สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๔ เริ่มแล้ว พร้อมเพรียงกัน “รับมือภัยพิบัติ จัดการภัยสุขภาวะ”

กรุงเทพฯ--3 ก.พ.--สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) พร้อมเครือข่ายสมัชชาสุขภาพกว่า ๒๐๐ กลุ่มทั่วประเทศ ร่วมเปิดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๔ พ.ศ.๒๕๕๔ ระหว่างวันที่ ๒-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ทั้งนี้ เพื่อพิจารณา ๖ ร่างมติ และติดตาม ๘ มติขาเคลื่อน เน้นการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยท้องถิ่นเป็นฐาน พร้อมเสริมช่องทางการสื่อสารภาคประชาชนโดยเครือข่ายวิทยุชุมชนจากทุกภูมิภาคกว่า ๑๖๐ สถานี คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา ประธานกรรมการ คจ.สช. แถลงข่าวเปิดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๔ พ.ศ.๒๕๕๔ โดยมีร่างระเบียบวาระเพื่อพิจารณารวมทั้งสิ้น ๖ เรื่อง ซึ่งคัดกรองจากร่างข้อเสนอของ ๒๐๖ กลุ่มเครือข่ายทั่วประเทศ กว่า ๑,๕๐๐ คน ที่เสนอเข้ามายังคณะกรรมการ ทั้งหกร่างระเบียบวาระดังกล่าว ได้แก่ ๑.การจัดการปัญหาโฆษณายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่น เคเบิ้ลทีวี โทรทัศน์ ดาวเทียม และอินเตอร์เน็ต ๒.ความปลอดภัยทางอาหาร : การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ ๓.การเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ๔.การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง ๕.การบริหารจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคีทุกภาคส่วน และ ๖.การจัดการปัญหาฆ่าตัวตาย (สุขใจ...ไม่คิดสั้น) “ประเด็นที่เราคุยมาจากการประชุมสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งมีกระบวนการจากการนำเสนอจากภาคส่วนต่างๆ เราประกาศให้ภาคส่วนต่างๆเสนอประเด็นเข้ามา จากภาคีเครือข่าย 206 ภาคี ออกมาเป็น 81 ประเด็น คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติก็พิจารณา โดยที่กรรมการเราก็มีเกณฑ์ว่า ประเด็นที่จะได้รับการคัดเลือกต้องเป็นประเด็นที่มีความสำคัญ มีผลกระทบต่อประชาชน และมีประเด็นเชิงนโยบายที่นำเอาไปปฏิบัติได้” รองศาสตราจารย์ ดร.ชื่นฤทัย กล่าว เฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง ซึ่ง คจ.สช. ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาเป็นพิเศษ โดยนายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้ความเห็นว่า “เราต้องยอมรับว่าเรากำลังอยู่ในโลกยุควิกฤติที่มีความโกลาหลตลอดเวลา อยู่ในสมัยที่ต้องเท่าทันในการจัดการสิ่งแวดล้อม เพราะภัยเก่าก็หนักหน่วงขึ้นและแก้ยากกว่าเดิม คนอาจถามว่าน้ำท่วม คนลำบาก สมัชชาสุขภาพมาคุยอะไรกัน ฉะนั้นกระบวนการของสมัชชาคืองานต่อเนื่อง ในขณะที่หน่วยงานรัฐ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดูแลปัญหาเฉพาะหน้า แต่ปัญหานี้จะเกิดซ้ำและหนักหน่วงรุนแรงขึ้น จึงต้องมีกระบวนการสร้างนโยบายสาธารณะขึ้นเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวและต้องส่งผลเป็นวงกว้าง” นอกจากหกร่างระเบียบวาระดังกล่าว สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งนี้ ยังมีการนำเสนอผลการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติของปีที่ผ่านมารวม ๘ เรื่อง ได้แก่ ๑.ยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม : เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสุขภาพของผู้ป่วย ๒.ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ ๓.โรคติดต่ออุบัติใหม่ ๔.การพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ให้เป็นระบบบริการสุขภาพหลักของประเทศ คู่ขนานกับการแพทย์แผนปัจจุบัน ๕.การจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ๖.การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ๗.มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ๘.การป้องกันผลกระทบต่อสุขภาวะและสังคมจากการค้าเสรีระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ในบริเวณงานยังจัดสรร “ลานสมัชชาสุขภาพ” สำหรับกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายที่สนใจในการขับเคลื่อนมติสมัชชาฯ และการประชุมวิชาการอีก ๑๒ หัวข้อ อาทิ ความเป็นธรรมในนโยบายจัดการภัยพิบัติ ขนมชายแดน...เรื่องไม่เล็กของเด็กไทย และเมืองไม่เสี่ยงภัย ใครกำหนด เป็นต้น ซึ่งแต่ละเรื่อง สมาชิกสมัชชาสุขภาพจะได้ร่วมเรียนรู้และเสนอแนะเพื่อการขับเคลื่อนมติและการปฏิบัติร่วมกัน ทั้งนี้ การประชุมยังได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายวิทยุชุมชนทั่วประเทศไทยกว่า ๑๖๐ สถานี เข้ามาร่วมสื่อสารประชาสัมพันธ์ในการประชุมครั้งนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อประเด็นต่าง ๆ และการเรียนรู้กระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า เนื้อหาสาระในวิทยุชุมชนส่วนหนึ่งต้องนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ ซึ่งจะยิ่งเสริมแรงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายในพื้นที่มากขึ้น ดร.กาญจนา กาญจนสินิทธ์ ประธานคณะทำงานพัฒนาเครือข่ายสื่อชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม กล่าวว่า สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งนี้ถือเป็นปีแรกที่มีการจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาเครือข่ายสื่อชุมชนฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพยิ่งขึ้น เข้าถึงประชาชนวงกว้าง ซึ่งสื่อวิทยุชุมชนนับว่าเป็นสื่อหนึ่งที่ “ใกล้ตัว ใกล้ใจ” ประชาชนในพื้นที่มากที่สุด ทั้งนี้ ช่องทางสื่อวิทยุชุมชนยังเป็นเวทีของการรับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถกแถลงเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะเป็นสาธารณะประโยชน์ต่อการพัฒนานโยบายสาธารณะ “เครือข่ายวิทยุชุมชนกว่า ๑๖๐ คลื่น ครอบคลุมทั้งสี่ภาคของประเทศ มาทำงานร่วมกัน รวมทั้งกับสถานีวิทยุและโทรทัศน์สุขภาพแห่งชาติ หรือ www.healthstaion.in.th ด้วย สื่อวิทยุชุมชนจะทำให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ฟังว่าเพื่อนผู้แทนของกลุ่มตนเองพูดตรงตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ และได้ฟังกลุ่มอื่นว่ามีความคิดเห็นต่อมติต่าง ๆ อย่างไร เพราะเราเชื่อว่า เมื่อพื้นที่ได้รับทราบข้อมูลและเห็นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นด้วยตนเอง ก็จะนำไปสู่การแก้ปัญหาในพื้นที่ของตัวเองได้” ดร.กาญจนา กล่าว นายแพทย์อำพล กล่าวทิ้งท้ายว่า แนวโน้มหลักที่ทุกภาคส่วนต่างเห็นพ้องร่วมกันคือการต้องเสริมพลังให้ภาคประชาชนมีความรู้ ความเข้มแข็ง และความพร้อมที่จะลุกขึ้นมาดูแลตัวเองได้ทันท่วงที ไม่ว่าจะประสบกับภัยพิบัติหรือภัยสุขภาวะซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงและขยายผลกระทบอย่างกว้างขวาง เกินกว่าที่ภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งจะรับมือไหว ด้วยเหตุนี้ ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน สานพลังปัญญา ความรู้ และพลังเครือข่าย โดยใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพเพื่อรับมือกับภัยทุกชนิดและจัดการกับปัญหาร่วมของทุกฝ่ายด้วยบรรยากาศของการให้ความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน. ติดตามความเคลื่อนไหวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ทาง www.samatcha.org ติดตามชมการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ทาง www.healthstation.in.th -นท-

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ+สมัชชาสุขภาพแห่งชาติวันนี้

"อนุทิน" ปลื้ม ! WHO ยกย่องเวที 'สมัชชาสุขภาพไทย' บันทึกเป็น 'ผลงานเด่น' เผยแพร่ทั่วโลก

"อนุทิน" เปิดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ย้ำบทเรียนความสำเร็จคุมโควิด-19 ของไทย เกิดจากบูรณาการทุกภาคส่วน ชี้สงครามโรคครั้งนี้ยังไม่ยุติ จำเป็นต้องเว้นระยะห่างทางสังคมต่อไป ด้านผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ชี้ กระบวนการสมัชชาสุขภาพไทย เป็นกลไกที่ทรงพลัง พร้อมบันทึกเป็น "ผลงานเด่น" ในคู่มือ WHO เผยแพร่ทั่วโลก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และภาคีเครือข่าย ได้จัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2563

เปิดรายงานสุขภาพคนไทย ๒๕๕๗ สัญญาณอันตรายจาก 'โรคอ้วน'

เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวหนังสือ "รายงานสุขภาพคนไทย ๒๕๕๗" ณ ลานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ พ.ศ...

รางวัล 'สมัชชาอะวอร์ด' ถึงรอบตัดเชือก

สช. เตรียมประกาศรางวัลสมัชชาอวอร์ดปีที่ ๒ เบื้องต้นคัดเลือก ๓ จังหวัด ๓ พื้นที่ และ ๓ กรณี โดดเด่นที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ก่อนคัดเลือกรอบสุดท้ายเหลือ ๓ พื้นที่ พร้อมมอบรางวัลเพื่อเป็นเกียรติประวัติในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖...

***ยกเลิกงานแถลงข่าว***สช. จัดงานแถลงข่าว สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2556 “สานพลัง สร้างสุขภาวะชุมชน”

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จะจัดงานแถลงข่าว สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2556 “สานพลัง สร้างสุขภาวะชุมชน” ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลา 10.00-12.00 น. ณ...

ลงดาบโฆษณาอาหารและยาเกินจริง ขู่ปรับ ๕ แสนบาท - ยึดใบอนุญาต

สช.ผนึกกำลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ควบคุม โฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริงเสนอเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖ อย.เร่งแก้กฎหมายเพิ่มโทษปรับและจำคุก ขณะที่ กสทช.นำร่องเอาผิดทีวีดาวเทียมแล้ว...

สช. เสนอ ครม. ยืนหลักการสังคมไทยต้องปลอดแร่ใยหิน สุขภาพแลกด้วยเงินไม่ได้

เลขาธิการคสช.ย้ำสังคมไทยต้องไร้แร่ใยหินตามมติคณะรัฐมนตรีมาตรการขับเคลื่อนสังคมไทยไร้แร่ใยหิน เป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และตามข้อมูลทางวิชาการชี้ชัดว่าแร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ...

ภาพข่าว: พิธิเปิดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5

นายเทวัญ ทรัพย์แสนยากร ศิลปินเพลงร่วมในพิธิเปิดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 มื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2555 มีภาคีเครือข่ายทั่วประเทศเข้าร่วมประชุมกว่า 3,000 คน และยังมีกิจกรรมทางวิชาการต่างการแสดงดนตรี และบูธ...

เครือข่ายภาครัฐและเอกชนผนึกกำลังเตือนภัย'แร่ใยหิน' เตรียมรายงานความคืบหน้าในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติธ.ค.นี้

ภาครัฐและเอกชนเดินหน้าผลักดันมติครม.หนุนสังคมไทยปลอดภัยจากแร่ใยหิน ดึงกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างและเอสเอ็มอีสมาชิกสภาหอการค้า-สภาอุตสาหกรรมฯเข้าร่วม ขณะที่สคบ.เดินหน้าคุมฉลากเตือนอันตรายผู้บริโภค...

สช. จัดงาน “สุขภาพในนโยบายสิ่งแวดล้อม”

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เรียนเชิญร่วมงานแถลงข่าว สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ “สุขภาพในนโยบายสิ่งแวดล้อม”โดย ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ อ.กรรณิการ์ บันเทิงจิตร รอง...

สช. จัดงานแถลงข่าว สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 “ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ”

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เรียนเชิญร่วมงานแถลงข่าวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555“ทุกนโยบาย ห่วงใยสุขภาพ” ร่วมเปิด 8 ระเบียบวาระในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดย ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา...