คปก.ชงออกกฎหมายร่วมทุนในกิจการของรัฐ เสนอแก้ไขขอบเขตบังคับใช้ รวมสัมปทานปิโตรเลียม-แร่

กรุงเทพฯ--2 พ.ย.--สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ....เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ภายหลังจากคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายศึกษาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับดังกล่าว รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยเห็นควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับดังกล่าวใน 2 ประเด็นหลักคือ กรณีขอบเขตการบังคับใช้ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พิจารณาเห็นว่า การกำหนดข้อยกเว้นในร่างมาตรา 7 ในเรื่องการให้สัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมและการให้ประทานบัตรตามกฎหมายว่าด้วยแร่ให้ไม่อยู่ภายใต้บังคับของร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ เป็นการไม่สมควร เนื่องจากการให้สัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมและการให้ประทานบัตรตามกฎหมายว่าด้วยแร่นั้น ถือเป็นการอนุญาตให้เอกชนเข้ามาใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติของประเทศโดยมุ่งแสวงหาผลกำไร จึงควรมีการควบคุมตรวจสอบอีกขั้นตอนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หากเห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีกฎหมายกำหนดกระบวนการพิจารณาการให้เอกชนร่วมลงทุนและการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินโครงไว้อย่างเพียงพอแล้ว ก็ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขในร่างมาตรา 7 วรรคสอง ซึ่งกำหนดให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติฉบับนี้มาใช้บังคับแก่การเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐในเรื่องนั้น คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จึงเห็นควรให้มีการตัดข้อยกเว้นของร่างมาตรา 7 วรรคหนึ่งออก แต่ยังคงหลักเกณฑ์ในร่างมาตรา 7 วรรคหนึ่งไว้ สำหรับมาตรา 7 วรรคสอง ของร่างพระราชบัญญัติฯ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พิจารณาเห็นว่า การกำหนดข้อยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้มาใช้บังคับหากมีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะ ก็หมายความว่าฝ่ายนิติบัญญัติได้มอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารกำหนดกระบวนการพิจารณาการให้เอกชนร่วมลงทุนกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินโครงการได้ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการกำหนดหลักเกณฑ์โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการนิติบัญญัติอีก คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จึงเห็นชอบกับหลักเกณฑ์ดังกล่าวที่กำหนดให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยกเว้นไม่ให้นำร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้มาใช้กับกรณีที่ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐซึ่งกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ทั้งนี้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขเพิ่มเติม ให้กระบวนการพิจารณาและกระบวนการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โดยกำหนดให้คณะกรรมการฯ ดังกล่าวทำหน้าที่พิจารณาและกลั่นกรอง การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเห็นควรให้มีการเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในข้อยกเว้นของร่างมาตรา 7 วรรคสอง “ในกรณีที่กิจการของรัฐในเรื่องใดมีกฎหมายกำหนดกระบวนการพิจารณาการให้เอกชนร่วมลงทุนและการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินโครงการไว้อย่างเพียงพอแล้วจะตราพระราชกฤษฎีกาโดยให้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนเพื่อยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติฉบับนี้มาใช้บังคับแก่การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐในเรื่องนั้นก็ได้” กรณีคุณสมบัติของคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ตั้งข้อสังเกตว่าการกำหนดให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ควรกำหนดคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้หรือมีความเชี่ยวชาญ อาทิเช่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขานิติศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงิน การบัญชี หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้นคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เห็นควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในข้อยกเว้นของร่างมาตรา 9 “การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 8 ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในสาขานิติศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงิน การบัญชี หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อโดยวิธีการสรรหา ” นอกจากนี้เพื่อให้มีการกำหนดนโยบายของรัฐที่ชัดเจนและแน่นอนในการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐครบถ้วน โปร่งใส และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ อีกทั้งสนับสนุนการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน จึงจำเป็นต้องมีการตราร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยเร็ว ติดต่อ: สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย : OFFICE OF LAW REFORM COMMISSION OF THAILAND อาคารซอฟต์แวร์ ปาร์ค ชั้น๑๙ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทร.๐ ๒๕๐๒ ๖๐๐๐ ต่อ ๘๒๗๘ โทรสาร. ๐ ๒๕๐๒ ๖๐๐๐ ต่อ ๘๒๗๔ -กผ-

ข่าวคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย+สภาผู้แทนราษฎรวันนี้

สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จัดแถลงข่าวเรื่อง "ความคืบหน้าการดำเนินงานคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อกำกับการปฏิรูปกฎหมาย"

ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมทำข่าว การแถลงข่าวเรื่อง "ความคืบหน้าการดำเนินงานคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อกำกับการปฏิรูปกฎหมาย" และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมี ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมการที่ปรึกษาเพื่อกำกับการปฏิรูปกฎหมาย การแถลงข่าวจะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๖.๓๐-๑๗.๑๕ น. ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ชั้น ๑๖ อาคารซอฟต์แวร์ปาร์ค ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด

สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ขอเรียนเชิญเข้าร่วมการสัมมนาวิชาการ การปฏิรูปกฎหมายสิ่งแวดล้อม

ขอเรียนเชิญเข้าร่วมการสัมมนาวิชาการ การปฏิรูปกฎหมายสิ่งแวดล้อม กำหนดการ การสัมมนาวิชาการ : การปฏิรูปกฎหมายสิ่งแวดล้อม วันพุธที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ โรงแรมสุโกศล...

คปก.หนุนประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง พร้อ... คปก.หนุนปชช.เข้าชื่อเสนอกม. แนะสภาต้องพิจารณาภายใน 180 วัน — คปก.หนุนประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง พร้อมแนะให้สภาต้องพิจารณาร่างกฎหมายฉบับประชาชนภายใน 180 ...

สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จัดงานครบรอบ 4 ปี คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เรื่อง "ปฏิรูปกฎหมายท้าทายปฏิรูปประเทศ"

ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมทำข่าว งานครบรอบ 4 ปี คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เรื่อง "ปฏิรูปกฎหมายท้าทายปฏิรูปประเทศ" ในวันพุธที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๘.๓๐-๑๕.๓๐ นาฬิกา ณ ศูนย์ประชุมวายุภักดิ์...

คปก.เดินหน้ายกระดับกม.แรงงานไทยสู่สากล แนะถึงเวลาปฏิรูปชำระกม.แรงงาน

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดย นาย คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง “แนวทางการจัดทำประมวลกฎหมายแรงงานและร่างพระราชบัญญัติการบริหารแรงงาน พ.ศ....” เสนอต่อนายกรัฐมนตรี...

สถาบันสิทธิมนุษยชนฯ ม.มหิดลจับมือศูนย์ศึกษาสันติภาพฯ จุฬาฯ เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมถกแถลงรัฐธรรมนูญ

สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วม “การประชุมถกแถลงรัฐธรรมนูญ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้...

คปก.แนะปฏิรูปกระบวนยุติธรรมแรงงาน ต้องแยกศาลแรงงานออกจากศาลยุติธรรม ค้านข้อเสนอตั้งแผนกคดีแรงงานในศาลอุทธรณ์ไม่ตอบโจทย์

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดย นาย คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง “ข้อเสนอต่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยการแยกศาล...

คปก.ยันรธน.ต้องรับรองสิทธิเสรีภาพสื่อ-ห้ามการเมืองครอบงำ ปฏิรูปสื่อต้องโปร่งใส-ตรวจสอบได้ แนะออกกฎหมายรองรับองค์กรวิชาชีพสื่อฯ

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดย นาย คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง “การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน...

คปก.คลอดกฎหมายสิทธิชุมชน ดึงปชช.มีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรท้องถิ่น รับรองสถานะตามกฎหมายเทียบเท่านิติบุคคล ลดความขัดแย้งชุมชน-รัฐ

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดย นาย คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้ส่งบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง “แผนการให้มีกฎหมายว่าด้วยสิทธิชุมชน” และ...

คปก.จับมือกท.พาณิชย์เดินหน้าเตรียมความพร้อมรองรับกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ จัดสัมมนา “เตรียมพร้อม...รองรับกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ” ณ ห้องประชุม 30404 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยมีพลเอกปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ...