บอกลามะเร็งปากมดลูก HPV DNA

กรุงเทพฯ--4 พ.ค.--โรงพยาบาลสมิติเวช

มะเร็งปากมดลูก ทุกๆ 2 นาที จะมีสตรี 1 คนเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก สำหรับประเทศไทยจากรายงานของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของสตรีไทยโดยคิดเป็น 20.14 % จากจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมด มีอัตราการเสียชีวิตของสตรีที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกประมาณ 10 คน/วัน หรือประมาณ 4,000 คนต่อปี จากผลการศึกษาและวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจำนวน 99.7% มีสาเหตุมาจากไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) HPV (Human Papilloma Virus) คืออะไร HPV เป็นไวรัสที่ส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนน้อยติดจ่อทางการสัมผัส มักพบบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของสตรีบริเวณปากมดลูก ช่องคลอดและอวัยวะเพศ ไวรัส HPV ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์นั้นมีมากกว่า 50 สายพันธุ์ โดยสามารถแบ่งสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ - กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น type 6, 11,42, 43 และ 44 - กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น type 16, 18, 31, 33, 35, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, และ 68 อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูก ตั้งแต้เริ่มต้น ได้รับไวรัส HPV จนเกิดมะเร็งปากมดลูกจะใช้เวลานานโดยเฉลี่ยมากกว่า 10 ปี HPV DNA ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูก ทำไมจึงต้องตรวจหาไวรัส HPV มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าไวรัส HPV เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกในเกือบทุกราย จากรายงานการศึกษาวิจัยทั่วโลกพบว่า HPV DNA TESTING ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจทางด้านชีวโมเลกุลมีความไวในการตรวจมากกว่า 90% ทำให้สามารถตรวจพบไวรัสที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก ซึ่งจะช่วยค้นหาความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกและแพทย์จะรักษาให้หายขาดได้โดยง่ายก่อนที่มะเร็งปากมดลูกจะเกิดขึ้น การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกในระยะเริ่มแรกทำได้อย่างไร การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกในระยะเริ่มแรกนั้นทำได้โดยการตรวจหา HPV DNA ร่วมกับการตรวจ Pap smear ด้วยวิธี Thin Prep ทุกๆ 1-3 ปี ใครบ้าง? ที่ควรเข้ารับการตรวจ HPV DNA - ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว - ผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไป - ผู้หญิงที่มีผลการตรวจ Pap smear สงสัยว่าจะมีความผิดปกติ - ผู้ที่เคยตรวจพบความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก - ผู้ที่สูบบุหรี่ - ผู้ที่มีประวัติติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ หรือผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น โรคเอดส์ หมายเหตุ ในกรณีที่ผลตรวจ HPV DNA เป็นผลลบ และไม่พบเซลล์ผิดปกติใน Thin Prep test ไม่ต้องตกใจหรือวิตกกังวลจนเกินไป เนื่องจากผู้ที่มีภูมิต้านทานปกติสามารถขจัดไวรัส HPV ได้ด้วยตัวเอง ภายใน 1 ปี (มากกว่า 90% ของผู้มีไวรัส) มีสตรีส่วนน้อย (น้อยกว่า 10%) ที่ยังคงมีไวรัส HPV อยู่ การตรวจ Thin Prep pap test ซ้ำในอีก 6 เดือน เพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติของเซลล์ที่อาจเกิดขึ้นก็เพียงพอ** **สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สุขภาพสตรี ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท โทร. 0-2711-8555-6 หรือที่ Email : [email protected] ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ โทร. 0-2731-7000 ต่อ 9129,9130 หรือที่ Email : [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสถาบันมะเร็งแห่งชาติ+โรคมะเร็งปากมดลูกวันนี้

ภาพข่าว: ภัยเงียบสตรี

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และ สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดเสวนา เรื่อง “โรคมะเร็งปากมดลูก ภัยเงียบของสตรีไทย ” โดยมี นายแพทย์ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้บริหารและ ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติร่วมเสวนา ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค หมายเหตุ : เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา ดังนี้ นาวสาวอัคริยา สมรรคบุตร รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจบริการวิชาการ แพทย์หญิงสุขุมาลย์ สว่างวารี นายแพทย์ชำนาญการ มะเร็งนรีเวช นายแพทย์วิรวุฒิ

ปฏิทินข่าว สถาบันมะเร็ง เสวนามะเร็งปากมดลูก ภัยเงียบสตรีไทย

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และ สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังการเสวนา เรื่อง “โรคมะเร็งปากมดลูก ภัยเงียบของสตรีไทย ” โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พร้อมให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ ฟรี!!! ...

ภาพข่าว: เชิดชูเกียรติ

คุณปัทมา พรมมาส ผู้อำนวยการบริหาร (คนที่ 3 จากซ้าย) เข้ารับโล่พระราชทานเชิดชูเกียรติจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในงาน "สัปดาห์ป้องกันมะเร็งปากมดลูก" ในฐานะที่รพ.นนทเวชเป็นหนึ่งใน 10 โรงพยาบาลชั้นนำที่เข้าร่วมโครงการป้องกันมะเร็งปากมดลูก จัดขึ้น...

ในยุคที่ชีวิตเร่งรีบ อาหารแปรรูปกลายเป็นต... แพทย์ รพ.วิมุต แนะเลี่ยงผลิตภัณฑ์แปรรูป หนึ่งปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านม — ในยุคที่ชีวิตเร่งรีบ อาหารแปรรูปกลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมของคนทุกวัย ด้วยความสะดวก ร...

เมื่อเร็วนี้ๆ รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์... การประชุมพิษวิทยาแห่งชาติครั้งที่ 14 (NCT14) "Toxicology for Sustainable Development" — เมื่อเร็วนี้ๆ รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต นายกสมาคมพิษวิ...