ฟิทช์คงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง

26 May 2015
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ของประเทศไทย โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBank และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ได้รับการคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign Currency IDR) ที่ ‘BBB+’ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ได้รับการคงอันดับที่ ‘AA(tha)’ ในขณะเดียวกันธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ได้รับการคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวที่ ‘BBB’ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘AA+(tha)’ ธนาคารทั้ง 4 แห่งมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

นอกจากนี้ฟิทช์ยังได้ประกาศอันดับเครดิตภายในประเทศของบริษัทอีก 3 แห่งที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ โดยอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KS และบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ SCBS ได้รับการคงอันดับเครดิตที่ ‘AA-(tha)’

ในขณะเดียวกันฟิทช์ปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของบริษัทกรุงไทยลีสซิ่ง จำกัด หรือ KTBL เป็น‘AA+(tha)’ ซึ่งเป็นอันดับเครดิตเดียวกันกับ KTB เพื่อสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในเกณฑ์การกำกับดูแลอันเนื่องมาจากการรวม KTBL เข้ามาอยู่ในกลุ่ม Solo Consolidation ซึ่งทำให้บริษัทกลายเป็นบริษัทลูกหลัก (core subsidiary) ของ KTB พร้อมกันนี้ฟิทช์ได้ประกาศยกเลิกอันดับเครดิตทั้งหมดของ KTBL เนื่องจากเหตุผลทางธุรกิจของฟิทช์รายละเอียดอันดับเครดิตทั้งหมดได้แสดงไว้ในส่วนท้ายปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating หรือ VR) ของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 4 แห่งพิจารณาจากเครือข่ายธุรกิจในประเทศและส่วนแบ่งทางการตลาดที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงผลประกอบการที่ดี (หรือยังคงปรับตัวดีขึ้น) ของธนาคารทั้ง 4 แห่ง โดยอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์อื่นในภูมิภาคที่มีอันดับเครดิตใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามธนาคารทั้ง 4 แห่งนี้ยังจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่ยังคงมีความท้าทายในอนาคต ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างมากต่ออันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (แต่สำหรับ KTB ปัจจัยดังกล่าวอาจจะมีผลกระทบต่ออันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่น้อยกว่า)

อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ BBL สะท้อนถึงเครือข่ายทางธุรกิจที่แข็งแกร่งของธนาคารในด้านสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่และมีการกระจายตัวของสินเชื่อไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค อีกทั้งจากการทดสอบภาวะวิกฤติ (stress test) ของฟิทช์ BBL มีผลการทดสอบอยู่ในระดับที่ดีกว่าธนาคารพาณิชย์ไทยอื่น นอกจากนี้ฐานะเงินกองทุนและอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ BBL ยังอยู่ในระดับสูงที่สุดเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ไทยอื่น และยังเป็นธนาคารที่มีโครงสร้างการระดมเงินทุนและสภาพคล่องที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารปรับตัวแย่ลงเล็กน้อยซึ่งสอดคล้องกับภาวะอุตสาหกรรมโดยรวม แต่ธนาคารยังคงมีผลประกอบการที่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้แม้ว่าจะมีนโยบายการตั้งสำรองหนี้สูญในระดับสูงก็ตาม

อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KBank สะท้อนถึงคุณภาพสินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การระดมเงินทุนและสภาพคล่อง และฐานะเงินกองทุนที่อยู่ในระดับดี รวมถึงอัตรากำไรที่สูงของธนาคาร ฟิทช์เชื่อว่า KBank มีความสามารถที่จะรักษาฐานะทางการเงินให้อยู่ในระดับที่ดีได้อย่างต่อเนื่องตลอดวัฏจักรของธุรกิจซึ่งสะท้อนได้จากการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

SCB มีความแข็งแกร่งทางธุรกิจในผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทต่างๆ เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย บัตรเครดิต การจัดการกองทุนและการขายประกันชีวิตผ่านเครือข่ายของธนาคาร ธนาคารมีความสามารถในการทำกำไรอยู่ในระดับสูงมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่คุณภาพสินทรัพย์ยังคงอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผลและมีความสามารถที่จะรองรับความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่งโดยพิจารณาจากฐานะเงินกองทุนและอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ก่อนหน้านี้ธนาคารได้มีการเติบโตของสินเชื่อในเชิงรุก ซึ่งต่อมาได้เริ่มลดลงอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2556 แต่อย่างไรก็ตามการชะลอตัวลงของสินเชื่อดังกล่าว นั้นจะเป็นการสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในระยะยาวของธนาคารหรือไม่นั้น ยังคงเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามต่อในอนาคต

อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KTB อยู่ต่ำกว่าอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อื่นอยู่ 2 อันดับ ซึ่งสะท้อนถึงฐานะเงินกองทุนที่ต่ำกว่า และคุณภาพสินทรัพย์และผลการดำเนินงานที่ด้อยกว่า อัตราส่วนที่สำคัญทางการเงินของ KTB อาทิเช่นอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม แม้ว่าอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และอัตราส่วนในด้านอัตรากำไร ได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อีกทั้งขณะนี้ KTB ได้เริ่มแสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจที่มากกว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อื่น เช่นการที่คุณภาพสินทรัพย์เริ่มปรับตัวแย่ลงปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

แม้ว่าธนาคารทั้ง 4 แห่งจะสามารถรักษาอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญไว้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจได้ชะลอตัวลงในช่วงที่ผ่านมา แต่การชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องและยืดเยื้อของเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่การปรับตัวที่แย่ลงมากกว่าที่คาดการณ์อย่างต่อเนื่องในด้านคุณภาพสินทรัพย์ ผลการดำเนินงาน และฐานะเงินกองทุนของธนาคารทั้ง 4 แห่งอาจส่งผลให้อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารถูกปรับลดอันดับ

ในขณะเดียวกันโอกาสที่อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ BBL KBank และ SCB จะได้รับการปรับเพิ่มอันดับถือว่าค่อนข้างจำกัด เนื่องจากอันดับเครดิตของธนาคารเหล่านี้อยู่ในระดับเดียวกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทย ดังนั้นการปรับลดอันดับเครดิตของประเทศไทยก็อาจส่งผลให้อันดับความแข็งแกร่งของการเงินของธนาคารเหล่านี้ถูกการปรับลดอันดับ

อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KTB อาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากธนาคารสามารถแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของฐานะเงินกองทุนและผลการดำเนินงาน อีกทั้งยังสามารถยกระดับอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญให้มาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อื่น

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตภายในประเทศของ BBL KBank และ SCB พิจารณาจากอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารซึ่งสะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารเอง

ในขณะที่อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตภายในประเทศของ KTB มีปัจจัยสนับสนุนจากอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ (SRF) ของธนาคารที่ ‘BBB’

อันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ BBL KBank SCB และ KTB อยู่ในระดับเดียวกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวหรืออันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารแต่ละแห่ง เนื่องจากหนี้สินดังกล่าวเป็นภาระผูกพันที่ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิของธนาคาร

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

การเปลี่ยนแปลงในอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ BBL KBank และ SCB จะส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตภายในประเทศในทิศทางเดียวกัน อันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 3 แห่ง อาจได้รับการพิจารณาปรับเพิ่มอันดับหากสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานกลับมามีเสถียรภาพมากขึ้นและธนาคารเหล่านี้สามารถรักษาความแข็งแกร่งทางการเงินที่ได้ปรับตัวดีขึ้นมาแล้วในช่วงปีที่ผ่านมาให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังคงมีระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในระดับเหมาะสม

การเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ KTB จะส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตภายในประเทศ แต่ความเสี่ยงจากการถูกปรับลดอันดับเครดิตดังกล่าวจะลดลงหากอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารถูกปรับเพิ่มอันดับมาอยู่ที่ ‘bbb’ เป็นอย่างน้อยปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสนับสนุน (Support Rating) และ อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ

อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 4 แห่ง สะท้อนถึงการที่ธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ทั้ง 4 แห่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดในด้านเงินฝากรวมกันมากกว่า 65% ของระบบธนาคารพาณิชย์

อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ KTB ที่ ‘BBB’ อยู่สูงกว่าธนาคารอีก 3 แห่ง อยู่ 1 อันดับซึ่งสะท้อนถึงการที่ KTB มีความสำคัญในเชิงกลยุทย์ต่อรัฐบาลไทย โดย KTB เป็นเพียงธนาคารพาณิชย์แห่งเดียวที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ ทั้งยังมีการควบคุมกำกับอย่างใกล้ชิดโดยกระทรวงการคลังและมีสัญญลักษณ์ของธนาคารก็มีลักษณะใกล้เคียงกับสัญญลักษณ์ของกระทรวงการคลัง ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสนับสนุน และ อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ

การเปลี่ยนแปลงในความสามารถของรัฐบาลในการให้การสนับสนุนแก่ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 4 แห่ง อาทิเช่น การที่อันดับเครดิตของประเทศไทยถูกปรับลดอันดับลง อาจส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ

การเปลี่ยนแปลงของเกณฑ์หรือกฎหมายที่จะส่งผลให้แนวโน้มที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทยลดลง อาจส่งผลให้อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำถูกปรับลดอันดับอย่างไรก็ตามฟิทช์มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลางปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – หุ้นกู้ด้อยสิทธิและตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน

หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 4 แห่ง มีอันดับเครดิตที่ต่ำกว่าอันดับเครดิตอันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิอยู่ 1 อันดับ เพื่อสะท้อนสถานะด้อยสิทธิและการไม่รองรับผลขาดทุนในกรณีที่ธนาคารยังสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ (going-concern loss absorption) ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของฟิทช์ในการจัดอันดับเครดิตตราสารประเภทดังกล่าว

อันดับเครดิตสากลของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของ KTB ที่ ‘B’ อยู่ต่ำกว่าอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร 5 อันดับ ซึ่งสะท้อนถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงานของธนาคารเนื่องจากตราสารดังกล่าวมีคุณสมบัติที่สามารถงดการจ่ายดอกเบี้ยได้ถ้าธนาคารมีผลขาดทุน (non-cumulative coupon deferral feature) อันดับเครดิตภายในประเทศของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ได้อ้างอิงจากอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินเช่นกันปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – หุ้นกู้ด้อยสิทธิและตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน

การเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวหรืออันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 4 แห่ง จะส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ

การเปลี่ยนแปลงในอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KTB น่าจะส่งผลให้อันดับเครดิตของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกันปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิตของบริษัทลูก

อันดับเครดิตภายในประเทศของ KS และ SCBS สะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ว่าบริษัทหลักทรัพย์เหล่านี้ถือเป็นบริษัทลูกที่มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อธนาคารแม่จึงทำให้มีอันดับเครดิตต่ำกว่าธนาคารแม่อยู่ 1 อันดับปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตของบริษัทลูกในอนาคต

อันดับเครดิตภายในประเทศของ KS และ SCBS จะได้รับผลกระทบไปในทิศทางเดียวกันจากการเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตภายในประเทศของ KBank หรือ SCB ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงมุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับระดับความสำคัญของบริษัทลูกที่มีต่อบริษัทแม่อาจส่งผลกระทบต่อความแตกต่างของอันดับเครดิตระหว่างบริษัทลูกและธนาคารแม่ อาทิเช่น การลดลงของความสำคัญเชิงกลยุทธต่อธนาคารแม่จากการขายหุ้นในบริษัทลูกหรือการลดลงของการเชื่อมโยงในด้านการดำเนินงานอาจส่งผลให้อันดับเครดิตของ KS และ SCBS อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตของธนาคารแม่มากขึ้น อย่างไรก็ตามฟิทช์มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลางรายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้BBL:- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘BBB+’; แนวโน้มอันดับเคดริตมีเสถียรภาพ- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F2’- อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับที่ ‘bbb+’- อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ ‘2’- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำคงอันดับที่ ‘BBB-’- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA(tha)’; แนวโน้มอันดับเคดริตมีเสถียรภาพ- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของโครงการหุ้นกู้ GMTN ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน มูลค่า 3 พันล้านเหรียญหสหรัฐฯ คงอันดับเครดิตที่ ‘BBB+’- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘BBB+’- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ คงอันดับที่ ‘BBB’- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ คงอันดับที่ ‘AA-(tha)’ KBank:- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘BBB+’; แนวโน้มอันดับเคดริตมีเสถียรภาพ- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F2’- อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับที่ ‘bbb+’- อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ ‘2’- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำคงอันดับที่ ‘BBB-’- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA(tha)’; แนวโน้มอันดับเคดริตมีเสถียรภาพ- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของโครงการหุ้นกู้ EMTN ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน มูลค่ารวม 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คงอันดับเครดิตที่ ‘BBB+’- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘BBB+’- อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ระยะสั้น ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ คงอันดับที่ ‘AA-(tha)’ SCB:- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘BBB+’; แนวโน้มอันดับเคดริตมีเสถียรภาพ- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F2’- อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับที่ ‘bbb+’- อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ ‘2’- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำคงอันดับที่ ‘BBB-’- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA(tha)’; แนวโน้มอันดับเคดริตมีเสถียรภาพ- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของโครงการหุ้นกู้ MTN ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน มูลค่ารวม 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คงอันดับเครดิตที่ ‘BBB+’- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘BBB+’- อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ระยะสั้น ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ คงอันดับที่ ‘AA-(tha)’ KTB:- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘BBB’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F3’ - อันดับเครดิตความแข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับที่ ‘bbb-’ - อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ ‘2’ - อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ คงอันดับที่ ‘BBB’ - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA+(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’ - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของโครงการห้นกู้ EMTN ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน มูลค่า 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ คงอันดับที่ ‘BBB’- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ คงอันดับที่ ‘BBB-’- อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘BBB’- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Hybrid Tier 1 Securities) คงอันดับที่ ‘B’ - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของโครงการห้นกู้ระยะสั้น มูลค่า 2 หมื่นล้านบาทคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ คงอันดับที่ ‘AA(tha)’ - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 คงอันดับที่ ‘BBB(tha)’ KS:- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA-(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’ SCBS:- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA-(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’ KTBL:- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว เพิ่มอันดับเครดิตเป็น ‘AA+(tha)’ จาก‘AA-(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพและยกเลิกอันดับเครดิต- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’ และยกเลิกอันดับเครดิต