ลอนดอน--30 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์ – เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
ทนายความต่างชาติในฐานะที่ปรึกษาทนายของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้ส่งจดหมายถึงทางการไทยเพื่อเรียกร้องให้มีการสอบสวนอย่างละเอียดและเป็นธรรม โดยใช้องค์กรอิสระที่มีความเป็นกลางให้สอบสวนเกี่ยวกับกรณีการเสียชีวิตของประชาชนมากกว่า 80 รายในระหว่างการชุมนุมในกรุงเทพฯ เมื่อเดือนเมษายน และ พฤษภาคมที่ผ่านมา
จดหมายฉบับนี้ได้เรียกร้องสิทธิในกรอบของสนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งรัฐบาลไทยมีภาระผูกพันอยู่ โดยเรียกร้องให้
- มีการสอบสวนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีที่ทหารไทยยิงพลเรือน
- เก็บรักษาหลักฐานทุกชิ้นที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บและเสียชีวิตของพลเรือนและทหาร
- เปิดเผยพยานวัตถุ วิดีโอ และหลักฐานอื่นๆ ที่อยู่ในความครอบครองของทางการไทย ซึ่งรวมถึงผลการตรวจสอบอาวุธ รายงานทางนิติวิทยาศาสตร์ และเอกสารเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทหาร
- เปิดโอกาสให้ทนายจำเลยและผู้เชี่ยวชาญอิสระได้ตรวจสอบพยานวัตถุและพยานผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
“สิ่งที่ทหารปฏิบัติต่อกลุ่มคนเสื้อแดง รวมถึงการใช้กระสุนจริงกับผู้ชุมนุม เป็นหลักฐานสำคัญในการแก้ต่างให้กับผู้ถูกกล่าวหา” โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ผู้ให้คำปรึกษากับทีมทนายของกลุ่มนปช. ในฐานะตัวแทนของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร กล่าว “ทางการไทยไม่สามารถตั้งข้อหาสมาชิกกลุ่มนปช. สำหรับความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยปราศจากการสอบสวนอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับวิธีการที่ทางการไทยปฏิบัติต่อผู้ชุมนุม”
ทั้งนี้ สมาชิกกลุ่มนปช.อย่างน้อย 13 คนที่ถูกตั้งข้อหาเกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในกรุงเทพฯ จะต้องโทษประหารชีวิตหากถูกตัดสินว่ามีความผิดจริง
ท่านสามารถอ่านจดหมายฉบับเต็มได้ที่ http://www.robertamsterdam.com/thailand
แหล่งข่าว: อัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ แอลแอลพี
ติดต่อ: เจมส์ ที. คิเมอร์ (James T. Kimer) จากอัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ แอลแอลพี
โทร: +1-917-355-0717
อีเมล: [email protected]
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --
สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก ดำเนินธุรกิจภายใต้จรรยาบรรณธนาคาร (Banking Industry Code of Conduct) อย่างรับผิดชอบต่อลูกค้า สังคม และประชาคมโลกและตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยมีนโยบายชัดเจนที่ไม่สนับสนุนการจัดซื้ออาวุธและสรรพาวุธกับองค์กรทางทหารกับประเทศที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึงให้ความสำคัญต่อการป้องกันและห้ามทำธุรกรรมทางเงิน เพื่อการสนับสนุนการก่อการร้ายหรือสงครามที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบขององค์กรกำกับดูแล คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานป้องกัน
ทรู คอร์ปอเรชั่น รุกประเมินสิทธิมนุษยชน 360 องศา ยกระดับคู่ค้าพันธมิตร สู่กระบวนการดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานสากล
—
ขีดความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโ...
แนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล สร้างการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐานเพื่อโลกที่ยั่งยืนมากขึ้น
—
แสดงทรรศนะโดย รศ.ดร. มูซาฮิด มุสตาฟา เบย์รัก (Muc...
กสร. ร่วมกับ IOM เปิดตัว คู่มือสำหรับภาคธุรกิจวิธีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน มุ่งป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน
—
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานร่...
DPU คว้า 2 รางวัล "วิทยานิพนธ์ระดับดี สาขานิติศาสตร์" จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
—
ดร.อังค์วรา ไชยอนงค์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลั...