“บรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน” หนุน อุตฯ อาหารไทยไปไกลทั่วโลก

กรุงเทพฯ--2สถาบันอาหาร ม.ค.--สถาบันอาหาร

สถาบันอาหาร จี้ภาครัฐ เอกชน ผนึกความร่วมมือ หนุนอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยีการผลิต และวัตถุดิบ เป็นอุตสาหกรรมสนับสนุน เพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารของไทย ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ สนองตอบผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการสินค้าเติมเต็มคุณภาพชีวิต ดร. อมร งามมงคลรัตน์ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า “ในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา กระแสการใส่ใจสิ่งแวดล้อมของคนทั่วโลกได้กลายมาเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่หลายองค์กรให้ความสำคัญ และคำนึงถึงในการดำเนินธุรกิจ โดยยึดหลักแนวคิด “การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน” โดยมุ่งเน้นในการสร้างความสมดุลใน 3 มิติ ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันพบว่าทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเริ่มหันมาให้ความสนใจบรรจุภัณฑ์ตามแนวคิดเพื่อความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น และคาดการณ์ว่าแนวโน้มความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้จะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2552 การใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 21 ของบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด แต่คาดว่าในปี 2557 จะมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 32 ของบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด” สำหรับแนวทางในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนในส่วนของประเทศไทย พบว่า ปัจจุบันยังอยู่ในระยะเริ่มต้น โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เพราะนอกจากจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่มูลค่า (value chain) ของอุตสาหกรรมการผลิตแล้ว ประเทศไทยยังมีศักยภาพทางด้านวัตถุดิบทางการเกษตรที่นำมาใช้ในการผลิตอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้กำหนดให้อุตสาหกรรมการพลาสติกชีวภาพเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต ตามมติของคณะอนุกรรมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพหลักได้นำเสนอแผนที่นำทางแห่งชาติการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (National Roadmap for the Biodegradable Plastics Industry Development) ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2551-2555) เพื่อพัฒนาให้ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพของประเทศดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายหลักที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (bioplastics hub) อย่างครบวงจรในอนาคต และจากแนวทางการพัฒนาดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารของไทยให้มีโอกาสเติบโตตามไปด้วย เพราะปัจจุบันผู้บริโภคมีความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับบรรจุภัณฑ์อาหารส่วนใหญ่ทำมาจากพลาสติกที่สังเคราะห์จากปิโตรเลียมซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นมูลค่าหลายล้านบาท ดังนั้น หากการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพของประเทศไทยประสบความสำเร็จ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารของไทย รักษาการผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวด้วยว่า บรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะในยุคที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าที่ไม่ใช่เพียงแค่มาตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังต้องการสินค้าที่มาเติมเต็มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น บรรจุภัณฑ์อาหารจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์จะต้องคำนึงถึงการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎระเบียบและมาตรฐาน โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้ผลิตอาหารที่สำคัญของโลกต้องให้ความสำคัญ และต้องติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด รวมถึงต้องเร่งสร้างขีดความสามารถด้านบรรจุภัณฑ์ เพราะในปัจจุบันอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ของไทยยังมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการผลิตและด้านวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนควรต้องประสานความร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ให้เป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารของไทยอย่างยั่งยืน สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวอุตสาหกรรมอาหารของไทย+อมร งามมงคลรัตน์วันนี้

ภาพข่าว: สถาบันอาหาร นำเอสเอ็มอีไทยจับคู่ธุรกิจเวียดนาม

เมื่อเร็วๆนี้ นายอมร งามมงคลรัตน์ (นั่งแถวสองคนที่ 6 จากซ้าย) รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะนักธุรกิจเอสเอ็มอีด้านอุตสาหกรรมอาหารของไทยรวม 21 ราย ร่วมเจรจาการค้าและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับผู้นำเข้าเวียดนาม และผู้แทนจากหน่วยงานด้านการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของไทย ณ นครโฮจิมินห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมสาขาอาหารสู่อาเซียน+6 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) -นท-

อุตสาหกรรมอาหารไทย บูมรับฟุตบอลโลก 2010

“สถาบันอาหาร” ฟันธงฟุตบอลโลก 2010 ช่วยปลุกอุตสาหกรรมอาหารไทยตื่นตัวหลังผู้ประกอบการไทย และผู้บริโภค ต้องเผชิญความเครียดจากปัญหา การเมือง และเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ชี้เป็นโอกาสดีสำหรับอุตสาหกรรมอาหารของไทย ทั้งการค้าที่เกิดขึ้นภายในประเทศ และตลาดในแอฟริกาใต้...

ตอกย้ำไทยครัวของโลก “สถาบันอาหาร” แนะผู้ประกอบการ วิเคราะห์ความเสี่ยงในอาหาร ยกระดับอุตฯ อาหารไทย

สถาบันอาหารแนะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทย ยกระดับความปลอดภัยในอาหาร สร้างความเชื่อมั่นในระดับสากล ต่อยอดจากระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร ทั้ง GAP, GMP, HACCP ก้าวสู่การวิเคราะห์ความเสี่ยง...

“บรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน” หนุน อุตฯ อาหารไทยไปไกลทั่วโลก

สถาบันอาหาร จี้ภาครัฐ เอกชน ผนึกความร่วมมือ หนุนอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยีการผลิต และวัตถุดิบ เป็นอุตสาหกรรมสนับสนุน เพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารของไทย ที่ต้องนำ...

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ห... พบกับ! ธีม "Sustainovation" ที่บูธ CPF ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ 2567 ตั้งแต่วันนี้-25 สิงหาคม — บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เครือ...

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอาหารแ... "กระทรวงพาณิชย์" ร่วมกับ NEA จัดกิจกรรมพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการยุคใหม่ ในงาน THAIFEX - Anuga Asia 2023 — ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่อ...