สช.เจาะประเด็น เผยฤทธิ์สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ สร้างสังคมสุภาวะรับผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ไขกุญแจความสำเร็จในการริเริ่มสร้างระบบดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง มติจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ชี้คุณค่าสมัชชาสุขภาพแห่งชาติจากการสานพลังทุกภาคส่วน รุดหน้าขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ พร้อมประกาศความพร้อมสำหรับสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 วันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ ศกนี้ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
เวที “สช.เจาะประเด็น” หัวข้อ “คุณค่ามติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ : สุขภาวะผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง” ได้รายงานความคืบหน้าในการผลักดันมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2552 ชื่อมติ “การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง” ซึ่งต้องนำเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ.2554 อันเป็นไปตามที่ระบุในมติดังกล่าว
นายสุพัฒน์ ธนะพิงค์พงษ์ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า “เรื่องการนำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติเป็นเรื่องที่ทาง คสช. (คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) ให้ความสำคัญมาก จึงได้ตั้งกลไกที่ชื่อ คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หรือ คมส. เป็นกลไกทำหน้าที่วางกลยุทธ์การขับเคลื่อน โดยเน้นการประสานความร่วมมือกับองค์กร หน่วยงาน และพื้นที่ต่าง ๆ ให้เข้ามาทำงานร่วมกัน ซึ่งในช่วงสามปีที่ผ่านมา มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ก่อให้เกิดคุณค่าต่อสังคมหลายด้าน อาทิ เป็นสิ่งที่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้คนที่ทำงานในเรื่องเดียวกันให้เข้ามาร่วมกับออกแบบการทำงาน มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ จัดตั้งกลไกทำงาน เกิดการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมตามที่มติกำหนด นอกจากนั้น ยังมีองค์กร หน่วยงานทั้งในส่วนกลางและพื้นที่ นำมตินี้ไปอ้างอิงในการจัดทำแผนงาน โครงการต่างๆ มากมาย
“อย่างไรก็ตาม ยังพบปัญหาอุปสรรคที่ท้าทายต่อการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างการรับรู้ต่อสังคมในวงกว้าง การสร้างความเป็นเจ้าของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติขององค์กร หน่วยงาน และพื้นที่ร่วมกัน สำหรับในเรื่องการนำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงนั้น ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ คือเป็นมติที่นำไปสู่การสร้างเครือข่ายการทำงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ให้เข้ามาทำงานร่วมกัน มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละองค์กร แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแบ่งปันกันจึงถือเป็นกระบวนการทำงานที่ถือเป็นตัวอย่างการทำงานที่ดีตัวอย่างหนึ่ง”
ด้านนายแพทย์นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยว่าที่มาของมตินี้เกิดขึ้นจากปัญหาด้านโครงสร้างประชากรที่มีผู้สูงอายุในประเทศเพิ่มสูงขึ้นรวมกว่า 8 ล้านคน ถือเป็นสัญญาณแจ้งให้รัฐและเอกชนจำต้องสานพลังกับภาควิชาการและประชาสังคม เร่งเตรียมการวางระบบการดูแลพลเมืองกลุ่มนี้ เฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้
“มติผู้สูงอายุเป็นเรื่องของคุณภาพชีวิตในสังคม หากมีการขับเคลื่อนนโยบายด้านสังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุย่อมได้รับประโยชน์นี้แน่นอน และจากการทำงานที่ผ่านมา เราพบว่าการขับเคลื่อนนโยบายระดับชาติต้องประกอบไปด้วย 4 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน ซึ่งต้องช่วยกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและเหมาะกับผู้สูงอายุ องค์กรพัฒนาเอกชนควรสร้างสถานบริการอย่างเหมาะสม ภาครัฐเองก็ต้องจัดทำมาตรฐานของระบบการดูแล พร้อมปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของผู้สูงอายุ”
เหตุผลสำคัญที่สังคมควรให้ความใส่ใจในการเตรียมระบบการดูแลระยะยาวให้แก่ผู้สูงวัยเหล่านี้คือการลดภาวะพึ่งพิงของประชากรกลุ่มนี้ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน หากระบบที่ได้รับการจัดเตรียมไว้รับมือกับปัญหานี้มีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับรัฐถึงท้องถิ่น ทุกชีวิตในสังคมก็จะมีคุณภาพ ผู้สูงอายุในครัวเรือนและชุมชนจะครองชีวิตด้วยตนเองอย่างสมศักดิ์ศรี ไม่เป็นภาระแก่สังคม
“หากผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิงสูง รัฐก็จะยิ่งต้องเข้าไปให้การคุ้มครอง หนุนเสริมคุณภาพชีวิตให้ดำรงอยู่ได้อย่างสมศักดิ์ศรีและอยู่ร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีความสุข” นายแพทย์นันทศักดิ์ กล่าว
สาระสำคัญข้อหนึ่งในมติดังกล่าวคือการให้หน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงสาธารณสุข รับหน้าที่ในการริเริ่มสร้างกลไกระบบดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง โดยกำหนดให้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐานหลักในการดูแล ซึ่งคณะรัฐมนตรีสมัยนั้น (เดือนมีนาคม 2553) ได้มีมติให้ความเห็นชอบให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ซึ่งต่อมา กผส.ได้แต่งตั้งกลไกขับเคลื่อนโดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน โดยได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการผลักดันและขับเคลื่อนประเด็นการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (3ปี พ.ศ.2554-2556) ที่ระบุสามประเด็นหลัก มุ่ง บูรณาการโดยพร้อมเพรียงทั้งระดับท้องถิ่น ส่วนกลาง เป็นกรอบในการดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.อ.หญิง ดร.ศิริพันธุ์ สาสัตย์ อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สะท้อนให้เห็นบทบาทของภาครัฐต่อความก้าวหน้าของระบบการดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง ซึ่งปัจจุบัน นับว่าได้รับการพัฒนามากขึ้น อาทิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงแรงงาน ได้เพิ่มหลักสูตรอบรมให้แก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุด้านสุขภาพผู้สูงอายุและหลักสูตรอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุสำหรับพนักงานที่ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ยังเข้ามาร่วมวางมาตรการทางสังคมให้ชัดเจนขึ้น รวมทั้งสภาการพยาบาล ยังได้ร่างมาตรฐานสถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรังเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน ระบบการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวก็คืบหน้าไปมากในการพัฒนาการเตรียมตัวและการอบรมก่อนออกจากสถานพยาบาล ที่เหลือคือการเชื่อมประสานข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างโรงพยาบาล ชุมชน และครัวเรือน
“สังคมไทยต้องสร้างค่านิยมใหม่ และต้องเริ่มทำความเข้าใจครอบครัวที่ขาดทักษะในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ซึ่งบางกรณีก็ต้องการการดูแลที่ซับซ้อน ต้องใช้ทักษะทางการพยาบาลในการดูแล ซึ่งเกินความสามารถของครอบครัวจริง ๆ เราต้องทำให้ญาติไม่รู้สึกผิดที่พาผู้ใหญ่ไปสถานพยาบาล ซึ่งสถานบริบาลก็ต้องรู้ว่าตัวเองต้องดูแลผู้สูงอายุให้ได้มาตรฐาน ไม่ใช่ดูแลเพียงอยู่ไปวันๆ” ผศ.ร.อ.หญิง ดร.ศิริพันธุ์ สาสัตย์ เสนอแนะเพิ่มเติม
ด้าน นายยอดศักดิ์ สุขโรจณี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางสีทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี พื้นที่ตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ได้กล่าวในมุมมองของผู้นำแผนไปปฏิบัติในพื้นที่จนเกิดผลในช่วงน้ำท่วมว่า “ที่นี่มีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุรวมกว่า 40 คน เราได้จัดสถานที่อพยพให้แก่ผู้สูงอายุและครอบครัวที่อยู่บ้านชั้นเดียวสามารถอยู่ร่วมกันได้ ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง เราจะสนับสนุนอุปกรณ์ขนย้ายหรือติดต่อให้หน่วยงานราชการมาช่วยเหลือ” รอง อบต.บางสีทอง กล่าวเพิ่มเติมว่า ต.บางสีทอง ได้ริเริ่มทำเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2548 ด้วยต้องการสร้างทั้งทักษะและทัศนคติที่ดีต่อผู้สูงอายุ รวมทั้งการให้เกียรติและการให้ความเคารพผู้สูงอายุในตำบลบางสีทองซึ่งจะได้อยู่อย่างมีเกียรติ เมื่อถึงเวลาจากไปก็จากไปอย่างมีศักดิ์ศรี
นี่คือตัวอย่างความสำเร็จเบื้องต้นของพลังขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ตอกย้ำคุณค่าสมัชชาสุขภาพที่ให้ความสำคัญกับการได้มาของมติแต่ละเรื่องที่เรียกว่า “กระบวนการประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วม” โดยสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งต่อไป (ครั้งที่ 4) จะจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2555 ภายใต้แนวคิดหลัก “รับมือภัยพิบัติ จัดการภัยสุขภาวะ”
ติดตามความเคลื่อนไหวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ทาง www.samatcha.org
ติดตามชมการถ่ายทอดสดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ทาง www.healthstation.in.th
ประสานงาน : สำนักการสื่อสารทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
นายเอกชัย เอื้อธารพิสิฐ (เอก) 02-8329148
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
"อนุทิน" เปิดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ย้ำบทเรียนความสำเร็จคุมโควิด-19 ของไทย เกิดจากบูรณาการทุกภาคส่วน ชี้สงครามโรคครั้งนี้ยังไม่ยุติ จำเป็นต้องเว้นระยะห่างทางสังคมต่อไป ด้านผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ชี้ กระบวนการสมัชชาสุขภาพไทย เป็นกลไกที่ทรงพลัง พร้อมบันทึกเป็น "ผลงานเด่น" ในคู่มือ WHO เผยแพร่ทั่วโลก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และภาคีเครือข่าย ได้จัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2563
เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวหนังสือ "รายงานสุขภาพคนไทย ๒๕๕๗" ณ ลานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ พ.ศ...
สช. เตรียมประกาศรางวัลสมัชชาอวอร์ดปีที่ ๒ เบื้องต้นคัดเลือก ๓ จังหวัด ๓ พื้นที่ และ ๓ กรณี โดดเด่นที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ก่อนคัดเลือกรอบสุดท้ายเหลือ ๓ พื้นที่ พร้อมมอบรางวัลเพื่อเป็นเกียรติประวัติในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖...
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จะจัดงานแถลงข่าว สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2556 “สานพลัง สร้างสุขภาวะชุมชน” ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลา 10.00-12.00 น. ณ...
สช.ผนึกกำลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ควบคุม โฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริงเสนอเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖ อย.เร่งแก้กฎหมายเพิ่มโทษปรับและจำคุก ขณะที่ กสทช.นำร่องเอาผิดทีวีดาวเทียมแล้ว...
เลขาธิการคสช.ย้ำสังคมไทยต้องไร้แร่ใยหินตามมติคณะรัฐมนตรีมาตรการขับเคลื่อนสังคมไทยไร้แร่ใยหิน เป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และตามข้อมูลทางวิชาการชี้ชัดว่าแร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ...
นายเทวัญ ทรัพย์แสนยากร ศิลปินเพลงร่วมในพิธิเปิดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 มื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2555 มีภาคีเครือข่ายทั่วประเทศเข้าร่วมประชุมกว่า 3,000 คน และยังมีกิจกรรมทางวิชาการต่างการแสดงดนตรี และบูธ...
ภาครัฐและเอกชนเดินหน้าผลักดันมติครม.หนุนสังคมไทยปลอดภัยจากแร่ใยหิน ดึงกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างและเอสเอ็มอีสมาชิกสภาหอการค้า-สภาอุตสาหกรรมฯเข้าร่วม ขณะที่สคบ.เดินหน้าคุมฉลากเตือนอันตรายผู้บริโภค...
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เรียนเชิญร่วมงานแถลงข่าว สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ “สุขภาพในนโยบายสิ่งแวดล้อม”โดย ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ อ.กรรณิการ์ บันเทิงจิตร รอง...
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เรียนเชิญร่วมงานแถลงข่าวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555“ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ” ร่วมเปิด 8 ระเบียบวาระในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดย ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา...