กรุงเทพฯ--14 ก.ย.--สายการบินโอเรียนท์ไทย
โอเรียนท์ไทยร่วมส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสังคม ด้วยแนวคิด Do it by heart ‘ การทำให้ดีที่สุด ’ ที่มุ่งเน้นการลงมือทำให้ดีที่สุด และเกิดขึ้นเป็นจริงได้ ในโครงการ ‘ We Share ’ ด้วยการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ร่วมกัน ทั้งการให้ ให้จากน้ำใจจริง ไม่หวังผลตอบแทน และความรัก รักที่จะเห็นทุกๆ คนในสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความสุข
มนัสนันท์ ตันติประสงค์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโอเรียนท์ไทยแอร์ไลน์ จำกัด กล่าวว่า โครงการ We Share ริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมให้ทุกคนในสังคม โดยเริ่มต้นที่ตัวเรา พนักงานในองค์กรของเราก่อน ให้ได้มีโอกาสได้คิดดีและลงมือทำ เพื่อเพื่อนคนอื่นๆ ที่อยู่ร่วมในสังคมเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข “อย่าลืมว่า เราเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสังคม ยังมีคนอื่นๆ อีกมากมายที่อยู่ร่วมในสังคมด้วยกับเรา สิ่งที่แตกต่างคือ ต่างคน ต่างที่ ต่างมุมมอง แต่ถ้าเราเริ่มเดินทางร่วมกันแลกเปลี่ยนและมีส่วนร่วม สังคมแห่งการเรียนรู้ที่รอบด้านย่อมเกิดขึ้นเป็นจริงได้เสมอเริ่มได้ ที่ตัวเราเองก่อน . ...การที่ทำสิ่งที่ดีนอกองค์กร เพื่อเยาวชนและสังคมให้ดีขึ้น เรามองว่าเราต้องเริ่มจากคนของเราก่อน เริ่มให้เขาคิดได้ แล้วเขาจะปฏิบัติได้ เราเน้นเรื่องความคิดสู่การกระทำที่ดี เพราะเราเป็น ‘ แบรนด์ที่มุ่งเน้นการบริการ’ พนักงานสามารถร่วมกิจกรรมภายในองค์กรอะไรก็ได้ ที่ทำให้เขารู้สึกว่าเขามีส่วนร่วมในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน และคนอื่นๆ ในสังคม ถ้าพนักงานเข้าใจคนอื่นๆ พนักงานก็สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นหลักการที่นำไปใช้ในการทำงานของพนักงานเองได้เช่นกัน ถ้าเข้าใจลูกค้า เราก็ให้บริการที่ดีกับลูกค้าได้ ” . โครงการ ‘ We Share’ จะเกิดขึ้นเป็นจริงได้ ต้องเดินทางไปค้นหาและเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ เหล่านั้นร่วมกัน และในเช้าวันที่อากาศสดใส พนักงานโอเรียนท์ไทยต่างมุ่งมั่นร่วมมือประสานใจทำความดีร่วมกับน้องๆ โรงเรียนบ้านลิ้นช้าง วัย 11-13 ปี จำนวน 17 คน ร่วมแรงร่วมใจ ‘อาสาสร้างกุฏิดินให้กับวัดลิ้นช้าง’ ณ หมู่บ้านลิ้นช้าง อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นวัดสุดท้ายของชายแดนไทย ที่มีเทือกเขาตะนาวศรีขวางกั้นเขตชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า ก่อนที่จะลงมือสร้างกุฏิดิน ทุกคนต้องมาอบรมและเรียนรู้เรื่องบ้านดิน โดย พระครูสุนทรวัชรการ เจ้าอาวาสวัดลิ้นช้าง และ อาจารย์สุรัช สะราคำ เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญแห่งเครือข่ายบ้านดิน ที่ได้เติมเต็มความรู้เรื่องราวสถาปัตยกรรมที่น่าทึ่ง เพราะ ‘บ้านดิน คือสถาปัตยกรรมที่สร้างได้ตัวเอง’ อย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งดินที่จะใช้สร้างได้นั้น ต้องเป็นดินร่วนปนทราย โดยจะสร้างได้ต้องไม่อยู่ในเขตที่น้ำขังหรือน้ำท่วม ต้องอยู่ในที่สูงถึงจะดี และโครงผนังบ้านดินทำจากดินที่ทำเป็นบล็อกก้อนดิน (คล้ายอิฐบล็อก) ส่วนหลังคาและพื้นต้องใช้โครงหลังคาแบบทั่วไปพร้อมปูพื้นกระเบื้อง ซึ่งจะให้ความคงทนที่ดีกว่านั่นเอง
เมื่อได้เติมเต็มความรู้กันเรียบร้อยแล้ว ต่างก็แบ่งเป็นกลุ่มๆ มีทั้งกลุ่มย่ำดิน โดยผสมดินและแกลบ ย่ำให้เป็นเนื้อเดียวกัน, กลุ่มยกบล็อกก้อนดินที่มีน้ำหนักถึง 8 กิโลกรัม ซึ่งนำมาต่อเป็นขั้นๆ เพื่อเป็นโครงการสร้างผนังนั่นเอง และกลุ่มฉาบ เพราะหลังจากก่อผนังเป็นขั้นๆ แล้วก็ต้องฉาบให้เรียบ โดยนำดินที่ย่ำได้ที่ดีแล้วมาฉาบด้วยมือหรือเกรียง ซึ่งงานนี้น้องๆ และพี่ๆ ต่างก็สนุกสนานและขยันขันแข็งอย่างเต็มที่ แม้เนื้อตัวจะเปื้อนเลอะด้วยโคลนดินแต่ทุกคนกลับยิ้มแย้ม...สุขใจอย่างประหลาดใจ- -การทำดีที่มาจากใจ...สุขอย่างนี้นี่เอง หนุ่มน้อยคนนี้ยิ้มหวานอยู่ตลอดเวลา ‘กี้-ด.ช.ชนะพล ดังแสง’ วัย 11 ปี เรียนอยู่ชั้นป.5 เล่าว่า เคยทำมาแล้วสร้างห้องสมุดดินที่โรงเรียน และที่วัดถ้าว่างก็มาช่วย “หลวงพี่เทือง (พระประเทือง สิริสาโร) เป็นคนสอนให้ทำ ทำไม่ยากหรอกครับ สนกุดี ผมชอบมาก เพราะโตขึ้นอยากเป็นนักสร้างบ้านน่ะครับ ผมชอบด้านนี้ ว่างๆ ก็ชอบวาดรูปเล่นครับ . ...ชอบช่วยเพื่อนคิดการบ้าน เพราะไม่ยาก สนุก ผมเรียนได้ 3.5 แล้วถ้าว่างก็ช่วยที่บ้านทำงานบ้าง เป็นเด็กก็ทำได้แค่นี้ล่ะครับ” ส่วน ‘น้องเป้-ด.ญ.สุวิมล ชื่นกมล’ วัย 11 ปี ชั้นป. 5 ก็ขะมักเขม้นฉาบไม่หยุดเหมือนกัน “ชอบบ้านดินค่ะ รู้สึกเป็นธรรมชาติดี พอเข้าไปข้างในไม่ร้อนเลยนะคะ พอหน้าหนาวข้างในบ้านก็อุ่น แล้วพอหน้าร้อนบ้านเย็นสบายค่ะ แต่บ้านของหนูไม่ได้ทำจากดินค่ะ ถ้าเป็นได้ก็ดีหนูชอบ ...การทำความดีทำไม่ยากหรอกค่ะ การช่วยเหลือคนก็ดีแล้วค่ะ โตขึ้นหนูจึงอยากเป็นหมอ จะได้ช่วยเหลือคนค่ะ แต่หนูเรียนไม่เก่ง ไม่รู้จะได้เป็นหรือเปล่า” ‘น้องหลี-ด.ญ.อุไรพร งามวงศ์เพชร’ วัย 12 ปี ป.6 ชื่นชอบกับบ้านดินเป็นพิเศษ เล่าว่า- - “ ชอบบ้านดินมากกว่าบ้านปูนอีก หนูว่าสวยดี แล้วก็ทำง่ายด้วย ไม่ยากค่ะ ทำกับมือเราได้เอง...มันดีนะ ...หนูเคยทำมาแล้วที่โรงเรียนสร้างห้องสมุดดิน หนูก็ไปช่วย และที่วัดนี้หนูก็เคยทำแล้วด้วย ชอบ อยากทำสนุกดี ทำให้เราไม่เบื่อ มีอะไรทำก็เพลินดี แล้วหนูก็ยังชอบช่วยพ่อทำงานบ้านด้วย กวาดบ้าน ถูบ้าน หนูทำตลอดค่ะ” น้องเบ็นซ์-นิธิ ดอกใบ วัย 12 ปี ชั้นป. 6 สนุกสนานกับร่วมอาสาทำความดีในการสร้างกุฏิดินครั้งนี้ บอกเล่าด้วยความปลื้มใจว่า “ผมชอบสร้างบ้านดินครับ แม้ผมจะทำไม่ค่อยเก่ง แต่ก็ชอบ เพราะทำง่ายดี ไม่ยากเลยครับ แล้วบ้านดินก็ให้ความรู้สึกเย็น แม้เราจะทำงานเหนื่อยแค่ไหน เราก็ทนได้ เพราะการสร้างบ้านดินเป็นการฝึกความอดทนครับ” สำหรับพี่ๆ ชาวโอเรียนท์ไทย ก็ใช่ย่อยค่ะ ต่างขมีขมันมุ่งมั่นกันเต็มที่ ปนัดดา เหมทานนท์ แผนกสำรองตั๋ว บอกเล่าด้วยความภูมิใจว่า- - “ไม่คิดว่าจะมีอะไรแบบนี้ และไม่คิดว่าบ้านดินจะทำได้ง่ายอย่างนี้ รู้สึกสนุก และดีมากเลยค่ะ ได้มุมมองใหม่ๆ ที่ไม่เคยเจอมาก่อน อย่างกลุ่มพนักงานด้วยกัน ต่างคนต่างทำงาน ก็ไม่ได้สนิทไม่ได้คลุกคลีกัน พอมาทำกิจกรรมด้วยกัน ความรู้สึกกระชับขึ้น ...และได้ความอดทน แล้วในการทำดีมีประโยชน์ค่ะ มาทำตรงนี้รู้สึกภูมิใจดีใจที่ได้ทำ นับเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ที่จะเก็บไว้ในความรู้สึกดีๆ ค่ะ” ส่วนพี่สาวคนนี้ มุ่งมั่นตั้งใจเต็มร้อย ทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ณัฏฐา หาญวงศ์ขจร พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน “เป็นการเปิดโลกว้างจริงๆ เลยค่ะ ทำให้ได้รู้ถึงวิถีชีวิตการดำเนินของคนท้องถิ่นมากขึ้น แล้วก็ได้เพื่อนเยอะขึ้น ตอนที่อยู่ที่ทำงานต่างคนต่างทำ บางคนก็ไม่รู้จักกัน พอมาที่นี่สนิทกันมากขึ้น แล้วได้รู้จักน้องๆ มากขึ้น น่ารักดี รู้สึกสนุกมากวันนี้
...เป็นประสบการณ์ที่มีค่ามาก ได้ร่วมมือร่วมใจ เกิดความสามัคคี และมีความรักกันมากขึ้น” ปีเตอร์-พรชัย ถิรวดี น้องใหม่ของทีมต้อนรับบนเครื่องบิน ก็ไม่เบา นั่งร้านก่อผนังดินตั้งแต่มาจนเลิก ทำไม่หยุดมือจริงๆ จนพี่ในทีมงานมอบรางวัลขวัญใจคนขยันให้ไปเลยเต็มร้อย “ไม่เคยทำมาก่อนเลย บ้านดินเป็นบ้านที่ดี ดีใจมีโอกาสได้มาทำแบบนี้ ชอบมากครับ มาแล้วก็ได้เพื่อนมากขึ้น ...ผมว่าการทำความดีมีหลายรูปแบบ และมีประโยชน์ต่อสังคมคนส่วนรวม ดีทั้งนั้นเลยครับ และการทำดีไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ต้องใช้เงินทองมากมาย เพียงแค่ ‘มีน้ำใจ’ ให้กันก็ใช้ได้แล้วครับ” การทำดีไม่ใช่เรื่องยาก เริ่มที่ตัวเรา คิดดี และลงมือทำ (ทำดี) แล้วไปสู่คนรอบข้างๆ สังคมนั้นจะสุขได้อย่างแน่นอน
เผยแพร่ข่าวในนาม : สายการบินโอเรียนท์ไทย โทร.02 229 4260 # 341, 344
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit