เร่งเสนอคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพวางยุทธศาสตร์ผลิต 'แพทย์ครอบครัว' ป้อนชุมชนทั่วประเทศ แนะรัฐประกาศนโยบายปฐมภูมิที่จับต้องได้ พัฒนาคุณภาพบริการเพื่อคุณภาพชีวิตประชาชน

กรุงเทพฯ--3สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ต.ค.--สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

เตรียมเสนอคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ จัดทำยุทธศาสตร์ขยายแพทย์ครอบครัวให้บริการในโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ สอดคล้องธรรมนูญสุขภาพ ขณะที่นักวิชาการหนักใจไร้แพทย์รุ่นใหม่สนใจเรียน ล่าสุดเหลือปีละ 20 คน พบสารพัดปัญหาตั้งแต่ขาดครูผู้สอนไปจนถึงขาดแรงจูงใจในการทำงาน ส่งผลเลือกเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางอื่นกันหมด เมื่อเร็วๆนี้ ทีมเลขานุการคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ โดย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกัน จัดเวทีเสวนา แผนกำลังคน "แพทย์ครอบครัว" สู่ภาพพึงประสงค์ของระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ โดยมีผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อาจารย์โรงเรียนแพทย์และนักวิชาการเข้าร่วม ณ ห้องประชุมสานใจ 2 อาคารสุขภาพแห่งชาติ นนทบุรี นพ.นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขมุ่งเน้นการส่งเสริมบุคลากรที่เป็น "แพทย์ครอบครัว" (Family Medicine) ให้ครอบคลุมประชากรอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลในเขตเมืองและชนบท แพทย์ครอบครัวจะทำหน้าที่ตอบสนองระบบบริการสาธารณสุขแบบปฐมภูมิ ด้วยรูปแบบให้บริการที่เน้นไปยังตัวบุคคล ครอบครัวและชุมชนเป็นหลัก ขณะนี้มีแพทย์ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งสิ้น 14,956 คน ดูแลประชากร 55 ล้านคน (ไม่รวม กทม.) ซึ่งในอนาคตจะมีการวางระบบพัฒนากำลังคนใหม่ เพื่อให้เกิดแพทย์ครอบครัวในอัตราส่วนที่มากขึ้น เมื่อเทียบกับแพทย์รักษาโรคโดยทั่วไป ทั้งนี้ การมุ่งเน้นรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิ ถือเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 หมวด 6 เรื่องบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ ข้อ 46 ระบุให้รัฐส่งเสริมการให้บริการสาธารณสุขปฐมภูมิ ที่จัดโดยแพทย์หรือบุคลากรด้านสาธารณสุขประจำครอบครัว เพื่อให้บริการครอบคลุมอย่างทั่วถึงทั้งเขตเมืองและชนบท โดยต้องทำงานในเชิงรุกเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนร่วมกับท้องถิ่น ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชื่อต่อกับระบบบริการสาธารณสุขอื่นๆ โดยมีระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ พญ.สายพิณ หัตถีรัตน์ จากเครือข่ายร่วมพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะแนวใหม่ ได้นำเสนอสถานการณ์การผลิตแพทย์เฉพาะทาง สาขาเวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศไทยว่า อัตราการเพิ่มของแพทย์ครอบครัวอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากเป็นสาขาที่ไม่ได้รับความนิยมจากแพทย์รุ่นใหม่ แต่ละปีมีผู้สมัครเรียนเฉพาะทางประมาณ 20 คนเท่านั้น ซึ่งการเรียนเวชศาสตร์ครอบครัวเคยได้รับความนิยมในช่วงแรกๆ หลังการประกาศนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะบทบาทแพทย์ครอบครัวที่กลับไปงานในโรงพยาบาลไม่ชัดเจน และไม่ได้รับการยอมรับเหมือนแพทย์เฉพาะทางอื่นๆ จนถึงปัจจุบัน มีแพทย์ครอบครัวที่ได้รับวุฒิบัตรจำนวน 309 คน แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ที่ยังปฏิบัติหน้าที่แพทย์ครอบครัว ที่เหลือเปลี่ยนทางไปเรียนเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น “ปัญหาที่เราพบคือ ไม่มีนโยบายที่จะสนับสนุนการผลิตแพทย์กลุ่มนี้จริงๆ และปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดคือ จำนวนครูผู้สอนไม่เพียงพอ และเมื่อแพทย์เรียนจบแล้วทำงานได้ไม่นาน ก็ลาออก จนถึงขณะนี้มีชมรมเครือข่ายเวชศาสตร์ครอบครัวอยู่ไม่เกิน 150 คน ที่อยู่ในระบบและยังปฏิบัติการอยู่" พญ.สายพิณกล่าว ด้าน พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน เพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาแพทย์ครอบครัวโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ทุนเรียนแบบ in service ผ่านการสอนและฝึกปฏิบัติในศูนย์การเรียนรู้เวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งเพิ่มมากขึ้นจากปี 2552 ที่มีเพียง 4 แห่ง เป็น 18 แห่งทั่วประเทศในพื้นที่หลักๆ เช่น ขอนแก่น เชียงใหม่ นครราชสีมา ทำให้ปัจจุบันมีแพทย์ครอบครัวกระจายตัวอยู่ในโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน รพ.สต. สถานบริการสาธารณสุขชุมชน สำนักอนามัย กทม. เป็นต้น ทำหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยในครอบครัว บริการไปเยี่ยมตามบ้าน การให้ความรู้ในการป้องกันโรคต่างๆ ช่วยให้การบริการของโรงพยาบาลในระดับพื้นที่ดีขึ้น เป็นการสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิ แต่ปัญหาคือ แพทย์ครอบครัวเหล่านี้ถูกใช้ทำงานที่หลากหลายไม่ตรงกับสาขาที่เรียนมา ผู้บริหารโรงพยาบาลยังไม่เข้าใจในความสามารถเฉพาะทาง และเงินเดือนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับสาขาอื่นๆ ทำให้ลาออกไปศึกษาต่อเพิ่มเติมถึง 30-40% นพ.กสิวัฒน์ ศรีประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา หนึ่งในศูนย์การเรียนรู้เวชศาสตร์ครอบครัว กล่าวว่า โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัด 12 กิโลเมตร จึงเหมาะกับการให้บริการสาธารณสุขปฐมภูมิ ปัจจุบันมีแพทย์ครอบครัวประจำอยู่จำนวน 3 คน ดูแลพื้นที่มีประชากรรวมกัน 5 หมื่นคน ซึ่งที่ผ่านมาได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากจากประชาชนดีมาก และสามารถเติมเต็มการทำงานของโรงพยาบาลให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น เนื่องจากแพทย์ครอบครัวมีหน้าที่ติดตามผู้ป่วยที่กลับไปรักษาตัวที่บ้านอย่างต่อเนื่องเป็นรายกรณี ทำให้เกิดการดูแลรักษาครบวงจร อย่างไรก็ตาม ภาครัฐจำเป็นต้องสร้างแรงดึงดูดใจให้เกิดการศึกษาด้านเวชศาสตร์ครอบครัวมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันนิสิต นักศึกษานิยมเรียนแพทย์เฉพาะทางมากกว่า เพราะรายได้ดีกว่าและมีความก้าวหน้าทางอาชีพเหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด เสนอให้หาแพทย์ครอบครัวตัวอย่าง (ไอดอล) ของแพทย์ที่ประสบความสำเร็จในสาขานี้ เพื่อเป็นแรงจูงใจที่เป็นรูปธรรมให้แพทย์รุ่นใหม่ๆ และ ยังเสนอให้มีการสนับสนุนบุคลากรในท้องถิ่นเข้ามาศึกษาและฝึกอบรมเป็นแพทย์ครอบครัวให้มากขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้จะมีความต่อเนื่องในการทำงานในพื้นที่ มากกว่าแพทย์ครอบครัวที่ย้ายมาจากที่อื่น ซึ่งจะประจำที่โรงพยาบาลชุมชนได้ไม่นานก็ลาออกไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง เพราะเห็นว่ามีอนาคตที่ดีกว่า นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข เลขานุการคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ สรุปข้อเสนอจากการประชุมว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นควรให้มีนโยบายระดับชาติเพื่อสนับสนุนบริการปฐมภูมิที่ชัดเจน โดยให้มีทีมบุคลากรสาธารณสุขที่ประกอบด้วยหลากหลายวิชาชีพร่วมกันดูแลประชาชน และมีแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม หากใช้เป้าหมายแพทย์ครอบครัว 1 คนดูแลประชาชน 10000 คน แบบที่ สปสช.วางไว้ จะต้องมีกำลังคนแพทย์ครอบครัวอย่างน้อย 6000 คน นอกจากนี้บทบาทหน้าที่ของแพทย์ครอบครัวต้องชัดเจน ทั้งในฐานะผู้ให้บริการ ผู้พัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของสถานบริการ และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขประจำครอบครัวของโรงพยาบาลและสถานบริการชุมชนอื่นๆ เช่น รพ.สต. ตลอดจนต้องมีนโยบายและแรงจูงใจเพื่อธำรงรักษาแพทย์ครอบครัวไว้ในระบบ ข้อเสนอทั้งหมดจะนำเสนอต่อคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติที่จะประชุมในวันที่ 29 ตุลาคมนี้ เพื่อผลักดันการพัฒนายุทธศาสตร์การทำงานต่อไป -กผ-

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ+สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขวันนี้

สวรส. หนุนวิจัยพัฒนาระบบสุขภาพคนกรุง

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับ 5 หน่วยงาน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในนามคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 13 กทม. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพในพื้นที่ กทม. และระดมความเห็นถึงแนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่ กทม. โดยมี นายทวีศักดิ์

เมื่อวันที่ 17 ต.ค.59 ที่บริเวณชั้น 1 อาค... สวรส. สช. สรพ. ร่วมถวายความอาลัย และรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ — เมื่อวันที่ 17 ต.ค.59 ที่บริเวณชั้น 1 อาคารสุขภาพแห่งชาติ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ประกอบด้...

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เปิดเวที... สวรส. เปิดเวทีประชาพิจารณ์แผน 5 ปี รับคลื่นยักษ์ 3 ลูกใหญ่ระบบสุขภาพ — สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนยุทธศาสตร์ สวรส...

ข้อมูลจากงานวิจัย “ทบทวนสถานการณ์การส่งเส... ฟื้น “แพทย์แผนไทย” เติมเต็มระบบสุขภาพ งานประชุม “วิจัย...เปลี่ยนชีวิต” มีคำตอบ!! — ข้อมูลจากงานวิจัย “ทบทวนสถานการณ์การส่งเสริมการใช้และพัฒนาภูมิปัญญาท้อง...

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นเจ้า... สวรส.เป็นเจ้าภาพประชุม 15 หน่วยงาน พรบ.เฉพาะ — สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการเชื่อมโยงงาน...

เปิด “หอประวัติศาสตร์สุขภาพ” แหล่งเรียนรู้ร่องรอยระบบสุขภาพไทย อันทรงคุณค่า

หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคี ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) และ...

ชวนร่วมงานเปิด “หอประวัติศาสตร์สุขภาพ” ย้อนเวลาตามร่องรอยระบบสุขภาพไทย

หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคี ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) และ...

สพช.จับมือภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ จัดอบรมการใช้เครื่องมือพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ตั้งเป้าขยาย 600 ตำบลภายใน 3 ปี

สพช.จับมือภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ จัดอบรมการใช้เครื่องมือพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ตั้งเป้าขยาย 600 ตำบลภายใน 3 ปี สร้างชุมชนจัดการสุขภาพตนเองได้ ยก “เมืองแก” เป็นต้นแบบในการเรียนรู้ ด้าน “นพ...

เร่งเสนอคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพวางยุทธศาสตร์ผลิต 'แพทย์ครอบครัว' ป้อนชุมชนทั่วประเทศ แนะรัฐประกาศนโยบายปฐมภูมิที่จับต้องได้ พัฒนาคุณภาพบริการเพื่อคุณภาพชีวิตประชาชน

เตรียมเสนอคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ จัดทำยุทธศาสตร์ขยายแพทย์ครอบครัวให้บริการในโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ...

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เชิญร่วมพิธีเปิด งานมหกรรมสมุนไพร ครั้งที่ 6

กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การเภสัชกรรม สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา...