำประเทศไทย โดยมีผลทันที มร.โกะ อิง ลอก ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการประจำประเทศไทยแทน นางสาว มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ซึ่งลาออกจากบริษัทเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2555 โดย มร.โกะจะขึ้นตรงต่อนายคาวาน มุตยา หุ้นส่วนบริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน “การแต่งตั้งครั้งนี้บ่งบอกว่า ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจในประเทศไทยมากขึ้น” นายมุตยากล่าว มร.อิง ลอก จะ

ฟรอสต์ฯ แนะทางรอดธุรกิจไทย จากปัจจัยการขึ้นค่าแรง

ฟรอสต์ฯ แนะ ธุรกิจไทย สร้างภูมิคุ้มกันทางธุรกิจ รองรับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาทิ การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท การเปิด AEC ปัญหาขาดแคลนแรงงานปัญหายืดเยื้อยุโรปที่กระทบส่งออก ดร. มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน...

ฟรอสต์ฯ เผย โอบามาชนะเลือกตั้ง ปธน. สหรัฐฯ ส่งผลดีต่อประชาคมอาเซียน

แม้คะแนนที่ออกมายังไม่เป็นทางการ แต่ การที่ โอบามา"นำรอมนีย์อยู่274:201เสียง คว้าชัยได้เกินครึ่ง 270 ชนะทันที ดร. มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกได้ให้ความ...

ฟรอสต์ฯเผย ไม่มีใครสามารถ ‘ควบคุม’ อินเตอร์เน็ต ได้อย่างแท้จริง

ฟรอสต์แอนด์ ซัลลิแวน เผย ข้อเสนอของ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ในการควบคุมอินเตอร์เน็ต จะมีทั้งการต่อต้านและสนับสนุนจากนานาประเทศเนื่องจากที่ผ่านมาเนื้อหาในอินเตอร์เน็ตไม่ได้มีการควบคุมดูแลเท่าที่ควร ดร. มนธ์สินี กีรติไกรนนท์...

ฟรอสต์ฯ แนะ ธุรกิจไทยปรับใช้โมเดล EHL มาใช้เพื่อเตรียมตัวก้าวสู่ AEC

ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน แนะ ธุรกิจไทยปรับใช้โมเดล EHL เพื่อวางแผนระยะยาว และปรับตัวเข้าสู่ AEC หลายธุรกิจต้องการขยายตลาดออกสู่ AEC แต่ไม่มีประสบการณ์ ทั้งในด้านการกระจายสินค้า และการทำตลาดในต่างประเทศ ดังนั้น การทำความเข้าใจตลาด...

ฟรอสต์ฯ แนะนักลงทุนไทย อยากไปพม่า อย่าใจร้อน

ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน แนะ นักลงทุนไทยควรศึกษาทางเลือกในการเข้าไปทำธุรกิจในพม่าให้รอบคอบเสียก่อน แล้วค่อยตัดสินใจ ดร. มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกกล่าวว่า จากผลการศึกษาในภาพรวม...

ฟรอสต์ฯ แนะ ลงทุนในพม่า อย่าใจร้อน

ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน แนะ นักลงทุนไทยควรศึกษาทางเลือกในการเข้าไปทำธุรกิจในพม่าให้รอบคอบเสียก่อน แล้วค่อยตัดสินใจ ดร. มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกกล่าวว่า จากผลการศึกษาในภาพรวม ถึงโอกาส...

ฟรอสต์ฯ แนะนักลงทุนไทยอย่าใจร้อน

ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน แนะ นักลงทุนไทยควรศึกษาทางเลือกในการเข้าไปทำธุรกิจในพม่าให้รอบคอบเสียก่อน แล้วค่อยตัดสินใจ ดร. มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกกล่าวว่า จากผลการศึกษาในภาพรวม ถึงโอกาส...

ฟรอสต์เผย เมกกะเทรนด์ 2012: เทรนด์ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงบนโลกใบนี้และประเทศไทย

ดร. มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ได้เปิดเผยว่า บริษัท ฟรอสต์ฯ ได้ทำการสำรวจประจำปีเพื่อวิเคราะห์ถึงแนวโน้มและเทรนด์ของเทคโนโลยี ที่จะ...

ฟรอสต์ฯคาด คลาวด์คอมพิวติ้งของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 50% ภายในปี 55

ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตของคลาวด์คอมพิวติ้งของประเทศไทยในปี 2555 จะเพิ่มขึ้นในปีนี้อย่างรวดเร็ว จาก 32% เป็น 50% สืบเนื่องจากความต้องการในการลดภาระการลงทุนเรื่องอุปกรณ์และการใช้งาน...