TCELS ลงนามความร่วมมือสถาบันราชานุกูล มหิดล และ NECTEC พัฒนาระบบตรวจวินิจฉัยการเกิดดาวน์ซินโดรม

กรุงเทพ--19 มี.ค.--TCELS

ราชานุกูล / กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ร่วมกับ สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิคและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ลงนามความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการการพัฒนาระบบตรวจวินิจฉัย เพื่อคัดกรองการเกิดดาวน์ซินโดรม ของทารกในครรภ์ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2555 ณ สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต นายกำจร พลางกูร รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีด้านชีววิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการตรวจวิเคราะห์ภาวะปัญญาอ่อนที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่พบได้ประมาณ1 ใน 600 คน ของการคลอดทั้งหมด และเป็นการตรวจคัดกรองจากการเจาะเลือดมารดาก่อนการตรวจโครโมโซมที่มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ทั้งนี้แต่เดิมการตรวจด้วยวิธีการดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000 บาท แต่ความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้ราคาค่าตรวจลดลงกว่าครึ่ง ด้านนายแพทย์วีรยุทธ ประพันธ์พจน์ หัวหน้าศูนย์วิจัยพันธุศาสตร์การแพทย์ สถาบันราชานุกูล กล่าวว่าปัจจุบันกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ใช้วิธีการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจจำเพาะโครโมโซม ซึ่งวิธีการนี้เสี่ยงต่อการแท้งบุตร จึงนิยมทำเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง คืออายุ 35 ปีขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป คืออายุต่ำกว่า 35 ปี เด็กในครรภ์มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดาวน์ซินโดรมได้เช่นกัน การคัดกรองจึงหันมาเลือกใช้วิธีเจาะเลือดมารดาเพื่อตรวจระดับสารเคมีในกระแสเลือด สารเคมีดังกล่าวได้แก่ Alpha-Fetoprotein(AFP), Human Chorionic gonadotropin (HCG), unconjugated estriol (uE3)หรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อTriple Test ซึ่งในปัจจุบันการตรวจด้วยวิธีดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงคือประมาณ 1,000 – 2,000 บาท นายแพทย์วีรยุทธ กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่า แต่ละปีมีหญิงตั้งครรภ์จำนวน 800,000 คน และประมาณ 700,000 คน เป็นหญิงอายุต่ำกว่า 35 ปี ในจำนวนนี้ 5% หรือประมาณ 35,000 คน อยู่ในกลุ่มผิดปกติในขณะที่หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปซึ่งต้องเจาะโครโมโซมนั้น มีจำนวน 100,000 คน หรือประมาณ 1,000 คน อยู่ในกลุ่มผิดปกติไม่เกิน 3% เท่ากับ 97% เจาะโครโมโซมฟรี ดังนั้นความร่วมมือในครั้งนี้จะทำหญิงตั้งครรภ์ทุกคนเข้าถึงบริการการคัดกรองก่อนการเจาะโครโมโซม ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร นายแพทย์วีรยุทธ กล่าวว่า เป็นที่น่ายินดีว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ได้เห็นถึงความสำคัญของการคัดกรองดังกล่าวแก่หญิงตั้งครรภ์ทุกคน เพื่อลดภาวะดาวน์ซินโดรมของประชากรใหม่ในประเทศ ซึ่งจะมีการนำเสนอเพื่อให้ครอบคลุมในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในอนาคต ดังนั้นหากกระบวนการนี้สำเร็จจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะสุขภาพดีถ้วนหน้าของประชาชนทั้งประเทศต่อไป -กภ-

ข่าวศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์+กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

งานประชุมวิชาการสารอาหารและสารพฤกษเคมี

สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดงานประชุมวิชาการสารอาหารและสารพฤกษเคมี ครั้งที่ 1 ในวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2562 เวลา 08.00 16.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ การจัดงานประชุมวิชาการครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ในด้านการวิจัยทางโภชนาการรวมไปถึงการทดสอบเพื่อประกอบการขึ้นทะเบียนกับ อย. โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ฝ่ายโปร

ที่มา: ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาตร์... ทีเซลส์ จับมือจุฬาฯ แถลงผลวิจัยสำเร็จใช้เซลล์นักฆ่ารักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว — ที่มา: ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศ...

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ค... ทีเซลส์ ขับเคลื่อนงานประชุมระดับนานาชาติ “หุ่นยนต์ทางการแพทย์” — กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรื...

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์คว... ทีเซลส์ ผลักดันเทคโนโลยีระดับห้องปฏิบัติการสู่การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ — กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์ก...

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ค... ทีเซลส์ ขับเคลื่อนงานประชุมระดับนานาชาติ “หุ่นยนต์ทางการแพทย์” — กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรื...

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์คว... ทีเซลส์ ขับเคลื่อนการใช้เซลล์ต้นกำเนิดของไทยด้วยเครือข่ายนักวิจัยเซลล์ต้นกำเนิด — กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (อ...