ภาพข่าว: เยอรมนีจับมือประเทศไทย พัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และฉลากสิ่งแวดล้อม

กรุงเทพฯ--21 ก.ย.--GIZ

ในภาพ (จากซ้าย)นายชเวง จาว ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยดร.อูลฟ์ แยคเคิล หัวหน้ากองคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และมาตรฐาน กระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติและความปลอดภัยทางปรมาณูแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMU)นางสาวอาระยา นันทโพธิเดช รองอธิบดี กรมควบคุมมลพิษมร.โทมัส เลมันน์ ผู้อำนวยการโครงการ “การจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและฉลากสิ่งแวดล้อม” องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และดร.ไชยยศ บุญญากิจ รองประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ในงานเปิดตัวโครงการ “การจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและฉลากสิ่งแวดล้อม” ซึ่งถูกดำเนินงานเพื่อพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและฉลากสิ่งแวดล้อม ให้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศ ในเกณฑ์ข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ตลอดจนประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานนี้ไปสู่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของภูมิภาค โครงการฯ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ และความปลอดภัยทางปรมาณูแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในการดำเนินโครงการ 3 ปี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 ถึงเดือนมิถุนายน 2558 โดยมี GIZ กรมควบคุมมลพิษ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ต้นปี 2554 โดยรัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้รวม 3 หน่วยงานด้านการพัฒนา ได้แก่ สำนักงานบริการด้านการพัฒนาของเยอรมัน (DED) สำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน (GTZ) และสำนักงานพัฒนาศักยภาพระหว่างประเทศ (InWEnt) เข้าไว้ด้วยกัน ความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างไทยและเยอรมันดำเนินมาเป็นเวลา 55 ปีแล้ว โดย GIZ ปฏิบัติงานในนามของรัฐบาลเยอรมัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการร่วมมือกับประเทศไทยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน+สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยวันนี้

GGC-GIZ ต่อยอดความสำเร็จ "การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน สู่การผลิตปาล์มน้ำมันคาร์บอนต่ำ"

บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ ประจำประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันรายย่อย 4 จังหวัดภาคใต้ร่วมกันต่อยอดความสำเร็จ ประกาศยกระดับจากการผลิตปาล์มอย่างยั่งยืนสู่การผลิตปาล์มน้ำมันแบบคาร์บอนต่ำ โดยลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding) โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Sustainable Palm Oil

นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแ... กรมพัฒนาฝีมืองานร่วม giz ติวเข้มครูช่างแอร์ ใช้สารทำความเย็นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม — นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มอบหมายให้นางจิรวรรณ ส...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้เข้าร่ว... ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมโครงการ Capacity development on Ecolabel establishment ...

องค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมั... เกษตรฯ จับมือภาคเอกชน เดินหน้าขยายอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยสู่ตลาดโลก — องค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RSPO) และองค์กรความร่วมมือระหว่า...

กฟผ. ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเท... กฟผ. จับมือ GIZ สานต่อการส่งเสริมเทคโนโลยีทำความเย็นสีเขียว สู่เป้าหมาย Carbon Neutrality — กฟผ. ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เดิ...

(จากซ้าย) นายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการ... ไทย ไรซ์ นามา เดินหน้ามาตรการทางการเงิน พร้อมสนับสนุนเกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพการทำนาลดโลกร้อน — (จากซ้าย) นายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือร...