สช.เจาะประเด็น ชี้ตัวอย่างจากการดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง ย้ำต้องรวมพลังสามประสาน รัฐ วิชาการ ท้องถิ่น

กรุงเทพฯ--30 ม.ค.--สช.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)ไขกุญแจความสำเร็จในการริเริ่มสร้างระบบดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง มติจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ชี้คุณค่าสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเกิดจากการสานพลังทุกภาคส่วน รุดหน้าขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ พร้อมประกาศความพร้อมสำหรับสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 วันที่ 2-4กุมภาพันธ์ ศกนี้ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ วันที่ 27 มกราคม 2555 ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เวที “สช.เจาะประเด็น” หัวข้อ“คุณค่ามติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ : สุขภาวะผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง”ได้รายงานความคืบหน้าในการผลักดันมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2552ชื่อมติ“การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง”ซึ่งต้องนำเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ.2554 อันเป็นไปตามที่ระบุในมติดังกล่าว นายสุพัฒน์ ธนะพิงค์พงษ์ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่าการทำงานแบบ ‘สมัชชาสุขภาพ’ ถือเป็นเครื่องมือใหม่ในการผลักดันนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม จากเดิมทีมักใช้วัฒนธรรมการทำงานแบบบนลงล่าง ก่อให้เกิดความไม่เข้าใจหรือไม่รู้สึกเป็นเจ้าของร่วม ทำให้นโยบายไม่ได้ผลเท่าที่ควร สมัชชาสุขภาพได้ทำหน้าที่ชักชวนภาคส่วนต่างๆ มามีส่วนร่วมในการร่างมติและผลักดันมตินั้นให้เกิดผลจริง ซึ่งในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 จะมีทั้งสิ้น 34 มติเพื่อสร้างเวทีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกระบวนการสำคัญในการสร้างสรรค์พลังทางสังคม “หัวใจสำคัญคือเราได้เชิญคนที่ร่างมติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และประชาชนมาร่วมทำงานด้วยกัน เมื่อได้คนที่ทั้งเข้าใจและสนใจในประเด็นดังกล่าว ก็เกิดการทำงานที่มีส่วนร่วมอย่างสมานฉันท์ กล่าวคือเป็นมิตรที่ดีต่อกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ มติการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงผมสังเกตเห็นว่า เมื่อหลายภาคส่วนได้มานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยน รายงานสถานการณ์ ก็เกิดการขอความช่วยเหลือในส่วนที่ติดขัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะช่วยกันติดตามประเมินผล นี่คือความงดงามจากการพูดคุยอย่างฉันท์มิตร ไม่ใช่การตั้งท่าตำหนิกัน “เช่นเดียวกันกับในมติอื่นๆ ที่เราจะนำดอกผลจากการทำงานมารายงานในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 เพื่อสร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยน เชิดชูและชื่นชมดอกไม้แต่ละดอก ซึ่งส่งผลให้สังคมเห็นแบบอย่างของการทำงานร่วมกัน” ด้านนายแพทย์นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้บอกเล่าถึงภาพรวมการขับเคลื่อนมติ“การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง” ว่า ในปี 2552 สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาเป็นหนึ่งในมติของสมัชชาสุขภาพ ซึ่งประจวบเหมาะกับประเด็นของสมัชชาผู้สูงอายุ จึงมีมติร่วมกันในสาระสำคัญคือ “ให้รัฐมีหน้าที่จัดการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง โดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐานหลัก” ซึ่งคณะรัฐมนตรีสมัยนั้น (มีนาคม 2553) ได้มีมติให้ความเห็นชอบให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ซึ่งต่อมา กผส.ได้แต่งตั้งกลไกขับเคลื่อนโดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน โดยจัดทำแผนปฏิบัติการผลักดันและขับเคลื่อนประเด็นการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (3ปี พ.ศ.2554-2556) ที่ระบุสามประเด็นหลัก มุ่งบูรณาการโดยพร้อมเพรียงทั้งระดับท้องถิ่น ส่วนกลาง การเงินและการคลัง เป็นกรอบในการดำเนินการ “สังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 ปัจจุบันเรามีผู้สูงอายุร้อยละ 12 หรือ 8 ล้านคน ในขณะที่มีอัตราการเกิดเพียง 1.5 คนต่อครอบครัว ซึ่งถือเป็นสัญญาณแจ้งให้รัฐและเอกชนจำต้องสานพลังกับภาควิชาการและประชาสังคม เร่งเตรียมการวางระบบการดูแลพลเมืองกลุ่มนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.อ.หญิง ดร.ศิริพันธุ์ สาสัตย์ อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สะท้อนถึงความก้าวหน้าในประเด็นการดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงว่าเกิดการรับรู้และเข้าใจในวงวิชาการมากขึ้น ทำให้เกิดงานวิจัย ซึ่งสนับสนุนให้ประเด็นนี้ได้นำเสนอเข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติและเป็นที่สนใจของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติซึ่งยังผลให้ภาครัฐตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และให้กองทุนสำหรับการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม ซึ่งเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะเดินหน้าสู่การแก้ไขตัวบทกฎหมายเพื่อปกป้องผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงมากขึ้น “ปัจจุบันนี้กรมอนามัยได้นำผลการศึกษาไปใช้ในชุมชม จนเกิดการสร้างตำบลต้นแบบในการดูแลระยะยาวขึ้น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้สร้างกลไกอาสาสมัครที่ดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง สภาการพยาบาลได้ร่างมาตรฐานสถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง กระทรวงศึกษาได้พัฒนาหลักสูตรการแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ พยาบาลเฉพาะทาง และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญผู้สูงอายุ ด้านผู้ดูแลและผู้ช่วยดูแล กรมอนามัยก็ได้พัฒนาหลักสูตรเหล่านี้ออกมา กระทรวงแรงงานได้พัฒนามาตรฐานความรู้สำหรับผู้ดูแล “อย่างไรก็ดี โครงสร้างการดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงยังมีช่องว่างอยู่มาก เช่น บุคลากรไม่เพียงพอ การดูแลธำรงไว้ซึ่งบุคลากร ระบบการควบคุมดูแลสถานบริบาล ซึ่งเกี่ยวของกับกฎหมายการขึ้นทะเบียนของสถานบริบาล การบังคับใช้กฎหมาย การคัดกรองผู้สูงอายุ” ด้านนายยอดศักดิ์ สุขโรจณี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางสีทอง อ.บางกรวยจ.นนทบุรีพื้นที่ตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของการทำงานเรื่องนี้ว่า ต.บางสีทองเป็นตำบาลนำร่องที่เริ่มต้นดูแลผู้สูงอายุทั่วไปตั้งแต่ 2548 เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ประชาชยย้ายถิ่นมาอยู่อาศัยมากขึ้นจนเป็นชุมชนเมือง ส่งให้มีจำนวนผู้สูงอายุกว่า 1,100 คน หลังจากทำงานไปได้ระยะหนึ่งก็เล็งเห็นว่าในพื้นที่มีผู้สูงอายุติดเตียงอยู่ด้วย จึงขอความร่วมมือจากกรมอนามัย อนามัยชุมชน และโรงพยาบาลในพื้นที่มาให้การอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจแก่อาสาสมัครและครอบครัวผู้สูงอายุ จนเกิดเครือข่ายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในระดับพื้นที่ขึ้น “นายกองค์การบริการส่วนตำบลเห็นความสำคัญในเรื่องนี้มาก ท่านบอกว่า ผู้สูงอายุต้องอยู่อย่างมีเกียรติ จากไปอย่างมีศักดิ์ศรี เราจึงทำงานเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง แต่หากเกิดปัญหาใดขึ้น เราจะขอให้กัลยาณมิตรมาช่วยเหลือ ทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นักวิจัย นักวิชาการ” นายยอดศักดิ์เสนอแนะต่อไปว่า เนื่องจากสภาพสังคมเมืองในปัจจุบัน ทำให้พื้นที่หาอาสาสมัครได้น้อยลง หากมีระเบียบข้อบังคับเรื่องการว่าจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงในระดับตำบลชุมชนจะสามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างครบถ้วนและยั่งยืนมากขึ้นโดยส่งเสริมบุคลากรท้องถิ่นได้เข้าอบรมด้านการดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงโดยเฉพาะ รูปธรรมของสมัชชาสุขภาพ 6 ประการได้แก่ เกิดการตัดสินใจระดับชาติ เช่น เป็นมติคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐ เกิดการวางยุทธศาสตร์การทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวของ เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลในการทำงานเชิงนโยบาย เกิดการผลักดันไปสู่กฎหมาย เปลี่ยนโครงสร้างการทำงาน สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และก่อให้เกิดหัวข้องานวิจัยในเรื่องที่ยังไม่ชัดเจน นี่คือตัวอย่างความสำเร็จเบื้องต้นของพลังขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ตอกย้ำคุณค่าสมัชชาสุขภาพที่ให้ความสำคัญกับการได้มาของมติแต่ละเรื่องที่เรียกว่า “กระบวนการประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วม” โดยสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งต่อไป (ครั้งที่ 4) จะจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2555 ภายใต้แนวคิดหลัก “รับมือภัยพิบัติ จัดการภัยสุขภาวะ” สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ+สมัชชาสุขภาพแห่งชาติวันนี้

"อนุทิน" ปลื้ม ! WHO ยกย่องเวที 'สมัชชาสุขภาพไทย' บันทึกเป็น 'ผลงานเด่น' เผยแพร่ทั่วโลก

"อนุทิน" เปิดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ย้ำบทเรียนความสำเร็จคุมโควิด-19 ของไทย เกิดจากบูรณาการทุกภาคส่วน ชี้สงครามโรคครั้งนี้ยังไม่ยุติ จำเป็นต้องเว้นระยะห่างทางสังคมต่อไป ด้านผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ชี้ กระบวนการสมัชชาสุขภาพไทย เป็นกลไกที่ทรงพลัง พร้อมบันทึกเป็น "ผลงานเด่น" ในคู่มือ WHO เผยแพร่ทั่วโลก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และภาคีเครือข่าย ได้จัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2563

เปิดรายงานสุขภาพคนไทย ๒๕๕๗ สัญญาณอันตรายจาก 'โรคอ้วน'

เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวหนังสือ "รายงานสุขภาพคนไทย ๒๕๕๗" ณ ลานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ พ.ศ...

รางวัล 'สมัชชาอะวอร์ด' ถึงรอบตัดเชือก

สช. เตรียมประกาศรางวัลสมัชชาอวอร์ดปีที่ ๒ เบื้องต้นคัดเลือก ๓ จังหวัด ๓ พื้นที่ และ ๓ กรณี โดดเด่นที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ก่อนคัดเลือกรอบสุดท้ายเหลือ ๓ พื้นที่ พร้อมมอบรางวัลเพื่อเป็นเกียรติประวัติในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖...

***ยกเลิกงานแถลงข่าว***สช. จัดงานแถลงข่าว สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2556 “สานพลัง สร้างสุขภาวะชุมชน”

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จะจัดงานแถลงข่าว สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2556 “สานพลัง สร้างสุขภาวะชุมชน” ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลา 10.00-12.00 น. ณ...

ลงดาบโฆษณาอาหารและยาเกินจริง ขู่ปรับ ๕ แสนบาท - ยึดใบอนุญาต

สช.ผนึกกำลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ควบคุม โฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริงเสนอเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖ อย.เร่งแก้กฎหมายเพิ่มโทษปรับและจำคุก ขณะที่ กสทช.นำร่องเอาผิดทีวีดาวเทียมแล้ว...

สช. เสนอ ครม. ยืนหลักการสังคมไทยต้องปลอดแร่ใยหิน สุขภาพแลกด้วยเงินไม่ได้

เลขาธิการคสช.ย้ำสังคมไทยต้องไร้แร่ใยหินตามมติคณะรัฐมนตรีมาตรการขับเคลื่อนสังคมไทยไร้แร่ใยหิน เป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และตามข้อมูลทางวิชาการชี้ชัดว่าแร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ...

ภาพข่าว: พิธิเปิดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5

นายเทวัญ ทรัพย์แสนยากร ศิลปินเพลงร่วมในพิธิเปิดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 มื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2555 มีภาคีเครือข่ายทั่วประเทศเข้าร่วมประชุมกว่า 3,000 คน และยังมีกิจกรรมทางวิชาการต่างการแสดงดนตรี และบูธ...

เครือข่ายภาครัฐและเอกชนผนึกกำลังเตือนภัย'แร่ใยหิน' เตรียมรายงานความคืบหน้าในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติธ.ค.นี้

ภาครัฐและเอกชนเดินหน้าผลักดันมติครม.หนุนสังคมไทยปลอดภัยจากแร่ใยหิน ดึงกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างและเอสเอ็มอีสมาชิกสภาหอการค้า-สภาอุตสาหกรรมฯเข้าร่วม ขณะที่สคบ.เดินหน้าคุมฉลากเตือนอันตรายผู้บริโภค...

สช. จัดงาน “สุขภาพในนโยบายสิ่งแวดล้อม”

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เรียนเชิญร่วมงานแถลงข่าว สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ “สุขภาพในนโยบายสิ่งแวดล้อม”โดย ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ อ.กรรณิการ์ บันเทิงจิตร รอง...

สช. จัดงานแถลงข่าว สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 “ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ”

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เรียนเชิญร่วมงานแถลงข่าวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555“ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ” ร่วมเปิด 8 ระเบียบวาระในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดย ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา...