เยอรมนีจับมือประเทศไทย พัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และฉลากสิ่งแวดล้อม

กรุงเทพฯ--21 ก.ย.--GIZ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ และความปลอดภัยทางปรมาณูแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เปิดตัวโครงการ “การจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและฉลากสิ่งแวดล้อม” เพื่อพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและฉลากสิ่งแวดล้อม ให้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศ ในเกณฑ์ข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ตลอดจนประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานนี้ไปสู่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของภูมิภาค การดำเนินโครงการการจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและฉลากสิ่งแวดล้อมนี้ นอกจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ และความปลอดภัยทางปรมาณูแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบหลักแล้ว ยังมีพันธมิตรที่เกี่ยวข้องได้แก่ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมดำเนินการโครงการ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงาน 3 ปี ตั้งแต่เดีอนมิถุนายน 2555 ถึงเดือนมิถุนายน 2558 นางสาวอาระยา นันทโพธิเดช รองอธิบดี กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “กิจกรรมภายใต้โครงการฯ มีความสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการพัฒนากลไกด้านการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการนี้มุ่งเน้นการปรับปรุงเกณฑ์ข้อกำหนดของการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาครัฐซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของปริมาณการบริโภคทั้งหมดภายในประเทศและฉลากสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมหลักเกณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ นับว่าได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนสำคัญ ที่ภาครัฐและเอกชนใช้พิจารณาในการเลือกซื้อสินค้าและบริการเดียวกัน ที่จะนำไปสู่การบริโภคอย่างยั่งยืนของประเทศได้ ในขณะเดียวกันการส่งเสริมและเผยแพร่แนวทางการดำเนินงานทั้งในประเทศไทยและกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ ภายใต้บริบทของการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน ก็มีความสำคัญในการดำเนินการเข้าสู่ AEC ในปี 2558 ต่อไป นอกจากนี้โครงการฯ ยังจะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ฯ ในแผนส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยระยะที่สอง (พ.ศ.2555-2559)” มร. โทมัส เลมันน์ ผู้อำนวยการโครงการ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) กล่าวว่า “การผนวกเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศไว้ในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐและฉลากสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในปัจจุบัน นับเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างสังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ดังนั้น GIZ จะทำงานร่วมกับกรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผนวกหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อพัฒนาฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและศึกษาเปรียบเทียบเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศกับประเทศในกลุ่มอาเซียนรวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ พร้อมจัดทำข้อมูลพื้นฐานเพื่อประเมินปริมาณการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมของโครงการฯ ตลอดจนเผยแพร่แนวทางดำเนินงานของประเทศไทย ไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของภาครัฐ และฉลากสิ่งแวดล้อมที่คำนึงถึงการปกป้องสภาพภูมิอากาศ” องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ เป็นองค์กรของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่ปฏิบัติงานในนามของรัฐบาลเยอรมันเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและร่วมมือด้านการศึกษากับนานาประเทศ GIZ ยังปฏิบัติภารกิจในนามของรัฐบาลของประเทศต่างๆ และองค์กรนานาชาติ อาทิ สหภาพยุโรป องค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย รวมทั้งบริษัทเอกชนต่างๆ -กผ-

ข่าวองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน+กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวันนี้

GGC-GIZ ต่อยอดความสำเร็จ "การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน สู่การผลิตปาล์มน้ำมันคาร์บอนต่ำ"

บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ ประจำประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันรายย่อย 4 จังหวัดภาคใต้ร่วมกันต่อยอดความสำเร็จ ประกาศยกระดับจากการผลิตปาล์มอย่างยั่งยืนสู่การผลิตปาล์มน้ำมันแบบคาร์บอนต่ำ โดยลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding) โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Sustainable Palm Oil

นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแ... กรมพัฒนาฝีมืองานร่วม giz ติวเข้มครูช่างแอร์ ใช้สารทำความเย็นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม — นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มอบหมายให้นางจิรวรรณ ส...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้เข้าร่ว... ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมโครงการ Capacity development on Ecolabel establishment ...

องค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมั... เกษตรฯ จับมือภาคเอกชน เดินหน้าขยายอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยสู่ตลาดโลก — องค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RSPO) และองค์กรความร่วมมือระหว่า...

กฟผ. ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเท... กฟผ. จับมือ GIZ สานต่อการส่งเสริมเทคโนโลยีทำความเย็นสีเขียว สู่เป้าหมาย Carbon Neutrality — กฟผ. ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เดิ...

(จากซ้าย) นายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการ... ไทย ไรซ์ นามา เดินหน้ามาตรการทางการเงิน พร้อมสนับสนุนเกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพการทำนาลดโลกร้อน — (จากซ้าย) นายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือร...