แพทย์ชี้ คนเมือง มีอัตราเสี่ยง โรคหัวใจและหลอดเลือด สูงเพิ่มขึ้นถึง 38 เปอร์เซ็นต์

กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--โฟร์ฮันเดรท

แพทย์ชี้ “คนเมือง” มีอัตราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดสูงขึ้นเฉลี่ย 38 % คาดอีก 20 ปีข้างหน้าคนไทยเป็นโรคหัวใจเพิ่มเป็น 60 % พร้อมเผยผลวิจัยพนักงาน กฟผ. ศึกษาอย่างต่อเนื่อง 23 ปี พบว่าความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และการสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการป่วยและเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในคนไทย ไม่ต่างจากข้อมูลการศึกษาในต่างประเทศ เพียงแต่อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจในประชากรไทยยังต่ำกว่าในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจต่อปีในพนักงานการไฟฟ้าฯ ประมาณ 80 ต่อ 100,000 คน ศาสตราจารย์นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธารา ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจหลอดเลือด และเมแทบอลิซึม รองหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยในงาน “วันหัวใจโลก 2551” ที่จัดขึ้นด้วยความร่วมมือระว่างโรงพยาบาล และบริษัท ซาโนฟี่-อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด ว่า คนเมืองกรุง มีอัตราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากว่าประชาชนในเขตชนบท เฉลี่ยประมาณ 38% และในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า จะสูงถึง 60% ซึ่งมีอัตราการเพิ่มของโรคอย่างต่อเนื่องประมาณปีละ 160,000 คน สาเหตุทำให้คนเมืองป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น คือ 1. ความเครียด 2. โรคอ้วน 3. ออกกำลังกายน้อย เนื่องจากชุมชนเมืองขยายตัวมากขึ้น คนเมืองกรุงต้องทำงานหนัก มีความเครียด รับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ทำให้อ้วนลงพุง และไม่มีเวลาออกกำลังกาย ผิดกับประชาชนในชนบท ที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับประทานอาหารที่ไขมันต่ำ ซึ่งเมื่อก่อนโรคหัวใจและหลอดเลือดจะพบมากในคนรวย แต่ปัจจุบันคนรวยมีการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ผิดกับคนจนที่ชอบทานอาหารราคาถูก มีไขมันมาก จึงเกิดการป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้น ศาสตราจารย์นายแพทย์ปิยะมิตร กล่าวต่อว่า อุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดกลับเพิ่มขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome) การศึกษาเพื่อหาอุบัติการณ์ของโรคนี้ในประชากรไทยที่สัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยง ซึ่งทำในพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยศึกษาต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 23 ปี พบว่าความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และการสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการป่วยและเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในคนไทย ไม่ต่างจากข้อมูลการศึกษาในต่างประเทศ เพียงแต่อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจในประชากรไทยยังต่ำกว่าในอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา โดยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจต่อปีในพนักงานการไฟฟ้าฯ ประมาณ 80 ต่อ 100,000 คน อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดพบว่า เพศชาย อายุ 35-60 ปี มีอัตราเสี่ยงมากว่า เพศหญิง ซึ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดของเพศหญิงจะช้ากว่าเพศชาย เฉลี่ย 7-10 ปี เพราะผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเพศหญิง ที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ ส่วนอัตราการเสียชีวิตของคนไทย พบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอันดับ 2 รองจากอุบัติเหตุ และโรคมะเร็ง โดยพบว่าผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด จะเป็นคนวัยทำงานที่มีอายุ 35-60 ปี เนื่องจากคนกลุ่มนี้ มีอัตราเสี่ยงสูงมาก สาเหตุทำให้คนไทยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ 1. อายุ 2. พันธุกรรม 3.โรคเบาหวาน การวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด มักมีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยดังกล่าว โรคที่มาคู่กับโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ โรคเบาหวาน เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาล และไขมันในเส้นเลือดสูง ทำให้เส้นเลือดแดงเสื่อม ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร กล่าวปิดท้ายว่า อยากให้คนไทยทุกคนหันมาใส่ใจสุขภาพ ซึ่งผู้คนทั่วไปมักจะละเลยการป้องกันโรค รู้อีกทีก็เป็นโรคไปแล้วจะเรียกว่าไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตาก็ได้ การป้องกันควรจะเริ่มให้เร็วที่สุดเพราะว่าหากเริ่มช้า การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ได้มีการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดเริ่มตั้งแต่หนุ่มสาว เพราะฉะนั้นหากเราเริ่มตอนกลางคนผลการควบคุมอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงแนะนำว่าให้เริ่มทำตั้งแต่วัยรุ่น บางท่านผ่านวัยรุ่นมาแล้วก็ให้ทำทันที ทั้ง การออกกำลังกายเป็นประจำ, รับประทานอาหารที่มีประโยชน์, หยุดสูบบุหรี่, รักษาน้ำหนัก ซึ่งคนอ้วนจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดตีบ และโรคหัวใจ ปัญหาว่าเมื่อไรจึงจะถือว่าอ้วน เราจะใช้ดัชนีมวลกายคนไทยให้ไม่เกิน 25 นอกจากนั้นยังใช้การวัดเส้นรอบเอว หากเกิน 90,80 ซม. พร้อมมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมออีกด้วย ทางด้าน นายเกรแฮม อัลมอนด์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซาโนฟี่-อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในบริษัทยาชั้นนำระดับโลก ดำเนินการค้นคว้า วิจัย พัฒนาและเผยแพร่คำตอบสำหรับการรักษาโรคต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ชีวิตของทุกคนดีขึ้น เปิดเผยว่า จากอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ และสมองในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากตัวเลขการเสียชีวิตในปี 2548 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ สมอง และเบาหวาน รวมสูงถึงปีละกว่า 44,142 ราย หรือวันละ 121 คน เฉพาะผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดและสมอง มีจำนวน 29,788 ราย หรือเสียชีวิตวันละ 82 คน เพื่อกระตุ้นให้คนไทยตื่นตัวในการดูแลสุขภาพมากขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดอย่างจริงจัง บริษัทฯ จึงได้ร่วมกับ ศูนย์หัวใจหลอดเลือดและเมแทบอลิซึม คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดกิจกรรม “วันหัวใจโลก 2551” (World Heart Day 2008) ขึ้น และได้รับเกียรติจาก ศ.นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม ภายในงาน “วันหัวใจโลก 2551” มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพมากมาย อาทิ บรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด” โดย อ.นพ.ปริญญ์ วาทีสาธกกิจ อ.พญ.ธารินี ตั้งเจริญ และ “กินอย่างไรให้หัวใจแข็งแรง” โดย คุณสุธี สุขมา คุณสุรีพร สว่างชาติ อีกทั้งมีบริการตรวจวัดความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและไขมัน ในเลือด การตรวจวัดความหนาของผนังหลอดเลือดที่คอ วัดรอบเอว วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและเบาหวานง่ายๆ ด้วยตัวเอง ซึ่งงานนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น นำเสนอข่าวประชาสัมพันธ์โดย บริษัท โฟร์ฮันเดรท จำกัด สอบถามรายละเอียด คุณสิทธิกร เสงี่ยมโปร่ง (แป๋ง) โทร. 081-913-1291 คุณจิรสุดา จิตรากรณ์ (น้องไก่) โทร. 089-7706113 หรือ 02-362-4123-4 Fax :: +662-873-6419 Press 9 Email :: [email protected] msn :: [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวโรคหัวใจและหลอดเลือด+โรคหลอดเลือดหัวใจวันนี้

