TMB จัดทำโครงการปรับแนวทางบริหารพนักงานบริการ

กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--ธนาคารทหารไทย

ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า ธนาคารได้พิจารณาจัดทำ “โครงการปรับแนวทางบริหารพนักงานบริการ” (Service Staff Realignment Program) เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน โดยคัดเลือกบริษัทผู้ให้บริการภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามารับผิดชอบงานงานนี้แทนธนาคาร โดยใช้พนักงานบริการเดิมของธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป ซึ่งธนาคารหวังว่า จะได้ร่วมงานกับพนักงานเหล่านี้ซึ่งจะมีงานทำในหน้าที่เดิมต่อไป ในฐานะพนักงานของบริษัทผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ พนักงานที่เลือกเข้าโครงการจะได้รับผลตอบแทนพิเศษจากธนาคารในอัตราที่สูงกว่ากฎหมายกำหนด กรณีที่ออกไปเป็นพนักงานของบริษัทภายนอกที่ได้รับมอบหมายจากธนาคาร ธนาคารจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่า งานทุกด้านของธนาคารมีความสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจหลักของธนาคาร จึงได้มีการพิจารณาทบทวนการบริหารจัดการงานที่แม้มีคุณค่าและสำคัญ แต่ไม่ได้เป็นธุรกิจหลักของธนาคาร เช่น งานบริการ ซึ่งได้แก่ งานด้านการรักษาความปลอดภัย ขับรถ รับส่งเอกสาร และ นักการ ให้มีการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (Outsourcing) ในการดำเนินโครงการปรับแนวทางบริหารพนักงานบริการนี้ ธนาคารคำนึงถึงระยะเวลาที่พนักงานได้ร่วมงานกับธนาคารมาด้วยความทุ่มเทเสียสละ รวมทั้งทางเลือกในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตในอนาคต ธนาคารจึงได้ดำเนินการหลายด้าน เพื่อให้มั่นใจว่า พนักงานทุกคนจะยังคงมีงานทำในหน้าที่เดิมต่อโดยเป็นพนักงานของบริษัทผู้ให้บริการภายนอกที่ธนาคารได้พิจารณาคัดเลือกให้มารับสมัครพนักงานเพื่อปฏิบัติงานด้านบริการให้แก่ธนาคาร และในขณะเดียวกัน ก็ได้รับการดูแล กรณีที่ออกจากธนาคารไปเป็นพนักงานของบริษัทผู้ให้บริการภายนอกดังกล่าว โดยได้รับค่าตอบแทนพิเศษที่ดีจากธนาคารเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าเงินชดเชยตามกฎหมาย รวมทั้งยังได้รับการดูแลผ่อนผันเรื่องสินเชื่อสวัสดิการที่มีอยู่กับธนาคารอีกด้วย ทั้งนี้ นอกจากธนาคารได้ทำความตกลงให้บริษัทผู้ให้บริการภายนอกรับพนักงานบริการของธนาคารเข้าร่วมงานแล้ว ธนาคารยังได้เจรจากับบริษัทดังกล่าว เพื่อให้พนักงานได้รับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของการจ้างงานใหม่ ตามอัตราตลาด โดยให้คำนึงถึงประสบการณ์การทำงานของพนักงานเพื่อให้พนักงานมีโอกาสได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่าอัตราทั่วไปของตลาด สำหรับผลตอบแทนพิเศษที่จะได้รับจากธนาคารกรณีลาออก เพื่อไปเป็นพนักงานของบริษัทผู้ให้บริการภายนอก และทำงานในหน้าที่เดิมให้แก่ธนาคาร ได้แก่ เงินตอบแทนเทียบเท่าค่าชดเชยตามกฏหมายแรงงาน คำนวณจากฐานเงินเดือนเดือนสุดท้ายรวมค่าครองชีพ, เงินตอบแทนเทียบเท่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน คำนวณจากเงินเดือนเดือนสุดท้ายรวมค่าครองชีพ และ เงินเพิ่มพิเศษตอบแทนตามอายุงาน เท่ากับอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณจำนวนปีที่ทำงาน นอกจากนี้ พนักงานบริการยังจะได้รับเงินโบนัสประจำปี 2553 ตามผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ซึ่งพนักงานจะได้รับในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ส่วนพนักงานที่มีสินเชื่อสวัสดิการพนักงาน จะได้รับการดูแลให้คงภาระหนี้เงินกู้สวัสดิการกับธนาคารต่อไป โดยธนาคารจะให้ความช่วยเหลือพนักงานให้ผ่อนชำระเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยเท่ากับเงินกู้สวัสดิการพนักงานเป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นอัตราดอกเบี้ยเช่นเดียวกับลูกค้าของธนาคาร ทั้งนี้ ในการดำเนินการ ผู้บังคับบัญชาโดยตรงได้แจ้งให้พนักงานบริการประมาณ 500 คน ทราบเป็นรายบุคคลถึงการจัดทำโครงการนี้แล้ว โดยมีการชี้แจงรายละเอียดและตอบข้อสงสัยของพนักงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา ปรากฎว่า มีกระแสการตอบรับที่ดี โดยมีพนักงานตอบรับเข้าร่วมโครงการในทันที กว่า 100 คน ในวันเดียวกัน และธนาคารกำลังได้รับเอกสารตอบรับทยอยเข้ามาเพิ่มเติมอีกอย่างต่อเนื่องทั้งวัน ในวันนี้ (17 มกราคม) โดยในขณะนี้รับการตอบรับเข้ามาเกือบ 200 คนแล้ว ซึ่งกำหนดวันสุดท้ายของการส่งเอกสารตอบรับ คือวันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม 2554 อย่างไรก็ตาม หากพนักงานบริการต้องการจะทำงานกับธนาคารต่อไปแม้ว่าธนาคารไม่ได้มีตำแหน่งหน้าที่เดิมแล้ว โดยต้องการจะทำงานในตำแหน่งงานด้านอื่นๆ พนักงานก็สามารถสมัครงานในตำแหน่งงานว่างได้ ซึ่งหากพนักงานได้รับการคัดเลือกและโอนย้ายไปยังตำแหน่งดังกล่าว พนักงานจะไม่ได้รับผลตอบแทนพิเศษ สำหรับพนักงานบริการที่ไม่ต้องการทำงานกับผู้ให้บริการภายนอกที่ธนาคารคัดเลือกมา หรือทำงานกับธนาคารต่อ และมีความประสงค์ที่จะจากธนาคารไปเพื่อแสวงหาโอกาสทางอาชีพใหม่ๆ ธนาคารก็ยินดีที่จะให้การสนับสนุน โดยพนักงานจะได้รับผลตอบแทนพิเศษกรณีลาออก พร้อมกับสิทธิประโยชน์ต่างๆเช่นเดียวกับ พนักงานบริการที่ต้องการไปทำงานกับผู้ให้บริการภายนอก และจะได้รับการให้คำปรึกษาและแนะแนวอาชีพจากผู้ชำนาญการที่ธนาคารจัดให้มีขึ้นอีกด้วย สายงานสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02 299 1950, 1953/ 02 242 3260

ข่าวธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่+ธนาคารทหารไทยวันนี้

กรุงไทยยันไม่มีนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้-ฝาก

กรุงไทยเผยขณะนี้ยังไม่มีนโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝาก เพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจฟื้นตัวอย่างเข็มแข็ง ระบุหากปรับขึ้นหวั่นลูกค้าและภาคธุรกิจได้รับผลกระทบ ระบุสภาพคล่องในระบบยังสูง นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ รองกรรมการผู้จัการใหญ่ สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ ไม่ได้สร้างแรงกดดันให้กับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ เนื่องจากสภาพคล่องในระบบอยู่ในระดับสูง ดังนั้น การปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้หรือเงินฝาก ถ้าจะเกิดขึ้นจะเป็นผลจากนโยบายการทำธุรกิจของแต่ละธนาคาร

ฟิทช์: ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของไทยมีความพร้อมในการปฏิบัติตามเกณฑ์กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวว่า "ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของประเทศไทยน่าจะสามารถปฏิบัติตามเกณฑ์ใหม่ด้านการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มที่จะมีผลบังคับใช้กับธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยง...

กรุงศรียืนยันความแข็งแกร่งของเงินกองทุน

ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศแนวทางการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญเชิงระบบ (Domestic Systemically Important Banks: D-SIBs) นั้น กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ขอเรียนให้ทราบว่า ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ของประเทศไทย โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBank และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ได้รับการคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประ...

เครือข่ายธุรกิจของธนาคารขนาดใหญ่ในประเทศไทยยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิตในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว

ฟิทช์ เรทติ้งส์กล่าวในรายงานเรื่อง "Thailand's Large Banks: Peer Review" ฉบับล่าสุดว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของไทย 4 แห่งน่าจะสามารถรักษาความแข็งแกร่งของเครือข่ายธุรกิจไว้ได้ต่อเนื่อง ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ของประเทศไทย โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBank และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ได้รับการคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ของประเทศไทย โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBank และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ได้รับการคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประ...