ศอส. รายงานยังมี 26 จังหวัดประสบอุทกภัย - ย้ำ 8 จังหวัดเตรียมรับน้ำล้นตลิ่งที่เพิ่มสูงขึ้น

กรุงเทพฯ--20 ก.ย.--ศอส.

ศอส. รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 26 จังหวัด ย้ำ 8 จังหวัดพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างเตรียมรับมือภาวะน้ำล้นตลิ่ง โดยเสริมแนวคันกั้นน้ำให้สูงขึ้น พร้อมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำแก่ประชาชน รวมทั้งวางแผนการระบายน้ำออกจากพื้นที่ท่วมขังด้วยระบบโซนนิ่ง ตลอดจนเตือนจังหวัดภาคอีสานตอนล่างติดตามสถานการณ์น้ำท่า-น้ำฝนในช่วงวันที่ 23 ก.ย.54 นายประทีป กีรติเรขา รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะประธานการประชุมศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและ การบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 26 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี อุบลราชธานี ยโสธร เลย ขอนแก่น มหาสารคาม ศรีสะเกษ ฉะเชิงเทรา นครนายก ตาก สระแก้ว และปราจีนบุรี รวม 171 อำเภอ 1,164 ตำบล 7,688 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 471,007 ครัวเรือน 1,568,935 คน มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 112 ราย สูญหาย 2 ราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 4,192,131 ไร่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคาดว่าจะเสียหาย บ่อปลา 54,852 ไร่ กุ้ง/ปู/หอย 560 ไร่ สัตว์ได้รับผลกระทบรวมทั้งสิ้น 3,954,046 ตัว น้ำท่วมเส้นทางไม่สามารถสัญจรผ่านได้ แยกเป็น ทางหลวง 21 สาย ใน 10 จังหวัด ทางหลวงชนบท 74 สาย ใน 21 จังหวัด สำหรับสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำต่างๆ ที่ยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำอย่างใกล้ชิด ได้แก่ ลุ่มน้ำน่าน ที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ลุ่มน้ำปราจีนบุรี ที่อำเภอกบินทร์ จังหวัดปราจีนบุรี ลุ่มน้ำมูล ที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอสตึก อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ลุ่มน้ำชี ที่อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ลุ่มน้ำโขง ที่อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ลุ่มน้ำสะแกกรัง ที่อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ลุ่มน้ำท่าจีน อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ขณะที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 3,935 ลบ.ม./วินาที เขื่อนเจ้าพระยาปริมาณน้ำไหลผ่าน 3,706 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้มีน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณ 8 จังหวัดได้รับผลกระทบ ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี ในส่วนของสถานการณ์น้ำในเขื่อนต่างๆ อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ โดยเฉพาะเขื่อนขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำร้อยละ 88 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำร้อยละ 96 ของความจุอ่างฯ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีปริมาณน้ำมากเกินความจุร้อยละ 102 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณมากเกินความจุร้อยละ 109 ของความจุอ่างฯ ซึ่งต้องปล่อยน้ำออกจากเขื่อนอย่างต่อเนื่องเพื่อเร่งระบายน้ำ ส่งผลให้พื้นที่ท้ายเขื่อนและชุมชนริมฝั่งแม่น้ำได้รับกระทบจากระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น จึงขอแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ดังกล่าว ให้ขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงและเสริมแนวกระสอบทรายกั้นน้ำ ส่วนกรุงเทพมหานครพื้นที่ด้านตะวันออกนอกคันกั้นน้ำบริเวณเขตมีนบุรี หนองจอก และเขตลาดกระบัง ยังมีน้ำท่วมในบางพื้นที่ ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง นายประทีป กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบสภาพอากาศ พบว่า จะมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในช่วงวันที่ 20 – 23 กันยายน 2554 ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเพิ่มมากขึ้น ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตอนบนของประเทศระมัดระวังอันตรายจากภาวะฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย รวมถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี ยังต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในวันที่ 19-20 กันยายน 2554 เนื่องจากระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ในวันที่ 23 กันยายน 2554 ร่องมรสุมอาจเคลื่อนตัวผ่านและส่งผลกระทบต่อพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและจังหวัดโดยรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประกอบกับแหล่งน้ำของชลประทานในพื้นที่ มีระดับเก็บกักสูงอยู่แล้ว จึงขอให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด โครงการชลประทานจังหวัด สถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัด ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดทุกวัน ทั้งนี้ เนื่องจากจังหวัดในพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่างที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานประกอบกับปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ ทำให้เริ่ม มีข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ ศอส.ขอให้ฝ่ายปกครองและหน่วยงานชลประทานในพื้นที่เร่งชี้แจงทำความเข้าใจ กับประชาชนอย่างต่อเนื่องใกล้ชิด เพื่อควบคุมและคลี่คลายปัญหาโดยเร็ว รวมถึงให้เร่งดำเนินการแก้ไขโดยระดมสรรพกำลังเพื่อแก้ไขปัญหา ให้บรรเทาเบาบางลง ส่วนการวางแผนระบายน้ำออกจากพื้นที่ท่วมขังให้แก้ปัญหาด้วยระบบโซนนิ่ง (Zoning) โดยให้จังหวัดบูรณาการและวางแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ท้ายนี้ หากจังหวัดประสงค์ขอรับการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์หรือความช่วยเหลือพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถประสานโดยตรงได้ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+การบริหารจัดการน้ำวันนี้

สกสว.พร้อมเป็นโซ่ข้อกลางรับมือเอลนีโญ สานทัพมหาดไทยหนุนทำแผนปฏิบัติการ

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดการประชุมทำแผนปฏิบัติการ "การจัดบริหารจัดการน้ำเพื่อรับมือเอลนีโญ" ร่วมกับผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงรับฟังข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่อย่างแท้จริง พร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อ

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...