ผลวิจัยเผย ตัวแปรในจีโนมที่ทำปฏิกิริยากันเองและกับสิ่งแวดล้อม มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

คณะนักวิทยาศาสตร์จาก ดีโค้ด เจเนติกส์ (deCODE genetics) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือแอมเจน (Amgen) รวมถึงผู้ร่วมงานจากหน่วยงานสาธารณสุขของประเทศไอซ์แลนด์และมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ได้เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารเซลล์ (Cell) ในหัวข้อ "ผลกระทบที่ซับซ้อนของตัวแปรในจีโนมที่มีต่อระดับไขมันและโรคหลอดเลือดหัวใจ" ผลการศึกษาดังกล่าวมาจากการค้นหาตัวแปรในจีโนมที่เกี่ยวข้องกับความแปรผันเชิงปริมาณ และสมมติฐานที่ว่าตัวแปรเหล่านั้นต้องทำปฏิกิริยากันเองหรือกับส่วนประกอบอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีอยู่

แม้ความก้าวหน้าในการรักษาและการเข้าถึงเทค... รักษาสุขภาพหัวใจในทุกช่วงชีวิต — แม้ความก้าวหน้าในการรักษาและการเข้าถึงเทคโนโลยีจะมากขึ้น แต่ภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจทั่วโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อ...

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นภัยเงียบที่คร... ตรวจหาปริมาณแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ ได้แล้วที่โรงพยาบาลธนบุรี 2 — โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยอย่างต่อเนื่องอาการที่สังเกตได้ คื...

การตรวจหัวใจด้วยเทคโนโลยี Cardiac MRI บอก... จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า? — การตรวจหัวใจด้วยเทคโนโลยี Cardiac MRI บอกเราได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้การตรวจหัวใจด้วย Cardiac MRI...

นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โรคหั... ภาพข่าว: งานสัมมนา ดูแลผู้สูงวัย ให้ใจเกินร้อย — นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท ...

โรงพยาบาลปิยะเวท จัดงานสัมมนา “ดูแลผู้สูงวัย ให้ใจเกินร้อย”

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 09.30 12.00 น. นายแพทย์ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท เป็นประธานจัดงานสัมมนาเรื่อง “ดูแลผู้สูงวัย ให้ใจเกินร้อย” เพื่อแนะนำนวัตกรรมในการรักษา...

โดย นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โ... ผู้สูงวัย เสี่ยง!! โรคหัวใจ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ — โดย นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะ...

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 09.30 12.... งานสัมมนา “ดูแลผู้สูงวัย ให้ใจเกินร้อย” — วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 09.30 12.00 น. สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท ขอเชิญชวนผู้สนใจ...

สถาบันโรคหัวใจมอนทรีออลค้นพบวิธีรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดจำเพาะบุคคลเป็นแห่งแรกของโลก

- ผู้ป่วยที่มีพันธุกรรมเหมาะสมและตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตัวใหม่ จะมีอัตราการเกิดหัวใจวายและอัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คณะนักวิจัยจากสถาบันโรคหัวใจมอนทรีออล (Montreal Heart Institute) เผยผลการวิจัยซึ่งแสดง...