15 จังหวัดภาคตะวันออก ภาคใต้ เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งและดินโคลนถล่ม ช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค.นี้

กรุงเทพฯ--30 ก.ย.--ปภ.

นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า จากการตรวจติดตามภาวะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าใกล้ตอนบนของประเทศ ส่งผลให้พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น จึงขอเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณ ที่ราบต่ำริมน้ำ ที่ลาดเชิงเขา และใกล้ทางน้ำไหลผ่านในพื้นที่ 27 จังหวัด ได้แก่ บึงกาฬ หนองคาย อุดรธานี สกลนคร เลย หนองบัวลำภู นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ และกำแพงเพชร เตรียมรับมือภาวะฝนตกหนัก ในระยะ 3 – 4 วันนี้ (ช่วงระหว่างวันที่ 30 กันยายน – 3 ตุลาคม 2554) ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม นอกจากนี้ ยังทำให้พื้นที่รับลมภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนตกชุกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้พื้นที่ 15 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา สตูล มีฝนตกหนักต่อเนื่อง และคลื่นลมในทะเลมีกำลังแรง จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมการรับมืออันตรายจากภาวะฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วง 3 – 4 วันนี้ (ช่วงระหว่างวันที่ 30 กันยายน – 3 ตุลาคม 2554 ทั้งนี้ ปภ. ได้สั่งกำชับให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว จัดเจ้าหน้าที่ทั้งมิสเตอร์เตือนภัย อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และทีมกู้ชีพกู้ภัย เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์และยานพาหนะให้พร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงตรวจสอบสภาพคันกั้นน้ำ เขื่อนและฝายให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง ทั้งนี้ หากสถานการณ์รุนแรงให้พิจารณาอพยพประชาชนไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยในทันที สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+กรมอุตุนิยมวิทยาวันนี้

กทม.เตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูง เตรียมกระสอบทราย-เสริมความสูงแนวคันกั้นน้ำ

นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.กล่าวถึงความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมแผนฉุกเฉินรองรับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเหนือที่อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า กรุงเทพมหานคร โดย สนน.ได้ประสานความร่วมมือกับกรมชลประทาน กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมทรัพยากรน้ำ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...