สภาที่ปรึกษาฯ รับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง “การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อเฝ้าระวัง ฟื้นฟู และอนุรักษ์แม่น้ำ คูคลอง ของประเทศ”

กรุงเทพฯ--30 ม.ค.--สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

วันที่27 ม.ค.คณะทำงานการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาที่ปรึกษาฯ จัดการสัมมนา เรื่อง “การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อศึกษา รับฟังข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการน้ำของทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วม เพื่อเฝ้าระวัง ฟื้นฟู และอนุรักษ์แม่น้ำ คูคลอง ของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ณ สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ศูนย์ราชการ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ การสัมมนาเป็นการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน โดยมี นายนิวัตร ตันตยานุสรณ์ ประธานคณะทำงานการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กล่าวเปิดการสัมมนา และ รศ.ดร.แตงอ่อน มั่นใจตน สมาชิกสภา ที่ปรึกษาฯ กล่าวสรุปภาพรวมสภาพปัญหาในการบริหารจัดการแม่น้ำ คูคลองของประเทศ จากนั้นเป็นการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการสัมมนากว่า 30 คน ประเทศไทยมีองค์กรที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำที่ผ่านมาและปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการบริหารจัดการโดยหน่วยงานภาครัฐ แม้จะพยายามบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ แต่ก็ยังไม่เกิดการบูรณาการที่แท้จริง เนื่องจากต่างหน่วยงานก็มุ่งเอื้อประโยชน์ หรือมุ่งสู่เป้าหมายที่เกี่ยวกับภารกิจของหน่วยงานเท่านั้น ไม่มีความจริงใจในการบูรณาการอย่างแท้จริง ซึ่งโครงการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นโครงการขนาดใหญ่ แต่ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งๆ ที่โครงการเหล่านี้เกิดผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง โดย ผศ.ดร.คมสัน มาลีสี รองคณะบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ได้กล่าวถึงการที่ลาดกระบังโมเดลประสบความสำเร็จได้นั้น เนื่องจากใช้หลักการ สำรวจ ตั้งรับ เฝ้าระวัง ดูแล ฟื้นฟู โดยให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยลดความตื่นกลัวของคนในชุมชน โดย รศ.ดร.สุวัฒนา จิตตลดากร ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำต้องปลอดจากการเมือง ปัญหาน้ำท่วมเกิดจากธรรมชาติ ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการบริหารจัดการน้ำ นอกจากนี้มีผู้เข้าร่วมอภิปรายได้เสนอความคิดเห็นที่หลากหลาย โดยสาระสำคัญคือ ให้นำความเห็นของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน มาบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้การเฝ้าระวัง ฟื้นฟู และอนุรักษ์ แม่น้ำ คูคลอง ของประเทศ ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด และในที่ประชุมยังพูดถึงปัญหาด้านงบประมาณว่า ปัจจุบันเกิดปัญหาการจัดสรรงบประมาณที่ล่าช้า และไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำ จึงฝากให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินการด้วย คณะทำงานการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาที่ปรึกษาฯ จะนำผลจากการสัมมนารับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง “การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อเฝ้าระวัง ฟื้นฟู และอนุรักษ์ แม่น้ำ คูคลอง ของประเทศ” จากผู้เข้าร่วม โดยจะนำข้อมูลที่ได้มาประมวล วิเคราะห์ และสังเคราะห์ จัดทำเป็นความเห็นและข้อเสนอแนะ เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

ข่าวนิวัตร ตันตยานุสรณ์+การบริหารจัดการน้ำวันนี้

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จับมือ ยูนิเวอร์แซล ยูทีลิตี้ส์ ร่วมพัฒนาขีดความสามารถการบริหารจัดการน้ำ

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในการจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติ ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ บริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทีลิตี้ส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ยูยู ในเครือบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ ผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านการบริหารจัดการน้ำแบบครบวงจร จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU เสริมแกร่งพร้อมเดินหน้าหนุนภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ในการบริหารจัดการน้ำสูญเสีย (Non-Revenue Water) พลิกโฉมสู่ดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีของชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ในเวลานี้ทุกพื้นที่ทั่วโลกต่างได้รับผลกระ... กรมชลประทาน กับอีกหนึ่งโจทย์ที่ท้าทาย การบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันสภาวะวิกฤตจากอุทกภัย — ในเวลานี้ทุกพื้นที่ทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภา...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เตรียมพร้อมเฝ้าระวังรับมือสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมคว...

ลุ่มน้ำอิงเป็นหนึ่งในลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำ... การบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำอิง พะเยา ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม — ลุ่มน้ำอิงเป็นหนึ่งในลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่ 7,388 ตารางกิโลเมตร ในจังหวัดพะ...

สภาที่ปรึกษาฯ จัดสัมมนา Focus Group “ การเพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วยการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรกรรม: กรณีศึกษาฟาร์มโคนม ”

เมื่อวันที่ 10 ก.ค.55 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะทำงานการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เล็งเห็นถึงความสำคัญของการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นปัญหาการสร้างสภาวะโลกร้อน...

สภาที่ปรึกษาฯ รับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง “การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อเฝ้าระวัง ฟื้นฟู และอนุรักษ์แม่น้ำ คูคลอง ของประเทศ”

วันที่27 ม.ค.คณะทำงานการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาที่ปรึกษาฯ จัดการสัมมนา เรื่อง “การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อศึกษา รับฟังข้อมูล และแลก...