นิด้า จัดสัมมนาประเมินคลื่นความถี่ 3G หวังเป็นทางเลือกภาครัฐก่อนตัดสินใจเปิดประมูลคลื่น

กรุงเทพฯ--16 ก.พ.--นิด้า

ทีมงานการเงิน นิด้า จัดสัมมนาเชิงวิชาการ “การประเมินคลื่นความถี่โทรคมนาคม กรณี 3G ของไทย” ระดมความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องกำหนดวิธี รูปแบบ และประเมินมูลค่าความถี่ หวังแนะเป็นทางออกในการเลือกการประมูลใบอนุญาต 3G ให้กับภาครัฐ ใช้เป็นทางออกในการให้ใบอนุญาต 3G ในอนาคต รศ.ดร.เอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า และหัวหน้าทีมคณะทำงานวิจัย เปิดเผยว่า คณะทำงานได้ทำวิจัยถึงแนวทางการประเมินมูลค่าของคลื่นโทรคมนาคม ที่เน้นกรณีศึกษาของการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่สำหรับโทรศัพท์ในระบบ 3G ของไทย โดยมีการรวบรวมการทำวิจัยจากหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ทำการประเมินมูลค่าทางการเงิน ซึ่งมีรูปแบบการประเมินหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบทางเศรษฐมิติ การใช้วิธีหาค่าปัจจุบันของกระแสเงินสด และอื่นๆ รวมทั้งการเตรียมเสนอวิธีการประเมินมูลค่าทางการเงินที่ยังไม่มีการประเมินสำหรับ 3G ของไทย เพี่อใช้เป็นแนวทางให้กับภาครัฐได้เลือกและเห็นถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีที่จะนำมาใช้ในการออกใบอนุญาต 3G ให้กับผู้ประกอบการในอนาคต และเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้กับผู้สนใจ คณะทำงานจึงได้จัดงานสัมมนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “การประเมินคลื่นความถี่โทรคมนาคม กรณี 3G ของไทย” เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยในครั้งนี้ พร้อมระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องคำนึงถึงในการประเมิน 3G ของไทย โดยจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 ตั้งแต่เวลา 13.30-16.00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 5 อาคารบุญชนะ อัตถากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนา ประกอบด้วย ผศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ รศ.ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา รศ.ดร.บวร ปภัสราทร รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ คุณไพบูลย์ นลินทรางกูร และ คุณอรุณ จิรชวาลา ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมรับฟังการสัมมนาได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยโทรศัพท์ไปสอบถามได้ที่ 02-727-3981 “ผู้ที่เข้าร่วมฟังสัมมนาครั้งนี้จะได้รับทราบถึงหลักการประเมินใบอนุญาต 3G ว่ามีแนวคิดที่มาในการตั้งราคาใบอนุญาตอย่างไร และปัจจัยในเรื่องราคามีผลมากน้อยเพียงใดต่อการพัฒนาโทรคมนาคมของไทยและผู้บริโภคจะได้ประโยชน์อย่างไร จากการเปิดให้บริการ 3G ที่เป็นคลื่นโทรศัพท์ยุคใหม่ที่สามารถส่งทั้งข้อมูลด้านภาพและเสียงได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น” รศ.ดร.เอกชัย กล่าว

ข่าวสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์+สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตวันนี้

เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล ผนึก NIDA เปิดการอบรมหลักสูตร "ผู้บริหารระดับสูงด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม"

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตร"ผู้บริหารระดับสูงด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม" หรือ NIDA Bio Circular Green Economy Executive Program (NIDA BCG) จัดโดย เวฟ บีซีจี (Wave BCG) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โดยมีนายถิรพงศ์ คำเรืองฤทธิ์ (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล หรือ (WAVE) และรศ. ดร.ดนุวัศ สาคริก (ซ้าย) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์

นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ... บางจากฯ แบ่งปันแนวคิดการจัดการงานสื่อสาร แนวคิดการบริหารธุรกิจอย่างมีสมดุล เพื่อความยั่งยืน — นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยื...

โบลท์ ร่วมฉลองวันปลอดรถโลก พร้อมการเติบโต... โบลท์ (Bolt) เผยสถิติ คนไทยมีแนวโน้มหันมาเลือกการเดินทางแบบปลอดมลพิษมากขึ้น — โบลท์ ร่วมฉลองวันปลอดรถโลก พร้อมการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของหมวดรถยนต์ไฟฟ้า (...

บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL ผู... PHOL เปิดบ้านต้อนรับนักศึกษาปริญญาตรีควบโท วิศวกรรมการเงิน KMITL-NIDA เยี่ยมชมบริษัท — บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL ผู้ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายสิน...