ปฏิรูปยุติธรรมแรงงานเสนอออกข้อกำหนดศาลแรงงานพิจารณาคดีพิเศษ

กรุงเทพฯ--23 เม.ย.--สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

เมื่อวันที่ 23 เมษายน เครือข่ายการขับเคลื่อนเพื่อปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงาน ประกอบด้วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก กลุ่มสหภาพแรงงานสระบุรีและใกล้เคียง กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาและใกล้เคียง กลุ่มสหภาพแรงงานย่านปู่เจ้าสมิงพราย กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ เข้ายื่นหนังสือข้อเสนอปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานต่อนางสุนี ไชยรส ประธานคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคมในคณะกรรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) นายชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ กรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคมและนายไพโรจน์ พลเพชร ที่ปรึกษากรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม ทั้งนี้เครือข่ายการขับเคลื่อนเพื่อปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานได้เข้าหารือกับคปก.เพื่อชี้แจงประเด็นปัญหาในระบบและกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีแรงงานมีความเหมาะสมหรือมีความเป็นธรรมหรือไม่ ขณะที่ระบบการพิจารณาคดีแรงงาน พบปัญหาทั้งเรื่องเวลาการพิจารณาคดีที่ล่าช้า เนื่องจากมีพยานเป็นจำนวนมาก รวมถึงภาระการพิสูจน์บางอย่างยังพิสูจน์ได้ยากซึ่งศาลไม่ใช้ระบบไต่สวน จึงมีข้อเสนอจากเครือข่ายฯให้ปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งด้านแรงงานหรือคดีแรงงานให้มีหลักประกันในสิทธิขั้นพื้นฐาน ให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมเนื่องจากเรื่องนายจ้างไม่ใช่เรื่องทางแพ่งแต่เป็นเรื่องของการผลิตและความมั่นคงของมนุษย์และสังคม การดำเนินการในกระบวนการพิจารณาคดีของศาลแรงงานควรให้ความสำคัญกับการคุ้มครองลูกจ้างที่จัดตั้ง รวมตัวหรือเป็นกรรมการตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดหรือลูกจ้างที่เข้าร่วมในองค์กรหรือการเจรจาต่อรองร่วมตามกฎหมาย เครือข่ายฯมีข้อเสนอว่าควรออกข้อกำหนดศาลแรงงานในการพิจารณาคดีที่มีลักษณะพิเศษ เช่นคดีแรงงานที่เกี่ยวกับวิกฤติเศรษฐกิจหรือภัยพิบัติร้ายแรงงาน คดีแรงงานที่เกี่ยวกับการเจ็บป่วยหรือการได้รับสารเคมีจากการทำงาน ขณะเดียวกันควรออกข้อกำหนดศาลแรงงานเกี่ยวกับระยะเวลาในการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลฎีกา เช่น ในแต่ละชั้นไม่ควรเกิน 1 ปี เว้นแต่คดีมีความยุ่งยากซับซ้อน เพื่อให้มีกรอบเวลาการพิจารณาคดีที่เหมาะสมเป็นธรรม ประกอบกับการพัฒนาแรงงานให้เป็นศาลทีมีความเชี่ยวชาญหรือชำนาญการพิเศษ อย่างไรก็ตามพบว่ายังมีหลายมาตราในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ที่ให้อำนาจศาลแรงงานแต่ในทางปฏิบัติมักจะไม่ได้ใช้อำนาจดังกล่าวโดยเห็นว่าเป็นดุลพินิจของศาล ไม่ใช่บทบังคับศาลประเด็นปัญหานี้จึงควรจะมีมาตรการแก้ปัญหาเพื่อให้เป็นหน้าที่หลักของศาลในการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในคดีแรงงาน ล่าสุด คปก.ได้รับข้อเสนอดังกล่าว โดยจะนำไปพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคมในคณะกรรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) ในวันที่ 24 เมษายนนี้ -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์+กระบวนการยุติธรรมวันนี้

ปฏิรูปยุติธรรมแรงงานเสนอออกข้อกำหนดศาลแรงงานพิจารณาคดีพิเศษ

เมื่อวันที่ 23 เมษายน เครือข่ายการขับเคลื่อนเพื่อปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงาน ประกอบด้วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก กลุ่มสหภาพแรงงานสระบุรีและใกล้เคียง กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาและใกล้เคียง กลุ่มสหภาพแรงงานย่านปู่เจ้าสมิงพราย กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ เข้ายื่นหนังสือข้อเสนอปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงานต่อนางสุนี ไชยรส ประธานคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคมในคณะกรรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) นายชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์

คุณจุมพล ชูวงษ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา ช่วยทำง... สำนักงานศาลยุติธรรมอบรมด้านความยุติธรรม — คุณจุมพล ชูวงษ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลอาญา ให้เกียรติมา...

วันที่ 25 กันยายน 2566 กาญจนา เรืองสิริวิ... รองผอ.สำนักงานยุติธรรมกล่าวเปิดงาน ที่โรงแรมเซ็นทราฯ ศูนย์ราชการ — วันที่ 25 กันยายน 2566 กาญจนา เรืองสิริวิชญกุล ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทา...

กาญจนา เรืองสิริวิชญกุล ผู้จัดการทั่วไป โ... งานสมัชชาสิทธิมนุษยชน ณ โรงแรมเซ็นทราฯ ศูนย์ราชการ — กาญจนา เรืองสิริวิชญกุล ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์...

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ผนึกความร่วมมือก... TIA ผนึกความร่วมมือศาลยุติธรรมลุยอบรมกฎหมาย Class Action — สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ผนึกความร่วมมือกับ สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม เดินหน้า...

การประชุมนานาชาติว่าด้วยความยุติธรรม ปิดฉากลงแล้วในกรุงริยาด

การประชุมนานาชาติว่าด้วยความยุติธรรม ซึ่งจัดโดยกระทรวงยุติธรรมของซาอุดีอาระเบีย ( MOJ) ได้ปิดฉากลงแล้วอย่างเป็นทางการในกรุงริยาด การประชุมตลอดระยะเวลา 2 วันพร้อมผู้เข้าร่วมกว่า 4,000 คนในวงการยุติธรรมทั่วโลก เพื่อหารือเกี่ยวกับบทบาทของเทคโน...

การประชุมนานาชาติว่าด้วยความยุติธรรม เปิดฉากขึ้นแล้วในกรุงริยาด

การประชุมนานาชาติว่าด้วยความยุติธรรม ( ICJ) ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงยุติธรรมซาอุดีอาระเบีย (MOJ) มอบเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับอนาคตและการใช้ระบบดิจิทัลในกระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางกฎหมายทั่วโลก เปิดฉากวันแรก...

แรงงานนอกระบบร้องคปก.ชงกระทรวงแรงงาน คลอดกฎกระทรวงคุ้มครองสิทธิคนทำงาน

สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ผู้แทนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ คนทำงานบ้านจากหลายจังหวัด เช่น ขอนแก่นปัตตานี เชียงราย และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพกว่า ๓๐ คน เข้าพบ คปก. โดยนางสุนี ไชยรส ศ.ดร.เสาวนีย์ อัศวโรจน์ นายชัยสิทธิ์...