ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ อำพันงามแห่งท้องทะเลอันดามัน

กรุงเทพฯ--2 ต.ค.--กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

หลัง จากลมพายุกิสนาคลายโทสะลงหลงเหลือไว้เพียง เศษเสี้ยวปรักหลักหักพังที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ร่วมกระทั่งพื้นที่บริเวณใกล้เคียงที่คงได้ผลรับจากเหตุการณ์นี้โดยดุษฎี ไม่เพียงแต่ผลกระทบทางตรงเท่านั้นที่พายุฝากเอาไว้ แต่ยังส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์บางอย่างที่พบได้ไม่บ่อยนักบริเวณชายหาดฝั่งทะเลอันดามันของเมืองไทย ปรากฏการณ์ที่ว่าก็คือปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (Ambergris) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า อำพัน เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทะเล นายวรรณเกียรติ ทับทิมแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ขี้ปลาวาฬหรืออำพันเป็นสารที่ถูกขับถ่ายออกมาจากวาฬหัวทุย โดยวาฬชนิดนี้กินปลาหมึกเป็นอาหารหลัก ไขมันปลาหมึกที่ย่อยสลายไม่ได้จะถูกสะสมบริเวณลำไส้และถูกขับถ่ายออก โดยเมื่อแรกที่ถูกขับจะมีกลิ่นเหม็น แต่เมื่อเวลาผ่านไปเป็นเดือนหรือเป็นปี ได้เกิดปฏิกิริยากับอากาศแสงแดด ระหว่างล่องลอยอยู่ในทะเล แต่ด้วยค่าความถ่วงจำเพาะที่มีน้อยกว่าน้ำทะเลจึงมีคุณสมบัติทางเคมีเปลี่ยนไป ทำให้มีลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาว น้ำตาล เทา หรือดำ ตามระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา ละลายที่อุณหภูมิมากกว่า 62 องศาเซลเซียส แต่ด้วยอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส จะระเหยเป็นไอ ลักษณะพิเศษของ ขี้ปลาวาฬ (Ambergris) คือ มีกลิ่นหอมคล้ายสารจำพวกน้ำมันหอมระเหย ใช้เป็นวัตถุดิบในการสกัดหัวน้ำหอม หรือนำไปแต่งกลิ่นในอาหารหรือไวน์ เป็นที่ต้องการของตลาด จึงทำให้อำพันมีมูลค่าสูงมากถึงกิโลกรัมละหลายหมื่นบาท ลักษณะของ Amberigris ที่พบบริเวณเกาะระ (ภาพข่าวจากเว็บไซต์ไทยรัฐ) ด้วยการมาของขี้ปลาวาฬหรืออำพันตามที่ชาวบ้านเรียกขานกันมานานนั้น แสดงให้เห็นว่าชายฝั่งทะเลอันดามันยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ เป็นแหล่งอาศัยและหากินของวาฬ และสัตว์ทะเลหายาก ซึ่งใกล้สูญพันธุ์อีกหลายชนิด นอกจากจะมีคุณค่าทางธรรมชาติแล้ว ยังจะก่อให้เกิดผลดีกับการท่องเที่ยวของอันดามัน ที่สำคัญไปกว่านั้นคือมีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่พบเห็นวาฬหัวทุย ยาวประมาณ 20 เมตร น้ำหนักมากกว่า 15 ตัน ในทุกปี และวาฬดังกล่าวจะปล่อยไขมันภายในร่างกายหรืออำพันออกมา ซึ่งปีนี้ถือว่ามีปริมาณมากกว่าทุกปี และเป็นก้อนขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า 300 กิโลกรัม ยังมีชาวประมงอีกหลายคนเคยพบเห็นวาฬขนาดใหญ่บ่อยครั้งมาก และบางครั้งก็ว่ายเข้ามาใกล้ๆ กับเรือประมง อำพันที่พบครั้งนี้ถือว่าเป็นก้อนอำพันที่สมบูรณ์มาก ซึ่งการที่ขี้ปลาวาฬ หรือ อำพันถูกพัดเข้ามาบริเวณชายฝั่งทะเล ไม่ใช่ลางบอกเหตุร้าย และก็ไม่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าจะเป็นลางไม่ดีอย่างที่ประชาชนบางกลุ่มเข้าใจแต่อย่างใด หากทว่าเป็นเครื่องการันตีถึงชายทะเลและชายฝั่งของอันดามันที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยและหากินของสัตว์น้ำนานาชนิด วาฬหัวทุย (Sperm whale, Physeter Macrocephalus) เหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจมาจากผลพวงของลมพายุกิสนาที่พัดเอาขี้ปลาวาฬหรืออำพันเข้ามายังชายฝั่งอันดามัน นับว่าเป็นเรื่องดี อาจกล่าวได้ว่าเป็นดัชนีชี้วัดถึงความอุดมสมบูรณ์ของชายฝั่งและท้องทะเลอันดามันของไทยที่ยังคงอุดมไปด้วยความสมบูรณ์ทางธรรมชาติและระบบนิเวศที่ยังดีอยู่ นับว่าเป็นอำพันงามในท้องทะเลอันดามันก็ว่าได้ กลุ่มสื่อสารองค์กร กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 120 หมู่ 3 ชั้น 5 อาคารรวมหน่วยราชการ (อาคารบี) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 0-2141-1299 โทรสาร 0-2143-9249 สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าววรรณเกียรติ ทับทิมแสง+ประเทศฟิลิปปินส์วันนี้

EGCO Group ฉลุย! โรงไฟฟ้า Quezon ฟิลิปปินส์ คว้าสัญญาซื้อขายไฟฟ้าฉบับใหม่ 15 ปี

บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO Group ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของบริษัท เคซอน เพาเวอร์ (ฟิลิปปินส์) จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าพลังความร้อน Quezon ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Supply Agreement PSA) ฉบับใหม่ กำลังผลิต 400 เมกะวัตต์ ระยะเวลา 15 ปี กับผู้จำหน่ายไฟฟ้าขายปลีกรายใหญ่ในประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2568 ความสำเร็จดังกล่าวตอกย้ำบทบาทของโรงไฟฟ้า Quezon ที่มีเสถียรภาพสูงและจ่ายไฟฟ้าให้กับระบบไฟฟ้าของเกาะลูซอนมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนความสามารถในการสร้างราย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอแสดงความยินดีกับ นาย... เด็กดิจิทัลมีเดีย ม.ศรีปทุม ซิวแชมป์ 3D Game Art พร้อมลุย WorldSkills ASEAN 2025 — มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอแสดงความยินดีกับ นายเอกภพ สีทอน (ทาโร่) นักศึกษาชั...

ภาพข่าว: เชฟรอนสนับสนุนโครงการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาปะการังฟอกขาว

นายชัยวัฒน์ เยาวภาพงศ์ (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้จัดการฝ่ายสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย และนางหทัยรัตน์ อติชาติ (ซ้าย) ผู้จัดการฝ่ายนโยบายด้านรัฐกิจและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด มอบงบประมาณสนับสนุนจำนวน 3.2...

ไทย-จีนร่วมมือ เตรียมวางทุ่นศึกษาทิศทางลมทำนายปรากฏการณ์ลมมรสุมของเอเชีย

ไทย-จีน ร่วมลงนามความร่วมมือศึกษางานวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล เตรียมติดตั้งทุ่นสมุทรศาสตร์ศึกษาทิศทางลม คาดผลทำนายปรากฏการณ์ลมมรสุมสามารถช่วยเกษตรกรและภาคเศรษฐกิจได้ นายวรรณเกียรติ ทับทิมแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย...

ภาพข่าว: เชฟรอนสนับสนุนการประชุมวิชาการ “วิทยาศาสตร์ทางทะเล 2553” จังหวัดภูเก็ต

เมื่อเร็วๆ นี้ นายชัยวัฒน์ เยาวภาพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (ที่ 2 จากซ้าย) พร้อมด้วยนางหทัยรัตน์ อติชาติ ผู้จัดการฝ่ายนโยบายด้านรัฐกิจและกิจการสัมพันธ์ (ซ้าย) บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต...

โลกร้อนทำพิษ ส่งผลน้ำทะเลร้อน ปะการังตาย ทช.วอนหยุดดำน้ำชั่วคราว ลดรบกวนปะการัง

อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูง ส่งผลให้ปะการังฟอกขาวเป็นบริเวณกว้าง ทั้งฝั่งอ่าวไทยและ อันดามัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งวอนนักท่องเที่ยวงดดำน้ำ ลดการรบกวนปะการัง ให้เวลาฟื้นตัว นายวรรณเกียรติ ทับทิมแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย...

ทช.ร่วมมือในโครงการ CalMarO ระหว่างประเทศ ศึกษาการสะสมหินปูนของสัตว์ทะเล

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ “Calcification by Marine Organisms : CalMarO” หรือโครงการศึกษาการสะสมหินปูนของสิ่งมีชีวิตในทะเล เพื่อพัฒนาเป็นฐานความรู้ในการป้องกันและแก้...

ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ อำพันงามแห่งท้องทะเลอันดามัน

หลัง จากลมพายุกิสนาคลายโทสะลงหลงเหลือไว้เพียง เศษเสี้ยวปรักหลักหักพังที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ร่วมกระทั่งพื้นที่บริเวณใกล้เคียงที่คงได้ผลรับจากเหตุการณ์นี้โดยดุษฎี ไม่เพียงแต่ผลกระทบทางตรงเท่านั้นที่พายุฝากเอาไว้ แต่ยังส่งผลให้...

ทช.เตรียมโชว์ผลงานวิชาการทางทะเลและชายฝั่ง ในการสัมมนาวิชาการประจำปี 2552

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระดมองค์ความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งด้านสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา สัตว์ทะเลหายาก และการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อนำเสนอในการสัมมนาทางวิชาการกรมทรัพยากรทางทะเล...

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ลงนามความร่วมมือกับจีนในเรื่องสมุทรศาสตร์

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชติและสิ่งแวดล้อม ได้นำคณะเจ้าหน้าที่กระทรวงฯ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้แก่ นางนิศากร โฆษิตรัตน์ อธิบดี ทช., นางเจิดจินดา ...