เทรนด์ ไมโคร เผยรายงานภัยคุกคามทั่วโลกครึ่งปีแรกของปี 53 พบว่ายุโรปมีอัตราการขยายตัวของสแปมสูงสุด

กรุงเทพฯ--6 ต.ค.--คอร์ แอนด์ พีค

เครือข่ายวิจัยทั่วโลกระบุแนวโน้มภัยคุกคามช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาคอุตสาหกรรม พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการป้องกันสำหรับผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจ ขณะที่อเมริกาเหนือครองแชมป์ด้วยจำนวน URL ที่เป็นอันตรายมากที่สุด ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 ยุโรปกำลังเดินหน้าเข้าสู่เส้นทางสายด่วนในการสร้างสแปม ด้วยการแซงหน้าภูมิภาคอเมริกาเหนือและใต้ รวมทั้งเอเชียแปซิฟิกเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็น "ผู้ผลิตสแปมชั้นนำ" (Top Producer of Spam) นายรัฐสิริ ไข่แก้ว ผู้จัดการประจำภูมิภาคอินโดจีน บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เปิดเผยว่า จากรายงานภัยคุกคามช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 ของบริษัท เทรนด์ ไมโคร พบว่าสแปมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน 2553 และมีช่วงที่สงบนิ่งชั่วครู่ในเดือนเมษายน โดยสแปมที่เป็นภาพลามกอนาจารคิดเป็นสัดส่วน 4% ของสแปมทั้งหมด ขณะที่ประเภทด้านสุขภาพ/การแพทย์ ตลอดจนกลลวงทางการค้าเพิ่มขึ้น 65% ของ สแปมที่เกิดขึ้นทั่วโลก และเทคนิคที่เหล่า สแปมเมอร์ใช้มากที่สุดคือสแปมแบบ HTML ครึ่งปีแรกของปี 2553: แนวโน้มภัยคุกคามบนเว็บ จากรายงานระบุว่า URL ที่เป็นอันตรายเพิ่มขึ้นจาก 1.5 พันล้าน ในเดือนมกราคมเป็นกว่า 3.5 พันล้านในเดือนมิถุนายน โดยในอเมริกาเหนือถือเป็นแหล่งที่มี URL ที่เป็นอันตรายมากที่สุด ขณะที่เอเชียแปซิฟิกมีเหยื่อที่ติดเชื้อมัลแวร์สูงสุด สำหรับ URL ที่บริษัท เทรนด์ ไมโครสามารถบล็อกได้เป็นจำนวนมากที่สุด คือเว็บไซต์ลามกและไซต์ที่เป็นโฮสต์ของมัลแวร์สายพันธุ์ที่เป็นอันตรายต่างๆ เช่น โค้ด IFRAME, TROJ_AGENT และ JS_DLOADR.ATF ครึ่งปีแรกของปี 2553: แนวโน้มภัยคุกคามต่อไฟล์ เทรนด์แล็บส์ เครือข่ายนักวิจัยด้านภัยคุกคามทั่วโลกของบริษัท เทรนด์ ไมโคร กำลังจัดการกับตัวอย่างมัลแวร์ประมาณ 250,000 ตัวอย่างต่อวันอยู่ในขณะนี้ และจากการประมาณการล่าสุดพบว่ามีการค้นพบตัวอย่างมัลแวร์ที่ไม่ซ้ำกันเลยเพียงวันเดียวด้วยจำนวนมากกว่า 60,000 ตัว ทั้งนี้ มีโทรจันประมาณ 60% ที่ได้รับการกำหนดลายเซ็นใหม่ (signature) หรือแนวทางการป้องกันที่คิดค้นโดยศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ และ 53% ของการตรวจพบโดยรวมเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ขณะที่ Backdoor และสปายแวร์โทรจัน มักจะถูกระบุว่าเป็น Crimeware หรือมัลแวร์ขโมยข้อมูล ซึ่งมีจำนวนมากเป็นอันดับสองและสามตามลำดับ จะเห็นได้ว่าโทรจันส่วนใหญ่จะนำไปสู่การเกิดมัลแวร์ขโมยข้อมูลเป็นสำคัญ อินเดียและบราซิลสร้างชื่อให้ตัวเองด้วยการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดบ็อตมากที่สุด ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ชื่นชอบของเหล่าอาชญากรไซเบอร์ในการสร้างบ็อตเน็ตสำหรับแพร่กระจายมัลแวร์ ทำการโจมตีและส่งสแปม โดย ผู้ควบคุมบ็อตเน็ต ซึ่งเป็นอาชญากรไซเบอร์จะซ่อนอยู่หลังบ็อตเน็ตเหล่านั้น โดยสามารถขโมยเงินจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมได้เป็นมูลค่าถึงนับล้านดอลลาร์ ครึ่งปีแรกของปี 2553: แนวโน้มอุตสาหกรรม เมื่อตรวจสอบการติดเชื้อมัลแวร์ในภาคอุตสาหกรรม พบว่าภาคการศึกษามีการติดเชื้อในระดับสูงสุดในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 พบว่าเกือบ 50% ของการติดเชื้อมัลแวร์ทั้งหมดเกิดขึ้นภายในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ขณะเจ้าหน้าที่ไอทีและเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายด้านการรักษาความปลอดภัยที่มีต่อโครงสร้างพื้นฐานที่มีความหลากหลาย ซับซ้อน และเป็นแบบกระจาย อีกทั้งยังมีแนวโน้มสูงที่นักศึกษาจำนวนมากจะไม่ปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัย ขณะที่ภาครัฐบาลและภาคเทคโนโลยีก็เป็นลำดับถัดมาของการติดเชื้อมัลแวร์ในระดับสูง โดยแต่ละภาคส่วนนั้นมีการติดเชื้อมัลแวร์ประมาณ 10% ครึ่งปีแรกของปี 2553: “วายร้าย” ชื่อฉาว จากรายงานระบุว่า ZeuS และ KOOBFACE สร้างผลกระทบมากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 โดย ZeuS ซึ่งเป็นผลงานของเครือข่ายอาชญากรรมทางยุโรปตะวันอออก เป็นชุด Crimeware หลักที่ออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลประจำตัวสำหรับการเข้าสู่ระบบธนาคารและข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ของผู้ใช้ จะเห็นได้ว่าองค์กรธุรกิจขนาดเล็กและธนาคารต่างตกเป็นเป้าหมายของเหล่าหัวขโมย และบริษัท เทรนด์ ไมโคร ได้ตรวจพบสายพันธุ์ของ ZeuS นับร้อยสายพันธุ์ในแต่ละวัน ซึ่งดูเหมือนว่าสิ่งนี้จะยังไม่เปลี่ยนแปลงภายในช่วงเวลาอันใกล้นี้ บ็อตเน็ต KOOBFACE ได้ชื่อว่าเป็นภัยคุกคามเครือข่ายทางสังคมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นที่รู้จักดีในปัจจุบัน โดยเมื่อช่วงต้นปีนี้ ผู้เชี่ยวชาญของเทรนด์แล็บส์ตั้งข้อสังเกตว่าแก๊งค์ KOOBFACE กำลังปรับปรุงบ็อตเน็ตของตนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมของบ็อตเน็ต เปิดตัวไบนารีคอมโพเนนต์ใหม่ๆ และผสานรวมฟังก์ชันของบ็อตเน็ตเข้ากับไบนารีอื่นๆ นอกจากนี้ พวกเขายังเริ่มเข้ารหัสลับการสื่อสารแบบสั่งการและควบคุม (Command and Control: C&C) ของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการติดตามตรวจสอบและกำจัดออกโดยนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย วางยาแล้วหนี: "สั่งการผ่าน" ช่องโหว่ ช่องโหว่ในแอพพลิเคชั่นต่างๆ มักเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นด้านความปลอดภัย โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 นักวิจัยด้านภัยคุกคามของบริษัท เทรนด์ ไมโคร ได้รายงานช่องโหว่ทั่วไปและจากการเปิดเผยอย่างเป็นทางการวมทั้งสิ้น 2,552 ช่องโหว่ แต่ก็ยังมีอีกหลายช่องโหว่ที่เป็นการรายงานแบบส่วนตัวไปยังผู้ค้า ดังนั้นจึงไม่ได้รับการเปิดเผยต่อภายนอก สำหรับผู้ใช้โดยทั่วไปแล้ว ช่องโหว่ต่างๆ จะอำนวยความสะดวกให้กับภัยคุกคามต่างๆ ที่ใช้วิธี "สั่งการผ่าน" ซึ่งการที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถติดเชื้อมัลแวร์ได้นั้นก็คือการเข้าไปยังเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย เซิร์ฟเวอร์กำลังตกอยู่ภายใต้การโจมตีเช่นกัน โดยขณะนี้อาชญากรไซเบอร์กำลังใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ที่ยังไม่ได้รับแก้ไข แม้ว่าสิ่งนี้อาจยุ่งยากมากกว่าการจัดการกับระบบผู้ใช้รายเดียว แต่ผลตอบแทนที่อาชญากรไซเบอร์จะได้รับนั้นก็อาจเป็นจำนวนที่มากกว่าก็เป็นได้ การป้องกันบนระบบคลาวด์จากเทรนด์ ไมโคร เทรนด์ ไมโคร สมาร์ท โพรเท็คชั่น (Trend Micro? Smart Protection Network?) เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ของบริษัท เทรนด์ ไมโคร ตลอดจนให้การป้องกันขั้นสูงจากระบบคลาวด์ ซึ่งเป็นการบล็อกภัยคุกคามในเวลาจริงก่อนที่จะเข้าถึงตัวคุณได้ ปัจจุบัน Smart Protection Network มีการสืบค้น 45 พันล้านรายการตลอด 24 ชั่วโมง ขณะที่สามารถบล็อกภัยคุกคามได้ 5 พันล้าน และประมวลผลข้อมูลได้ที่ระดับ 2.5 เทราไบต์ต่อวัน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละวันจะมีผู้ใช้ 80 ล้านรายเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายดังกล่าว ทั้งนี้ Smart Protection Network อยู่ระหว่างการจดสิทธิบัตรเพื่อนำ "เทคโนโลยีด้านความสัมพันธ์ในระบบคลาวด์" (in-the-cloud correlation technology) มาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์พฤติกรรมเพื่อกำหนดความสัมพันธ์จากการผสานรวมกิจกรรมของภัยคุกคามบนเว็บ อีเมล และไฟล์เพื่อระบุว่ากิจกรรมเหล่านั้นเป็นอันตรายหรือไม่ และจากการกำหนดความสัมพันธ์ในส่วนประกอบต่างๆ ของภัยคุกคามและการปรับปรุงฐานข้อมูลภัยคุกคามของตนอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัท เทรนด์ ไมโครมีข้อได้เปรียบที่โดดเด่นในด้านความสามารถต่อการตอบสนองได้ในเวลาจริง ให้การป้องกันแบบทันทีและอัตโนมัติจากภัยคุกคามทั้งจากอีเมล ไฟล์ และเว็บ สำหรับรายงานภัยคุกคามฉบับสมบูรณ์ และคำแนะนำที่ครอบคลุมเกี่ยวกับวิธีที่องค์กรธุรกิจและผู้บริโภคสามารถป้องกันตัวเองได้นั้น สามารถดูได้ที่ TrendWatch: http://us.trendmicro.com/us/trendwatch/research-and-analysis/threat-reports/index.html ขอขอบคุณที่กรุณาเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ บุษกร สนธิกร โทร +66 (0) 2439 4600 ต่อ 8202 อีเมล [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวรัฐสิริ ไข่แก้ว+ภาคอุตสาหกรรมวันนี้

ภาพข่าว: เอ็นฟอร์ซ จับมือพาโล อัลโต เสริมความรู้การป้องกันระบบไอทียุคใหม่ให้กับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

นายนักรบ เนียมนามธรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียวริตี้ ซิสเต็มส์ เอพี จำกัด (ซ้าย) ร่วมกับนายรัฐสิริ ไข่แก้ว ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ (ประเทศไทย)จำกัด (ขวา) จัดสัมมนาให้ความรู้อัพเดทผลิตภัณฑ์ และข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการป้องกันระบบไอทียุคใหม่ ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงบริษัทพาร์ทเนอร์ต่างๆ เพื่อ

ภาพข่าว: เอ็นฟอร์ซฯ จับมือบลูโค้ท และพาโล อัลโต จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้กับทีซีเอส

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียวริตี้ ซิสเต็มส์ เอพี จำกัด จับมือกับบริษัท บลูโค้ท (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์ไอที ซีเคียวริตี้...

ภาพข่าว: พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ ร่วมกับทรานซิสชั่น ซิสเต็มส์ฯ และมายด์เทอร่า จัดสัมมนาให้ลูกค้า

เมื่อเร็วๆ นี้ นายรัฐสิริ ไข่แก้ว ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ (ที่ 4 จากซ้าย) นางสาวปิยวรรณ เมืองโคตร ผู้จัดการผลิตภัณฑ์เน็ตเวิร์กส์ บริษัท ทรานซิสชั่น ซิสเต็มส์ แอนด์ เน็ท...

ภาพข่าว: เอ็นฟอร์ซ ซีเคียวริตี้ ประกาศตั้งศูนย์เทรนนิ่งของพาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ แต่เพียงผู้เดียวในไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ นายนักรบ เนียมนามธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียวริตี้ ซิสเต็มส์ เอพี จำกัด (ซ้าย) และนายรัฐสิริ ไข่แก้ว ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ (ประเทศ...

พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ แต่งตั้ง รัฐสิริ ไข่แก้ว ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการประจำประเทศไทย

พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสำหรับเครือข่าย ประกาศแต่งตั้ง รัฐสิริ ไข่แก้ว ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการประจำประเทศไทย โดยนำพาประสบการณ์มากกว่า 13 ปี ด้านการขาย...

เทรนด์ ไมโคร เผยรายงานภัยคุกคามทั่วโลกครึ่งปีแรกของปี 53 พบว่ายุโรปมีอัตราการขยายตัวของสแปมสูงสุด

เครือข่ายวิจัยทั่วโลกระบุแนวโน้มภัยคุกคามช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาคอุตสาหกรรม พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการป้องกันสำหรับผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจ ขณะที่อเมริกาเหนือครองแชมป์ด้วยจำนวน...

เทรนด์ ไมโคร อัพเดทภัยคุกคามออนไลน์ล่าสุด พร้อมแนะนำโซลูชั่นออฟฟิศ สแกน ที่คว้ารางวัลจากศูนย์วิจัย NSS Labs

นายรัฐสิริ ไข่แก้ว ผู้จัดการ ประจำภูมิภาค อินโดจีน บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการ และรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต กล่าวว่า ปัจจุบันภัยคุกคามออนไลน์ยังคงสร้างความ...

ภาพข่าว: เทรนด์ ไมโคร โชว์โซลูชั่นดีพ ซิเคียวริตี้ ในงานสัมมนา Virtualization IT Pro 2010

นายรัฐสิริ ไข่แก้ว ผู้จัดการประจำภูมิภาคอินโดจีน (ที่ 2 จากซ้าย) และนายคงศักดิ์ ก่อตระกูล ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเทคนิค บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการ และ รักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์...

เทรนด์ ไมโคร ดึงโซลูชั่นป้องกันภัยข้อมูล “ดีพ ซิเคียวริตี้” เสริมบริการใหม่ “ทรู คลาวด์” เพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้าทรู ไอดีซี

นายรัฐสิริ ไข่แก้ว ผู้จัดการประจำภูมิภาคอินโดจีน บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ กล่าวว่า “บริษัท เทรนด์ ไมโคร นำโซลูชั่นเทรนด์ ไมโคร ดีพ ซิเคียวริตี้ (Trend Micro? Deep Security) ...