สช. สานพลังเครือข่ายสมัชชาฯ พลิกวิกฤตเป็นโอกาส พัฒนาระบบจัดการภัยพิบัติ พร้อมรับมือทุกมหันภัยในอนาคต

กรุงเทพฯ--1สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ม.ค.--สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสำนักงานปฏิรูป (สปร.) พร้อมภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพกว่า ๒๐ องค์กรทั่วประเทศ ได้เปิดเวทีระดมสรรพกำลัง แปลงวิกฤตเป็นโอกาส เตรียมความพร้อมทั้งระบบการจัดการเพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ก่อนส่งบันทึกบทเรียนเพื่อพัฒนาร่างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ๒-๔ กุมภาพันธ์ ศกนี้ ที่สหประชาชาติ กรุงเทพฯ จากสถานการณ์มหาอุทกภัยในปี ๒๕๕๔ ซึ่งนับเป็นภัยครั้งใหญ่ในรอบ ๕๐ ปี ได้สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยยังขาดความรู้และทักษะ รวมทั้งประสบการณ์ในการรับมือกับภัยพิบัติ ทั้งในระดับการป้องกันและเตรียมความพร้อม ตลอดจนระดับการฟื้นฟูเยียวยา ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ยังเผยให้เห็นวิกฤตอีกมากมาย เช่น วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมและภูมินิเวศ วิกฤติประสิทธิภาพของภาครัฐ เฉพาะอย่างยิ่ง วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ขยายผลกระทบอย่างกว้างขวาง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และ สำนักงานปฏิรูป (สปร.) จึงเปิดเวที “สังเคราะห์บทเรียน : จากมหาอุทกภัย สู่ข้อเสนอการพัฒนาระบบจัดการภัยพิบัติ” ขึ้นระหว่างวันที่ ๙-๑๐ มกราคม ๒๕๕๕ ที่โรงแรม ปริ๊นซ์ พาเลซ โดยผนึกกำลังเครือข่ายสมัชชาสุขภาพกว่า ๒๐ องค์กรทั่วประเทศ อาทิ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายจิตอาสา สมาคมนักผังเมืองไทย เครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สสส.) เป็นต้น โดยลักษณะการจัดประชุมจะจัดรูปแบบเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาประเด็นย่อย ๆ ภายใต้ระบบจัดการภัยพิบัติ นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวถึงเป้าหมายสำคัญในการจัดเวทีครั้งนี้ว่า จากมหาอุทกภัยที่ผ่านมา ทุกฝ่ายไม่ควรปล่อยให้วิกฤตครั้งนี้ผ่านไปโดยปราศจากการทบทวนบทเรียนใดๆ และแทนที่จะเห็นเพียงด้านลบของหายนะ ทุกภาคส่วนน่าจะพลิกเปลี่ยนความทุกข์เป็นความหวังและโอกาสครั้งสำคัญที่จะได้หันหน้าร่วมมือกันโดยใช้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติเป็นเวทีสาธารณะในการสร้างระบบการจัดการภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งนี้ คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้เห็นชอบให้ดำเนินงานภายใต้แนวคิดหลักเรื่องการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติอยู่ก่อนแล้ว แต่ด้วยมหาอุทกเหตุที่ผ่านมา จึงเป็นเหตุสุดวิสัยต้องเลื่อนการจัดงานออกไปอีกเป็นวันที่ ๒-๔ กุมภาพันธ์ โดยระหว่างนี้ จะเร่งใช้เวลาในการปรับปรุงร่างข้อเสนอเชิงนโยบายฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ทาง สช. จึงจับมือกับ สปร. และภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพอีกกว่า ๒๐ หน่วยงานทั่วประเทศ ระดมความคิด ความรู้ และประสบการณ์ ร่วมประชุมกันอย่างจริงจังในการสร้างระบบจัดการภัยพิบัติอย่างรอบด้านและมีประสิทธิภาพที่สุด” นายแพทย์ พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ในฐานะประธานคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็นการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดเวทีสังเคราะห์บทเรียนครั้งนี้ว่า เมื่อกำลังของภาครัฐในการรับมือกับภัยพิบัติเป็นไปอย่างจำกัด ชุมชนและภาคประชาสังคมจำต้องพึ่งตนเอง บทเรียนจากภัยพิบัติหลายครั้ง ทั้งในและนอกประเทศที่ผ่านมา เตือนให้ชุมชนต้องริเริ่มจัดวางระบบและการจัดการต่าง ๆ ในการรับมือกับภัยพิบัติทุกประเภทอย่างจริงจัง โดยอาศัยทุนทางสังคมของตน แล้วเสริมด้วยฐานพลังความรู้เชิงวิชาการและพลังทางสังคมจากทุกเครือข่าย “ชุมชนต่าง ๆ มีการสรุปบทเรียน หลังจากที่ผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำป่าที่ภาคใต้หลายปีที่ผ่านมา หรือย้อนหลังไปที่เหตุการณ์ดินถล่มที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จนมาถึงอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา ชุมชนได้เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตนเองโดยไม่รอความช่วยเหลือจากภาครัฐ ซึ่งเห็นได้ชัดในจังหวัดพัทลุงที่โดนพายุเมื่อปลายปี ๒๕๕๓ ชุมชนขอแค่ความช่วยเหลือในเบื้องต้น เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง แต่หลังจากนั้น ชุมชนก็ร่วมมือกันในการจัดการตัวเอง” ในขณะที่ประธานเครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม ภารณี สวัสดิรักษ์ กล่าวถึงความเหมาะสมในการวางผังเมืองของประเทศไทยวันนี้ “เส้นทางการไหลของน้ำที่ท่วมทั้งลำน้ำและทุ่งนาที่ผ่านมา ชวนให้ทุกฝ่ายจำต้องหันกลับมาทบทวนการวางผังเมืองว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร โดยเริ่มจากการพิจารณาแผนและเหตุผลของการวางผังเมืองในอดีตและปัจจุบัน การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคม ความสอดคล้องต่อทิศทางการพัฒนาประเทศ ความรู้ในเชิงภูมิศาสตร์ และปัจจัยทางการเมืองที่มีส่วนสำคัญต่อการใช้พื้นที่ตลอดจนรายจ่ายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มองไม่เห็น แต่รู้ได้” ด้านนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวเสริมในส่วนระบบการแพทย์การสาธารณสุขเพื่อรับมือภัยพิบัติว่า ระบบการแพทย์ในสถานการณ์คับขัน จำเป็นต้องได้รับการสังเคราะห์บทเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยครั้งต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ระบบการสื่อสาร การจัดการอาหาร เครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นทุกชนิด ยานพาหนะสำหรับการขนส่ง และขยะ การเตรียมระบบการออกหน่วยพยาบาลเคลื่อนที่ การเตรียมสถานที่รักษาผู้ป่วยนอกสถานพยาบาล ระบบการเคลื่อนย้ายคนไข้ออกจากพื้นที่ประสบภัย การฝึกฝนเสริมทักษะให้แก่บุคลากรสาธารณสุขและอาสาสมัครในช่วงวิกฤต ตลอดจนการวางแผนระยะยาว เช่น กฎหมายควบคุมอาคารสถานพยาบาลที่ต้องอำนวยต่อการทำงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน “กระทรวงสาธารณสุขได้ตื่นตัว เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตั้งแต่ก่อนสถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาแล้ว พอเกิดน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ก็ยิ่งเห็นจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงด่วน สุดท้ายก็ได้หลักการ ๒P ๒R คือเริ่มตั้งแต่การเตรียมพร้อมด้านต่าง ๆ (Preparation) ตั้งแต่ทรัพยากรเวชภัณฑ์จำเป็นกระทั่งการส่งต่อผู้ป่วย การวางระบบป้องกัน (Prevention) ที่มีประสิทธิภาพ เช่น การข่าว และการประสานกับเครือข่ายเฝ้าระวัง ส่วนการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉิน (Response) นี่ก็สำคัญ จึงแบ่งคณะทำงานจัดการแต่ละเรื่องโดยเฉพาะ ทั้งหมดมี ๑๐ เรื่อง และก็ต้องมีการจัดการหลังเกิดภัยแล้ว (Rehabilitation) ซึ่งจะเป็นเรื่องของการฟื้นฟูเยียวยา ทั้งคน สิ่งแวดล้อม สถานบริการ รวมถึงงบประมาณด้วย” วงสังเคราะห์บทเรียนครั้งนี้ได้จำแนกหัวข้อไว้ ๙ ประเด็นย่อย อาทิ พลังชุมชนจัดการภัยพิบัติอย่างยั่งยืน ระบบการแพทย์การสาธารณสุขเพื่อรับมือภัยพิบัติ ระบบข้อมูลและระบบสื่อสารเพื่อการจัดการภัยพิบัติ และผังเมืองกับการจัดการพื้นที่เสี่ยงภัย เป็นต้น โดยข้อสรุปที่ได้จากเวทีสังเคราะห์บทเรียนครั้งนี้ จะนำไปใช้พัฒนาระบบบริหารจัดการภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นอีกหลายครั้งในอนาคต รวมทั้งยังจะนำบทเรียนดังกล่าวไปปรับปรุงร่างข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งได้เลื่อนจัดเป็นวันที่ ๒-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ติดตามความเคลื่อนไหวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ทาง www.samatcha.org ติดตามชมการถ่ายทอดสดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ทาง www.healthstation.in.th ประสานงาน : สำนักการสื่อสารทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) นายเอกชัย เอื้อธารพิสิฐ (เอก) 02-8329148

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ+สมัชชาสุขภาพแห่งชาติวันนี้

"อนุทิน" ปลื้ม ! WHO ยกย่องเวที 'สมัชชาสุขภาพไทย' บันทึกเป็น 'ผลงานเด่น' เผยแพร่ทั่วโลก

"อนุทิน" เปิดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ย้ำบทเรียนความสำเร็จคุมโควิด-19 ของไทย เกิดจากบูรณาการทุกภาคส่วน ชี้สงครามโรคครั้งนี้ยังไม่ยุติ จำเป็นต้องเว้นระยะห่างทางสังคมต่อไป ด้านผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ชี้ กระบวนการสมัชชาสุขภาพไทย เป็นกลไกที่ทรงพลัง พร้อมบันทึกเป็น "ผลงานเด่น" ในคู่มือ WHO เผยแพร่ทั่วโลก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และภาคีเครือข่าย ได้จัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2563

เปิดรายงานสุขภาพคนไทย ๒๕๕๗ สัญญาณอันตรายจาก 'โรคอ้วน'

เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวหนังสือ "รายงานสุขภาพคนไทย ๒๕๕๗" ณ ลานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ พ.ศ...

รางวัล 'สมัชชาอะวอร์ด' ถึงรอบตัดเชือก

สช. เตรียมประกาศรางวัลสมัชชาอวอร์ดปีที่ ๒ เบื้องต้นคัดเลือก ๓ จังหวัด ๓ พื้นที่ และ ๓ กรณี โดดเด่นที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ก่อนคัดเลือกรอบสุดท้ายเหลือ ๓ พื้นที่ พร้อมมอบรางวัลเพื่อเป็นเกียรติประวัติในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖...

***ยกเลิกงานแถลงข่าว***สช. จัดงานแถลงข่าว สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2556 “สานพลัง สร้างสุขภาวะชุมชน”

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จะจัดงานแถลงข่าว สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2556 “สานพลัง สร้างสุขภาวะชุมชน” ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลา 10.00-12.00 น. ณ...

ลงดาบโฆษณาอาหารและยาเกินจริง ขู่ปรับ ๕ แสนบาท - ยึดใบอนุญาต

สช.ผนึกกำลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ควบคุม โฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริงเสนอเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖ อย.เร่งแก้กฎหมายเพิ่มโทษปรับและจำคุก ขณะที่ กสทช.นำร่องเอาผิดทีวีดาวเทียมแล้ว...

สช. เสนอ ครม. ยืนหลักการสังคมไทยต้องปลอดแร่ใยหิน สุขภาพแลกด้วยเงินไม่ได้

เลขาธิการคสช.ย้ำสังคมไทยต้องไร้แร่ใยหินตามมติคณะรัฐมนตรีมาตรการขับเคลื่อนสังคมไทยไร้แร่ใยหิน เป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และตามข้อมูลทางวิชาการชี้ชัดว่าแร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ...

ภาพข่าว: พิธิเปิดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5

นายเทวัญ ทรัพย์แสนยากร ศิลปินเพลงร่วมในพิธิเปิดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 มื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2555 มีภาคีเครือข่ายทั่วประเทศเข้าร่วมประชุมกว่า 3,000 คน และยังมีกิจกรรมทางวิชาการต่างการแสดงดนตรี และบูธ...

เครือข่ายภาครัฐและเอกชนผนึกกำลังเตือนภัย'แร่ใยหิน' เตรียมรายงานความคืบหน้าในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติธ.ค.นี้

ภาครัฐและเอกชนเดินหน้าผลักดันมติครม.หนุนสังคมไทยปลอดภัยจากแร่ใยหิน ดึงกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างและเอสเอ็มอีสมาชิกสภาหอการค้า-สภาอุตสาหกรรมฯเข้าร่วม ขณะที่สคบ.เดินหน้าคุมฉลากเตือนอันตรายผู้บริโภค...

สช. จัดงาน “สุขภาพในนโยบายสิ่งแวดล้อม”

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เรียนเชิญร่วมงานแถลงข่าว สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ “สุขภาพในนโยบายสิ่งแวดล้อม”โดย ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ อ.กรรณิการ์ บันเทิงจิตร รอง...

สช. จัดงานแถลงข่าว สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 “ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ”

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เรียนเชิญร่วมงานแถลงข่าวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555“ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ” ร่วมเปิด 8 ระเบียบวาระในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดย ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา...